Quantcast
Channel: บีเอสคอมพิวเตอร์ ซ่อมแมคบุ๊ค ซ่อมโน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร
Viewing all 259 articles
Browse latest View live

เรียนซ่อมเมนบอร์ด : ไฟไม่จ่าย เปิดไม่ติด วงจรไม่กินกระแส

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก และผู้สนใจในการเรียนรู้การซ่อมทุกท่าน   Update Post วันนี้ ขอเสนอแนวทางวิเคราะห์อาการเสียในการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งแนวทางนะครับ ในลักษณะของอาการที่เปิดไม่ติด ไฟชาร์จไม่ติด ไฟสถานะหน้าปัทม์เครื่องไม่มีติดใดๆเลย(ซึ่งหมายถึงว่า ในบางเครื่องบางรุ่นจะเคยเห็นติดอยู่  แต่มาในวันนี้มันไม่ติดซะงั้น)

ลักษณะของอาการ

  • จะเปิดเครื่องไม่ได้เลย  กดสวิชท์เครื่องไม่ทำงาน  ไฟจากอะแดปเตอร์ก็เอาไปใช้กับเครื่องอื่นได้ปรกติ  อีกเรื่องนึงก็อย่างเช่น ชาร์จแบตไม่เข้า ไฟสถานะแบต หรือไฟสถานะเครื่องไม่ติดเลย

แนวทางการตรวจซ่อม

ในแนวทางของช่าง หรือผู้ตรวจซ่อม นั้น  ก็จะทำการจ่ายกระแสเข้าเครื่องโดยอาจใช้ Regulator เพื่อตัดปัญหาเรื่องแหล่งจ่ายไฟจากตัวอะแดปเตอร์ของลูกค้าเอง  ถ้ากรณีได้ดังภาพด้านล่างนี้  กระแสไฟไม่ขึ้นเลย (เป็นศูนย์) ส่วนแรงดันไฟนั้นปรกติ กรณีนี้ผู้ตรวจซ่อมควรทำการถอดแยกเมนบอร์ดออกจากตัวเครื่อง แล้วทำการตรวจวัดกันอีกทีจะดีที่สุดครับ เพราะถ้าเครื่องยังอยู่ในสภาพที่ประกอบเป็นตัวเครื่องอยู่ การตรวจซ่อม หรือการแก้ปัญหาจะทำได้ยาก และหรือไม่สามารถกระทำได้เลย เพราะปัญหา หรืออาการที่เกิด  ได้เกิดขึ้นกับส่วนที่เป็นเมนบอร์ดของเครื่อง

 

DC Crack-2

 

สำหรับภาพตัวอย่างสำหรับอาการเสียที่นำมาแนะนำนี้ ก็เป็นตำแหน่งของ L ที่จุดตะกั่วร่อน  ทำให้กระแสไฟไม่ไหล นะครับ  ดังนั้น การแก้ปัญหาเบื้องต้นเลย ก็คือ  ทำการย้ำจุดบัดกรีเข้าไปใหม่นั่นเอง  ก็จะทำให้อาการในกรณีนี้ ตามตัวอย่าง  จบปิดงานได้ครับ

DC Crackสนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คระดับอาชีพ กับ www.repair-notebook.com เรามีหลายช่องทางในการให้ท่านได้ศึกษากันครับ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนรู้พื้นฐานกับทางหน้าเว๊ป  หรือการเรียนออนไลน์ , การเรียนแบบออนไซด์ หรือแบบฝึกที่ร้าน สนใจคลิ๊กดูรายละเอียดได้ที่ www.repair-notebook.com

 


เรียนซ่อมเมนบอร์ด : วงจรตรวจจับอุณหภูมิ Thermal Follow Chart

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆ และท่านผู้สนใจในความรู้ด้านการซ่อมโน๊ตบุ๊คทุกท่าน  Repair-notebook.com มุ่งเน้นความรู้ด้านการก้าวสู่การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คระบบเชิงลึก (ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค)  ซึ่งต้องถือว่าสามารถทำรายได้ ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ มากกว่าการซ่อมคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หลายๆ เท่า  ทั้งๆ ที่โครงสร้างการทำงานของทั้งสองเครื่อง สองแบบนี้ ไม่แตกต่างกันมากนัก  ราคาในปัจจุบัน(2557) ก็ยังอยู่ไม่แตกต่างกันมากด้วยซ้ำ  ผู้ใช้ก็หันไปใช้ Notebook กันมาก เพราะคล่องตัวต่อการถือไปมาก นำเสนอ  และการพิมพ์เอกสารใดๆ ก็คล่องตัว  (ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมี Tablet เข้ามามากมายหลายชนิด) แต่คำว่า ความคล่องตัวครับ ที่ยังสู้ โน๊ตบุ๊ค และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะไม่ได้อย่างแน่นอน
  • เกริ่นนำไปมากไป…วันนี้ตั้งใจจะนำความรู้ในเรื่องของการจัดการทางด้านอุณหภูมิ ว่าเขามีวิธีการทำงานอย่างไร  กัน  สำหรับช่างใหม่ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการการเป็นช่างซ่อม  (อ่านบทความให้ครบนะครับ เยอะแยะไปหมดในเว๊ปของ www.repair-notebook.com)
    • หลักการทำงานของระบบตรวจจับอุณหภูมิของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คนั้น ก็จะมีการตรวจจับอยู่ที่ CPU และในส่วนของ GPU Chip ครับ ที่อุปกรณ์สองรายการดังกล่าวนั้นจะมีตัวตรวจจับอุณหภูมิ แล้วแจ้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิไปยัง EC หรือก็คือ I/O Controller นั่นเอง ซึ่งตัว I/O ก็จะทำการปรับเร่งความเร็วของพัดลม(FAN) เร็วขึ้น ให้สอดคล้องกับความร้อนที่ทางระบบได้รับข้อมูล  อาทิเช่น  ร้อนมากก็หมุนแรงขึ้นมากรอบการหมุนจัด แต่ถ้าร้อนน้อย พัดลมก็หมุนรอบต่ำลง เบา   หรือถ้ายังไม่ถึงอุณหภูมิที่จะทำให้พัดลมจะหมุน  พัดลมก็จะหยุดนิ่งไปได้เช่นกัน(ไม่ได้เสียนะครับ)

RP-0082

CPU sensor

  • พอได้พูดถึงกรณีที่ว่า”พัดลมไม่หมุน”  ก็อยากจะบอกเพื่อนๆช่างใหม่ เก่า ว่า  พัดลมนั้นไม่จำเป็นจะต้องหมุนตลอดเวลาหรอกนะครับ  มันจะหมุน หรือไม่หมุนนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ หรือระบบการสั่งการของ IO Controller นั่นเอง  ดังนั้น หลายคนจะชอบสอบถามมาทาง www.repair-notebook.com อยู่เสมอว่า เครื่องเปิดติดมีภาพ แต่พัดลมไม่หมุน พัดลมเสียหรือเปล่า…ตรงนี้ อาจจะตอบประเด็นนี้ว่า มันอาจจะไม่เสียก็ได้ครับ  ถ้าโน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่ความร้อนยังน้อยอยู่ พัดลมก็ยังอาจจะไม่หมุนก็ได้   แต่….ถ้าเมื่อใดที่รู้สึกได้จากการสัมผัสตรงทางตะแกรงลมออกด้านข้างของโน๊ตบุ๊คว่า ร้อนนะ  ไม่มีลมเป่าออกมา  หรือลองฟังเสียงตรงแถวๆ ทางลมออกดูว่า ได้ยินเสียงการหมุนของพัดลมไม๊….ถ้าไม่หละก้อ  อย่างนั้น ก็ถือว่าน่าจะเกิดปัญหากับพัดลมแล้วหละ
  • พัดลมอาจมีฝุ่นไปฝังจนฝืด หมุนไม่ไป  หรือ มีฝุ่นหนาตรงตะแกรงทางลมออก  หรือพัดลมเสียเอง ก็ได้เช่นกันครับ

ก็คงจะจบไว้สำหรับบทความเรื่องหลักการทำงานของการตรวจจับความร้อนของโน๊ตบุ๊คไว้เพียงแค่นี้นะครับ  สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ไล่วงจร ระบบไฟ ฯลฯ ในรูปแบบ Online Training , Onsite Training ติดต่อเราได้ที่ www.repair-notebook.com หรือทาง Facebook ที่ www.facebook.com/repair-notebook.com[Thailand]

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ : ไบออสไม่เจอ Hard Disk (Hard Disk Not Detect)

$
0
0
  •  สวัสดีครับ เ พื่อนๆชาว Repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้มาอัพเดรท บทความกันนะครับ  เป็นหัวข้อของการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ในลักษณะอาการ Hard Disk Not Detect หรือพูดแบบไทยๆ ก็คือ ไม่สามารถตรวจสอบหรือเห็นฮาร์ดดิสก์ได้ในไบออส (BIOS)

ลักษณะของอาการ

  • เข้าวินโดว์ไม่ได้ ,เครื่องบูตช้า , ตรวจสอบในไบออส ไม่เห็นรายการฮาร์ดิสก์ แม้กระทั่งเปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์แล้วก็ยังเหมือนเดิม

 

HDD-Detect

แนวทางในการตรวจซ่อม

  • จากรูปภาพวงจร(schematic) ด้านล่างนี้ ให้ทำการตรวจวัดไฟที่เลี้ยงตัวฮาร์ดดิสก์ ซึ่งได้แก่ไฟชุด +5V_HDD  โดยใช้มิเตอร์วัดเพื่อดูว่า มีไฟมาเลี้ยงแล้วหรือยัง
  • ควรจะวัดได้ที่ 5โวลท์ ไม่ควรต่ำมากกว่านี้ หรืออาจจะมีสูง(อาจไม่ค่อยเจอ) ถ้าไม่มีเลย ก็ต้องกลับไปดูทางไฟในวงจรที่จ่ายมาเลี้ยงในตำแหน่งของ HDD นี้นะครับ
  • ต่อจากนั้นให้ทำการตรวจวัดทางสัญญาณ SATA_TX,SATA_RX ทั้งสี่เส้นตามรูปในวงจรนะครับ ว่าควรจะมีไฟ 1.4xx V.AC (เป็นสัญญาณ) ทั้งสี่เส้นเลย หากได้ตามนี้แล้ว ก็น่าจะสมบูรณ์แล้วหละครับที่ตรงขั้ว connector นี้พร้อมทำงาน
  • ถ้าได้ตามข้างต้นแล้ววงจรยังไม่ทำงาน HDD ยังไม่ถูก Detect ใน BIOS ก็ต้องมองย้อนไปที่ SB แล้วครับ

HDD-Detect-1สนใจเรียนเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุีค คลิ๊ก www.repair-notebook.com นะครับ ติดตามเราทาง facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ : RTC Batt ขั้วสายบวก ลบ มีความสำคัญ ที่ต้องควรทราบ

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก ชาว repair-notebook.com และท่านผู้สนใจในการใฝ่หาความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ทุกๆท่าน  สำหรับวันนี้ ผมได้เพิ่มบทความความรู้ระดับช่างอีกหนึ่งบทความ  ถึงจะดูไม่ค่อยจะเป็นสาระสำคัญอะไรมากในสายตาของผู้ใช้ หรือช่างใหม่ๆ  แต่มันจะเป็นจุดที่ทำเงินให้แก่ผู้เป็นช่างซ่อมอย่างสบายๆ เลยครับ ในเรื่องอะไรนั้นไม่ขอพูดตรงนี้ดีกว่า เดี๋ยวจะหาว่าเอาความลับมาเปิดเผยมากเกินไป  แค่นี้ทางเว๊ปก็รับเมล์บ่น และด่า ไม่รู้เท่าไหร่แล้วครับ(ผู้เสียผลประโยชน์เขาต่อว่ามา)

RTC-Connec

 

  • จากรูปให้สังเกตุว่า ขั้วแบตเตอรี่จะมีอยู่สองพิน คือ บวกกับลบ    ขั้วบวกจะสัญญาลักษณ์เป็นสายสีแดง  ซึ่งก็หมายถึงจะไปต่อที่ขั้วบวกของก้อนแบต  ส่วนขั้วลบ ก็ให้สัญญาลักษณ์เป็นสายสีดำ ซึ่งหมายถึงไปต่อกับขั้วลบของก้อนแบตนั่นเองครับ
  • จากวงจรด้านล่าง ในตำแหน่ง RTC1 ที่วงกลมสีแดงไว้  จะเห็นว่า ขา 1 – 3 จะต่อลงกราวด์(ขั้วลบของวงจร) ส่วน ขา 2-4 เป็นขั้วบวก ที่ต่อไปเลี้ยงวงจร RTC

RTC-Connec1

คราวนี้ มาดูกันว่า ทำไม  repair-notebook.comm ถึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา

  • คำตอบก็คือ จากรูปจะเห็นว่า ที่ Connector สีขาว (RTC1) บนบอร์ดนั้น จะเห็นว่าตำแหน่งในวงกลมสีเหลือนั้น ที่พินของ Connector จะมีหัวลูกศรสีขาวๆ เล็กๆ กำกับไว้  ซึ่งตรงนี้เขาบอกให้รู้ว่าตรงนี้เป็นตำแหน่งที่1 ของพิน(pin) แต่นั่นแหละครับ  มันไม่ได้หมายความถึงว่าตำแหน่งที่ตรงหัวลูกศรขาวนั้นจะเป็นขั้วบวกของแบตเสมอไป
  • คราวนี้เข้าใจกันดีหรือยังครับ  ว่าถ้าผู้ที่นำแบต RTC มาเปลี่ยนลงไปใหม่ อาจจะทำให้เครื่องยังไม่จำวัน เดือน ปี อยู่เหมือนเดิม  ก็เพราะว่า ขั้วบวก และลบ นั้นไม่ได้ตรงกับที่บอร์ด เสมอไป

หมายความว่าไง…

  • หมายความว่า  อย่าไปยึดติดกับขั้ว หรือตำแหน่งมาร์ค บนบอร์ดให้มากเกินไปว่า ตรงตำแหน่งมาร์ค หัวลูกศร ต้องเป็นตำแหน่งที่เป็นขั้วบวก  เพราะว่าในหลายๆบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค มันอาจจะวางไว้เป็นในลักษณะตามที่เข้าใจนั้น  แต่ในบางบอร์ด(ดังเช่นในรูปตัวอย่าง) มันไม่ได้เป็นไปอย่างที่เข้าใจ
  • สำหรับผู้ที่สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับทีมงาน www.repair-notebook.com ช่วงนี้(1-30 มกราคม 2558นี้  ลดราคาค่าเรียนอยู่นะครับ) และจะกลับไปใช้อัตราเดิมหลังจากหมดช่วงโปรโมชั่นนี้  ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจติดตาม repair-notebook.com ตลอดมาครัรบ

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ : เครื่องเปิดไม่ติด ขอถามว่า "ไฟเลี้ยงวงจรจ่ายแล้วหรือยังหละ ?? .

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้เป็นที่ 31 มกราคม 2558 เป็นวันสุดท้ายของเดือนมกราคม เดือนแรกของปี 2558 ครับ  www.repair-notebook.com  ตั้งใจไว้ว่า ในปีนี้ เราจะทำการอัพบทความ เขียนบทความดีๆใหม่ๆให้ความรู้แก่เพื่อนๆกันอย่างต่อเนื่องครับ  เพราะรู้ตัวว่าเวลาที่ผ่านๆมา  บทความจะออกน้อยมาก   เพื่อนๆต้องเข้าใจนะครับว่า  www.repair-notebook.com เขียนบทความขึ้นเองจากความคิดของตัวเองจริงๆ  ไม่ได้ไปคัดลอกบทความของใครจากที่ต่างๆ มาปะในหน้าเว๊ป   ดังนั้น การเขียนบทความ บทความหนึ่ง  จะใช้เวลาประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง  ทั้งคัดสรรภาพ และอัพ และบรรยายบทความนั้นๆ ครับ
  • สำหรับในรูปภาพ และหัวข้อวันนี้ ได้พูดถึงว่า  เครื่องเปิดไม่ติด   คำว่าเปิดไม่ติด  ทาง www.repair-notebook.com ได้พูดไว้ในบทความต่างๆ เยอะแยะพอควรครับ   ทีนี้ เราก็จะตั้งคำถามกลับไปว่า “แล้วไฟเลี้ยงวงจรหละ  มันจ่ายหรือยัง”  คำว่าไฟเลี้ยงวงจรของช่างที่เข้าใจ  เราจะหมายถึง ไฟเลี้ยงจากอะแด๊ปเตอร์ที่เราเสียบเข้าทางด้านช่างชาร์จแบตเตอรีนั่นแหละครับ  เราจะเน้นไฟตรงนี้เป็นหลักก่อนว่า  ถ้าหากไฟตรงนี้ไม่มีเข้ามา  “แล้วจะทำให้เปิดติดได้ยังไงหละ”  ดังนั้น  ถ้าไฟจากอะแดปเตอร์มันมีครบ 19 โวลท์(ปรกติจะเป็นแรงไฟประมาณนี้ครับในหลายๆ ยี่ห้อ  แต่แรงไฟที่แตกต่างจากนี้ก็มีนะครับ)
  • ปัญหาจากกรณีที่ไฟจะเข้าหรือไม่เข้า เพื่อนๆสามารถตรวจสอบได้จาก ใช้มิเตอร์วัดๆ วัดที่ขั้วเสียบของเขา(ดูบทความเก่าๆ เรื่องการตรวจวัดอะแดปเตอร์)  ให้ได้แรงดันที่ถูกต้องครับ  จากนั้นจึงเสียบเข้าเครื่องไปตามปรกติครรับ   ถ้ายังเปิดไม่ได้  นั่นแหละ อาจเป็นปัญหาทางวงจรเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คนั้นๆแล้วหละครับ

RP-0090

  • จากรูปเราจะเห็นว่า เราวัดไฟทางเข้าที่ผ่านฟิวห์(Fuse) ของวงจรทางไฟเลี้ยง 19โวลท์ ปรากฎว่ามีแรงไฟที่วัดได้เพียง 1.8 โวลท์โดยประมาณ  นั่นแสดงให้เห็นแล้วว่า เป็นปัญหาจากแรงไฟที่ไปเลี้ยงในวงจรไม่เพียงพอ  และปัญหาที่เจอนี้ ไม่ใช่ปัญหาจากตัวอะแดปเตอร์(เพราะเพือนๆได้วัดแล้วก่อนเสียบใช่ไม๊ครับว่ามันมี 19โวลท์)
  • ในการพิจารณาการซ่อม  เราจะทำการวัดในระดับเบื้องต้น คือต้องทำการ วัดตรงตำแหน่งของ Fuse เทียบกับ กรวด์ของเครื่อง ว่า ช้อต หรือรั่วไม๊   ก่อนที่จะไปเข้าลึกถึงในวงจรว่ามันเกิดอะไหรขึ้นกับวงจร
  • ในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนี้  อยากให้เพื่อนๆ ได้ทำการวัด Fuse ก่อนเข้าวตัว Fuse  และ หลังออกจากตัว Fuse ทั้งบนตำแหน่งบัดกรีบนตัวฟิวส์ กับ บนปริ้นว่า มีค่าแรงไฟที่แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน  ถ้าวัดที่ตัวฟิวส์(ไม่ใช่ที่ปริ้นที่ฟิวส์บัดกรีติดอยู่) แล้วได้ 19โวลท์  แต่เมื่อไปวัดที่ปริ้น  ปรากฏว่าไฟเหลือ 1.8 โวลท์ หรือไม่ถึง 19โวลท์ นั้น  ในเบื้องต้น  พิจารณาว่า น่าจะเกิดจากการกร่อนร่อนของตำแหน่งบัดกรีของฟิวส์กับปริ้นนั่นแหละครับ  ให้เพื่อนๆ ทำการบัดกรีย้ำให้ดี  แล้วตรวจสอบวัดอีกที
  • คราวนี้ผลจะเป็นยังไง…แน่นอนว่า ถ้าไม่เป็นเรื่องย้ำจุดบัดกรีไปแล้วไฟเข้า  ก็คงจะต้องเข้าซ่อมในส่วนของวงจรกันอย่างถ่องแท้  แน่ชัด  ส่งช่าง ซ่อมได้เลยนะครับ
  • สนใจเรียนความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดเพิ่มเติมได้ที่ www.repair-notebook.com ช่วงนี้ลดราคาเรียน เป็นช่วงพิเศษครับ  สนใจติดต่อเข้าได้ที่ www.repair-notebook.com

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : ไม่สามารถวัดหา ไฟ 3.3/5 V. ในบอร์ดได้เลย

$
0
0

สวัสดีครับ เพื่อนๆ สมาชิก www.repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ขอเพิ่มเติมบทความ ความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คสักบทความนึงครับ
RP-0092

  • เนื่องจากว่า แท่นเครื่องต่าง ๆ ของโน๊ตบุ๊คมีความหลากหลายในระบบไฟกันพอควร  ดังนั้นเวลาตรวจซ่อมเราอาจจะต้องมาคิดว่า หรือได้รับการอบรมสั่งสอนกันมาว่าจะต้องวัดไฟ 3.3/ 5 ให้ได้ก่อน  ซึ่งในเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่อาจเป็นตามนั้น  แต่ก็มีในส่วนน้อยๆ หละครับที่  ไม่เป็นไปตามนั้น  คราวนี้มันจะเป็นยังไงกันบ้าง ลองมาดูกันตรงนี้ครับ

จากการที่ได้ตรวจซ่อมเครื่องมาตลอด ก็ได้สังเกตุเห็นว่ามีรูปแบบแตกต่างกันดังนี้ครับ

  • เสียบปลั๊กไฟเข้าบอร์ดปุ๊บไฟ 3.3 / 5  v. มาทันที  สามารถวัดได้ทันที
    • เสียบปลั๊กไฟเข้าบอร์ดปุ๊บ  มีแต่ไฟ 3.3 ไฟ 5 ไม่มี  แต่ไฟ 5 จะมี เมื่อเราได้กดสวิชท์ Power On ของเครื่อง
    • เสียบปลั๊กไฟเข้าบอร์ดปุ๊บ  ไม่มีแม้แต่ไฟ 3.3/5 v  แต่จะมี ก็ต่อเมื่อ กด Power On ถึงจะสามารถวัดได้ ทั้ง 3.3 / 5 ได้
    • เสียบปลั๊กไฟเข้าบอร์ดปุ๊บ  ไม่มีแม้แต่ไฟ  3.3/5 v. กด Power On ก็ไม่เกิด วัดไม่ได้   กรณีนี้ ที่เคยเจอก็คือ ต้องติดตั้ง CPU เข้าไปด้วยครับ ถึงจะมี 3.3.5 ทันที โดยไม่ต้องกด Power On


  • ดังนั้น เพื่อนๆ ช่างใหม่ ช่างเก่า ผู้ศึกษาหาความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ก็จะได้เอาไปเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ตัวเองกำลังตรวจเช็คอยู่  จะได้ไม่ต้องไปเข้าใจอย่างเดียวว่า ไฟชุด 3.3/5 โวลท์ นี้ต้องมีตลอดเวลาในทุกเมนบอร์ด  แค่นี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ทุกท่านที่กำลังตรวจซ่อม  ได้เข้าใจและไม่ตกม้าตาย…

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://www.repair-notebooks.com/read.php?tid=93&page=1&toread=1#tpc   ที่เป็นส่วนหนึ่งของ www.repair-notebook.com

สนใจเรียนซ่อมเมบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ระบบไฟ คลิ๊ก www.repair-notebook.com หรือเข้าไปที่

เรียนซ่อมระบบไฟ : สวิตชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)

$
0
0

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก www.repair-notebook.com ทุกท่าน  สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอความรู้ในเรื่องของระบบไฟ ซึ่งถือว่าจะเป็นความรู้ในระดับพื้นฐานของการนำไปประยุกต์ต่อยอดในการซ่อมวงจรอีเล็คทรอนิคส์หลายๆ อย่างได้มีความเข้าใจเลยครับ

ระบบไฟที่จะนำมาพูดในที่นี้ เราจะเรียกว่าระบบไฟแบบสวิตชิ่งครับ

 

 

องค์ประกอบของระบบไฟสวิชชิ่งก็จะประกอบไปด้วย

Filter & Rectifier High Volt

Converter ประกอบไปด้วย

  •  Power Switching
  • Switching Tranfomer
  • Filter & rectifier Low Volt
  • Control

โดยในหลักการการทำงานพอจะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายดังนี้

 

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : ลักษณะอาการเปิดไม่ติด ไฟ 3.3 / 5 มีมารอแล้ว

$
0
0

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก www.repair-notebook.com  บทความวันนี้นำเสนอลักษณะของอาการที่เกี่ยวกับการเปิดไม่ติด  ความหมายของคำว่าเปิดไม่ติดที่เขียนนี้ หมายถึง  เวลาที่ผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ทำการกดสวิทช์ power on ของเครื่องโน๊ตบุ๊ค  แล้วเครื่องไม่เกิดอะไรขึ้นเลย  แม้แต่ไฟสถานะต่างๆ ก็ไม่กระเพื่อมขึ้นเลย    ในขณะที่ไฟจากอะแดปเตอร์ จ่ายเข้าสู่โน๊ตบุ๊ค และมีไฟสถานะที่แจ้งว่า ระบบไฟสแตนบายทำงานแล้ว

ในลักษณะอาการแบบนี้  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยี่ห้อใด รุ่นใด  ก็แล้วแต่  แน่นอนว่า  ผู้เป็นช่าง ก็จะทำการเปิดเครื่อง ดูเมนบอร์ดกันก่อนหละ  สิ่งที่เจอะเจอกัน ให้เห็นกันเด่นชัด หรือยังไม่เห็นกันชัดนั้น  ก็จะนำไปสู่การค้นหา ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั้นๆ ต่อไป

ในแนวทางการตรวจซ่อมที่เราขอแนะนำ ก็อาจจะต้องมีความละเอียดละออต่อการค้นหากันหน่อยนะครับ  กล่าวคือ

  • ถ้าไม่เห็นจุดเสียที่เด่นชัด  ก็ต้อง ตรวจทดสอบการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานก่อน  เช่นในกรณีของการเปิดไม่ติดนี้  เมื่อไฟชุด 3.3 / 5 โวลท์ ทำงานแล้ว  เราก็อาจจะต้องไปดู ในตำแหน่ง สวิทช์ เปิดปิด ของเครื่องว่า  เสียไม๊  ไม่ว่าจะเป็นแบบสวิทช์ติดกับบอร์ด หรือสวิทชฺ์ที่ต้องต่อโยงด้วยสายแพรออกมาอีกส่วนหนึ่งก็ตาม   สิ่งเหล่านี้  เพื่อนๆ ช่างใหม่ ช่างเก่า อย่าได้ละเลย เลยนะครับ   บางทีแค่ สวิทช์เสีย  บางทีแค่ สายแพรหักใน (บางชุดสายแพรจะนิยมพับ )

RP-0093

  • ในลักษณะต่อมาในการวิเคราะห์ ก็ต้องใช้หลักสูตรนี้แหละครับ ” ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส”  ซึ่งจะต้องเป็นผู้สังเกตุที่ดี และละเอียดอ่อน   ในสิ่งที่ตรวจเจออาจจะเป็นแบบตามรูปภาพที่ให้เห็น ว่ามีเจ้ามดตัวน้อย จำนวนมากเข้าไปป้วนเปี้ยน อยู่แถวๆ ชุด IO Controller ซึ่งตรงนี้ถือเป็นส่วนสำหรับควบคุมการทำงานของคำสั่งต่าง ๆ และเป็น IC ควบคุมตัวแรกที่จะนำระบบไฟไปให้ถึงดวงดาวเลยทีเดียว (555)
  • ในแนวทางต่อมาของการเปิดไม่ติด  ที่อาจเกี่ยวกับตัว IC ควบคุม หรือเจ้า IO นี้เสียก้เจอะเจอบ่อยเช่นกัน  ให้สังเกตุ เช่นมีรอยไหม้ มีจุดทะลุ มีความร้อนสูงเกินกว่าที่มันควรจะเป็น (ปรกติ IO จะไม่ร้อนมากๆ หรือแทบไม่ค่อยจะพบว่า IO ร้อนเลยในขณะทำงาน) จากรูปจะเห็นขาของ IO ที่มีมดเกาะอยู่จะมีคราบสกปรก สึกกร่อนแล้ว  เหล่านี้ถือเป็นปัญหา และสาเหตุของอาการเปิดไม่ติดได้ทั้งสิ้น
  • ในแยทางต่อมาของการเปิดไม่ติด  ที่เกี่ยวข้องกับชุดควบคุม IO นี้ ก็คือ เจ้า IC BIOS ROM ที่อยู่ข้างๆ  IO เราจะเรียกว่า EC ROM  นั้น  ตัวนี้ถ้ามันเสีย หรือว่า ไฟล์ไบออส ในตัวมันเสีย  ก็เป็นปัญหาได้เช่นกันสำหรับการเปิดไม่ติดนะครับ

เอาเป็นพอประมาณแค่นี้ก่อน  แล้วจะค่อยๆ ลงบทความดีๆ มีความรู้เพิ่มเติมให้กับเพื่อนๆ สมาชิกกันต่อไปนะครับ

 

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ระบบไฟ และข้อมูลลับการซ่อม  ติดต่อ www.repair-notebook.com  ลงทะเบียนไว้ได้ครับ หรือจะเข้าไปติดต่อกันทาง Facebook ก็ไปที่  https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH


เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : อาการเสียบสายชาร์จแล้วเครื่องทำงานเอง ไม่มีภาพ

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทุกท่าน  สำหรับบทความวันนี้ ผมได้หยิบยกเรื่องของอาการที่เกี่ยวกับการไม่เกิดภาพมาให้เป็นบทความรู้อีกเรื่องหนึ่ง  แต่ลักษณะอาการของวันนี้ มันเกิดจากการเสียบปลั๊กไฟ สายชาร์ฺจของเราเข้าไปเพื่อจะใช้เครื่องตามปรกติ  แต่ปรากฏว่า เครื่องเปิดขึ้นเองเลย  โดยที่เรายังไม่ได้ไปกด Switch ของเครือ่งเลย  แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ   มันไม่มีภาพด้วยนี่สิ… ตามมาดูกันเลยนะครับว่า เราจะมีแนวทางในการวิเคราะห์ตรวจซ่อมกันอย่างไร

แท่นเครื่อง

  • Dell Inspiron N4030

ลักษณะอาการ

  • เสียบปลั๊กไฟ สายชาร์จเข้าเครื่องปุ๊ป  เครื่องทำงานเองเลย  แต่…ไม่มีภาพจร้า

แนวทางการตรวจซ่อม

  • ในแนวทางของแท่นเครื่องต่างๆ เหล่านี้  ในลักษณะอาการนี้ อาจมองไปได้ในแง่ของคำสั่งผิดพลาด แต่ก็นั่นแหละ หากสิ่งที่เราได้เคยพูดๆกันไว้ในบทความเก่าๆ ก็จะต้องเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์  กล่าวคือ  “ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส”  แน่นอนเลยว่า สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผู้เป็นช่าง สามารถค้นหา หรือพบเจอปัญหาของอาการเสียเหล่านั้นได้รวดเร็วกว่า

 


RP-0094

 

RP-0095

ตำแหน่งคอลย์ที่วัดได้ศูนย์โอมห์ คือ PL4902

  • แนวความคิดในการตรวจซ่อมสำหรับลักษณะอาการแบบนี้ แน่นอนว่า เพื่อๆ สมาชิก ใช้หลัก “ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส”ตามที่ได้กล่าวข้างต้น จากนั้นลุยเลยครับ   เจอไม๊ครับ…ฮ่าๆๆ  สำหรับแท่นนี้ ได้ใช้มือสัมผัสดูไปตามตำแหน่งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นต่างๆ แล้ว  ได้พบว่าตำแหน่ง south bridge มีความร้อนสูงมากๆ(ช่วงเวลาแป๊ปเดียว  ร้นอจนจับไม่ได้เลยหละ)  ซึ่งปรกติ เจ้าชิพ South bridge นี้ จะไม่ร้อนขนาดนี้ครับ  แน่นอนว่า  เราได้เจอผู้ต้องสงสัยเข้าแล้วด้วยวิชา  “มือสัมผัสครับ”

คราวนี้เรามาลองพิจารณาดูว่า เหตุที่มันร้อนมันเกิดจากอะไร  

  • ใช้มิเตอร์ตั้งวัดการขาดต่อของวงจร (บิดไปที่วัดโอมห์ , หรือเสียง Beep ก็ได้ครับ)  จากนั้นให้ใช้สายสีดำของมิเตอร์จับกราวด์ของแท่นเครื่อง(ทองแดง ตำแหน่งรูใส่สกรูก็ได้ครับ)  จากนั้นเอาสายโพ๊ปที่เหลือ แตะวัดไปที่ขาของคอยล์ต่างๆ ทั่วบอร์ดเลย(ก็ได้ครับ เนื่องจากหลายท่านไม่เข้าใจว่าจะไปวัดตรงไหน  อีกเรื่องนึง…เจ้าคอยล์ในวงจรก็มีไม่เกินสิบตัวครับ)  วัดคอลย์เทียบกรววด์ เพื่อหาตัวที่มีค่าความต้านทานตำสุด  ก็จะทราบว่า มีชุดไฟชุดไหนช้อต

แต่สำหรับตามบทความนี้  ตามรูป  เราสามารถวัดได้ที่คอลย์ตำแหน่งข้างฐานแรม เราวัดได้ศูนย์โอมห์เต็มเลย ครับ

  • ทำไงต่อ  แน่นอนว่า เรารู้แล้วว่า ชิพ Southbridge ร้อนจัด และเป็นผู้ต้องสงสัย  และจะเห็นว่ามันเป็นเหตุเป็นผลกับชุดคอลย์ที่อยู่ข้างฐานแรมตัวนั้น ทำให้ไฟที่ชุดคอลย์เป็นศูนย์โวลท์

RP-0096

 

  • ในแนวทางขั้นต่อไปก็ต้อง จัดการผู้ต้องสงสัยซะครับ  หน้าที่ตรงนี้คงเป็นการปฏิบัติของช่างแล้วหละครับ ที่จะต้องยกชิพตัวนี้ออกมา  แล้วให้วัดที่ตำแหน่ง คลอย์ PL4902 เทียบกราวด์อีกทีและครับ  สำหรับแท่นตามรูปด้านล่างนี้  เมื่อวัดเทียบกราวด์อีกครั้งจะได้ค่าโอมห์เป็น 6 โอมห์ ซึ่งแสดงว่าหายช้อตไปแล้ว  จากนั้นจากไฟเข้าบอร์ด แล้ววัดไฟอีกครั้ง  ได้ค่าแรงไฟที่ตรงคอลย์นี้ 1 โวลท์ กว่าๆ ครับ  ซึ่งถือว่า ได้ข้อสรุปตัวเสียที่ถูกต้องแล้วคือ Southbridge ครับ

 

RP-0097

แนวทางวิธีการตรวจซ่อมระบบไฟ และแนวความรู้ต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้เพิ่มเติมจาก www.repair-notebook.com  หรือทาง Facebook.com https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

NEC Tokin คืออะไร

$
0
0
  • รูปร่างหน้าตาแบบนี้  ช่างใหม่ทั้งหลายคงยังไม่เคยรู้จักสินะครับ   ดังที่ผมได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆ บทความเกี่ยวกับการที่เราจะหันเหชีวิตมาเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ก็จะต้องรับรู้กับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆตัวที่ใช้กันอยู่ประจำ และหลายๆตัวที่ออกมาใหม่ในตลาด

NEC TOKIN ถูกพูดถึงกันมากในตอนนี้สำหรับการซ่อมโน๊ตบุ๊คของโตชิบา (Toshiba)ในหลายๆ รุ่น ที่เป็นอาการประเภทจัดว่าเป็น bug ของเครื่อง

NEC TOKIN คืออะไร

ตอบกันตรงๆ เลยนะ NEC  TOKIN ก็คือบริษัทผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆชนิด และรวมถึงเจ้า Capacitor ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ด้วยนะครับ

ดูได้ที่เว๊ปของเขาเลยครับที่http://www.nec-tokin.co.th หรือ http://www.nec-tokin.com/english

renectokin1

ที่มาของภาพ  http://www.nec-tokin.com/english/

Capacitor ที่ผลิตโดย NEC  TOKIN มีชนิดไหนบ้าง ?

คราวนี้เรามาพูดถึง Capacitor ที่เป็นแบบ Proadlizer กันครับ

  • Proadlizer Capacitor (อ่านว่า พรอด ไล เซอร์) ถูกผลิตมาจาก บริษัท NEC TOKIN  เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุ  คายประจุไฟฟ้า (condensor ,capacitor หรือ C หรือ ตัวเก็บประจุ คืออุปกรณ์ตัวเดียวกันนะครับ อย่าสับสน ) เจ้า C นี้จะทำหน้าเพื่อให้กระแสไฟมีความเรียบ ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆที่อาจจะแฝงไปกับกระแสไฟ และผ่านเข้าสู่การทำงานของวงจรต่างๆ  ซึ่งถ้ากระแสไฟไม่เรียบ อาจทำให้การทำงานของวงจรต่างๆ เกิดอาการ ปัญหา ต่างๆ โดยเฉพาะด้านระบบไฟ

คุณสมบัติตามที่ NEC TOKIN เขากล่าวไว้ มีดังนี้ครับ

  1. เป็นการใช้ตัวเก็บประจุหลายๆตัวบรรจุอยู่ภายใน Packkete เดียวกันเลย ทำเป็นเหมือน Chip ตัวหนึ่งนั่นเอง สะดวกต่อการติดตั้ง ซ่อม แก้ไขปัญหา
    • มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการ ในการทำงานที่ความเร็วสูงๆของ CPU
    • คุณสมบัติในการการป้องกันการรบกวน เพื่อให้ CPU ทำการประมวลผลได้อย่างปราศจากสิ่งรบกวน
    • คุณสมบัติในการติดตั้ง แก้ไข ที่สะดวกกว่าการที่จะต้องบัดกรี capacitor ลงไปทีละตัว (รวม 30 กว่าตัวครับ) แต่ถ้าเป็น   Prodlizer capacitor  ของ NEC  TOKIN  จะช่วยให้การทำงานเหล่านั้นง่ายมากขึ้น

จริงๆแล้ว หากไม่ใช้ C ชนิดนี้จาก NEC  Tokin เราจะต้องใช้ C ตัวเล็กๆ วางใต้ฐาน CPU รวมแล้วประมาณ 30 กว่าตัวครับ

ก่อนจะมาเป็น Proadlizer Capacitor

  • เขาบอกว่า เดิมทีนั้น CPU จะต้องมีชุดกรองกระแส (Filter) ให้เรียบ โดยมีค่าความจุของ C ที่จะนำมาขนานกัน โดยมีความจุตัวละประมาณ 10 uF เมื่อนำมาขนานกัน จะทำให้ C มีความจุเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 1000 uF ได้เลยครับ (ตามคุณสมบัติและการคำนวณค่า  C เมื่อมีการต่อแบบขนาน)
  • ดังนั้น เวลาที่มันเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟที่ไปหล่อเลี้ยง CPU   ในเรื่องของการกรองกระแส หรือการฟิลเตอร์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยง ซ๊พียู มีความเรียบที่สุดนั้น   การแก้ไขปัญหาจึงต้องมองที่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นั้น ซึ่งก็คือ C ประมาณ 30 กว่าตัว ใต้ฐาน CPU หรือบางยี่ห้อ บางรุ่น ก็อยู่ทั้งบนฐาน และใต้ฐานซีพียู ก็มีครับ



RP-0116

รูปด้านบน (ซ้ายมือ) นี้แสดงให้เห็นว่า ก่อนใช้ C แบบ Proadlizer จะต้องมี หลายๆ  แบบ Ceramic และ แบบ Polymer ติดตั้งอยู่เป็นชุด Filter ไฟเลี้ยงให้แก่ CPU โดยตรง เช่นมีจำนวนรวมถึง 39 ตัว

รูปด้านบน (ขวามือ ) แสดงให้เห็นว่า หลังจากได้นำเจ้า C Proadlizer เข้ามาใช้แทน  โดยคุณสมบัติที่ดีกว่า เพิ่มเติมเข้าไปด้วย ก็เลยติดตั้งแทนเข้าไปเพียงตัวเดียวเท่นั้น

  • จำไว้ว่า การต่อ C ใช้งานนั้น ถ้าต่อแบบขนาน คือ นำขั้วบวกของแต่ละตัวต่อถึงกัน  ขั้วลบของแต่ละตัวต่อถึงกัน  จะทำให้ได้ความจุของ C เพิ่มขึ้น
  • C ที่มีความจุต่ำ  จุกระแสได้น้อยกว่า แต่จะทำงานได้เร็วมากกว่า เพราะการประจุ และการคายประจุ ภายในตัว  C จะเกิดขึ้นได้เร็ว   วงจรก็จะนำไปใช้ได้เร็วกว่าด้วย  เราเรียกมันเป็นประเภท Fast Speed
  • C ที่มีความจุสูง จุกระแสได้มากกว่า แต่จะทำงานได้ช้ากว่า  เพราะกว่าจะประจุเต็ม ก็ใช้เวลาไปมากแล้ว

ค่าเวลาที่เราพูดถึง  มันใช้กันเป็น nano sec. (หนึ่งในล้านของวินาที) นะครับ  ไม่ใช่เป็น second (วินาที) เดียวนะครับ

คราวนี้ ถ้ามันเสีย หรือค่าลด หรือเสื่อม จะเกิดปัญหาใดขึ้นได้บ้าง

  • เมื่อ C Proadlizer ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟที่จะเป็นเลี้ยง CPU ให้เรียบ นิ่ง  นั้น  เมื่อมันมีการใช้ไปนานๆ ก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของการเสื่อมค่า  ความจุอาจลดค่า (ถ้ามองแบบ C อิเล็คโตไลท์ ที่มีการบวมเกิดขึ้น) การประจุ และคายประจุ ตามคุณสมบัติของ C ก็จะทำได้ไม่ดี (ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม) ความสามารถที่เคยทำได้ถึง 100 % อาจลดลงเหลือสัก 85 % จึงทำให้เกิดความผิดพลาดในการเก็บประจุ คายประจุ  ทำให้กระแสไฟที่ไปเลี้ยง CPU ไม่เรียบ หรือ นิ่งพอ  เมื่อ CPU ทำงานในช่วงที่ต้องใช้กระแสสูงๆ(กระแสสูง กำลังไฟก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย)  ทำให้ C ต้องทำหน้าที่หนักตาม  และเมื่อมันทำได้ไม่เต็มที  จึงเกิดอาการต่างๆ ในเรื่องของระบบไฟ ที่โน๊ตบุ๊ค หลายๆ ยี่ห้อ (โดยเฉพาะ โตชิบา เขาเจอๆกัน)

มีอาการอะไร ที่เขาเจอกันในโน๊ตบุ๊ค และเป็นผลจาก C  ชนิด Ploadlizer ของ  NEC Tokin

อาการที่เกิดขึ้น อาทิ เช่น

  • ใช้แบตเตอรี่เท่านั้นในการเปิดเครื่อง  จากนั้น หากมีการเสียบ Adaptor เข้าไป จะทำให้โน๊ตบุ๊คดับไปเลยก็มี
  • ใช้แบตเตอรี่ในการเปิดเครื่องใช้งานปรกติ  แต่เมื่อเสียบ Adaptor เข้าไป จอภาพจะลายทันที
  • เข้าสู่โปรแกรมวินโดว์ไม่ได้  มีการค้างที่หน้าจอก่อนเข้าวินโดว์

RP-0119

 

ก่อนอื่นต้องถอด เจ้า NEC TOKIN เดิมออกก่อนนะครับ

RP-0118

 

จากนั้นหา C แบบธรรมมาวางบัดกรีให้เรียบร้อยครับ

 

RP-0117

 

เสร็จเรียบร้อยตามรูปด้านบน  สามารถแก้ปัญหาการทำงานที่ผิดพลาดของโน๊ตบุ๊คในบางอาการได้ครับ

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ระบบไฟ และอื่นๆ ติดต่อได้ที่ พี่วัฒนา www.repair-notebook.com

หรือทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

วิธีการวางไอซีพลั้น ด้วยลมร้อน

$
0
0

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  บทความวันนี้ คงเป็นการนำคลิ๊ปการวาง IC Pulse มาแนะนำนะครรับ  คำอธิบายนั้นคงไม่ต้องพูดกันมากครับ  สามารถทำความเข้าใจกับภาพในคลิ๊ปได้โดยตรงเลย   เน้นอย่างเดียวว่า  ใช้ IC ให้ถูกเบอร์ด  วางให้ถูกมุมของขาเริ่มต้น  และต้องตรวจดูขาให้ละเอียดหลังวางเสร็จสิ้นสิ้นแล้ว ว่าขาต่างๆ ต่อกันอย่างสนิทแน่นอน  ไม่อย่างงั้น  อาจเกิดความเสียหายได้นะครับ  สิ่งที่เจอมาก็คือ  IC จะไหม้ได้ครับ

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : จุดเคลียซีมอส Asus K43L

$
0
0

วันนี้ ก็ขอนำตำแหน่งการเคลีย CMOS ของ Asus K43L มาฝากกันนะครับ  โดยหลักการของวิธีการปฏิบัติ ก็จะมีการดำเนินการที่คล้าายๆ กันกับหลายๆ แท่นเครื่อง หรือตามเอกสารที่ทาง repair-notebook.com ได้เคยทำเป็นบทความไว้ให้ทราบกันแล้ว (สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จาก www.repair-notebook.com)

Asus-RST

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : รู้จักกับ TPS51125 IC Pulse ของชุดไฟที่ต้องทำงานก่อน(stand by)

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก www.repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ ขอนำความรู้ของตัว IC Pulse ที่ใช้กันเกลื่อนในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันมาแนะนำความรู้ให้ทราบกันนะครับ
  • เจ้า IC ตัวนี้จะเป็นประเภท PWM (Pulse width modulation)ที่เวลานำไปใช้ประกอบเป็นวงจร จะทำให้ได้แรงไฟ 3.3-5 โวลท์ในวงจร ซึ่งจะได้หลังจากที่เราเสียบอะแดปเตอร์จ่ายไฟให้แก่วงจรบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั่นเอง  ไฟ 3.3/5 v. เราถือเป็นไฟชุด Stand by ชุดแรกที่จะต้องมีเพื่อไว้หล่อเลี้ยงวงจรเริ่มต้นนั่นเอง   และเมื่อเราจะทำการกดสวิทช์ที่หน้าเครื่องโน๊ตบุ๊ค และระบบไฟชุดต่าๆ ก็จะทำงานต่อเนื่องกันได้นะครับ
  • สิ่งสำคัญที่เราควรทราบเกี่ยวกับข้อมูลของ IC เบอร์นี้ก็คือ ขาต่างๆ ที่ควรจะจดจำไว้ ซึ่งผมได้ทำรายละเอียดขาไว้ให้ตามรูปแล้วนะครับ

TPS51125-1

TPS51125 ขาที่ต้องจำ สำหรับการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

  • ขา16 ไฟเลี้ยง ควรมี 19 โวลท์
  • ขา3 ref ควรมี 2โวลท์
  • ขา8 โวลท์ REG(regulate) ควรมี 3.3 V.
  • ขา17โวลท์REG(regulate) ควรมี 5 V.
  • ขา13 En ควรมีแรงไฟสักค่านึง เพื่อทำการเปิดการทำงานให้กับขา 3,8,17 
  • ขา1และขา6 เป็น Entrip1,2 เพื่อเปิดการทำงานให้กับชุดไฟที่ได้จากการทำงานของ Mosfet และ Coil
  • ขา 23 PGood เป็น output สุดท้าย บอกให้ทราบว่า IC นี้ทำงานสมบูรณ์แล้ว  และเราสามารถนำคำสั่งตรงนี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์อื่นๆได้นั่นเอง

CQ40-3-5

  • ถ้าเพื่อนๆทำการตรวจวัดไฟตามขาต่างๆ ตามที่แนะนำไว้ ก็จะทราบได้ว่า IC เบอร์ ทำงานเริ่มต้อนได้แล้วหรือยัง  หากในพื้นฐานของไฟชุดแรกๆ REG ยังไม่ทำงาน ก็หมายความว่า ชุดไฟต่างๆ ก็จะยังไม่สามารถทำงานได้นั่นเองครับ

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค แบบonline , on site ติดต่อได้ที่ www.repair-notebook.com หรือเข้าเยี่ยมชมทาง facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

เรียนซ่อมเมนบอร์ด : NEC TOKIN คืออะไร ?

$
0
0
  • ก่อนอื่นต้องแจ้งเพื่อนๆ ก่อนว่า บทความนี้เป็นของ www.somdai.com ซึ่งก็คือเว๊ปไซด์ที่มีเจ้าของเดียวกัน ก็คือ www.repair-notebook.com นะครับ   เดี๋ยวเพื่อนๆสมาชิกจะบอกว่า repair-notebook.com ไปฉกฉวยบทความของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง…. ขอบคุณครับ

NEC Tokin Capacitor ตัวปัญหา ในวงจรเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

  • รูปร่างหน้าตาแบบนี้  ช่างใหม่ทั้งหลายคงยังไม่เคยรู้จักสินะครับ   ดังที่ผมได้เคยกล่าวไว้ในหลายๆ บทความเกี่ยวกับการที่เราจะหันเหชีวิตมาเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ก็จะต้องรับรู้กับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆตัวที่ใช้กันอยู่ประจำ และหลายๆตัวที่ออกมาใหม่ในตลาด

รูปด้านล่างนี้คือ Proadlizer Capacitor ที่ผลิตโดย NEC  TOKIN co.,ltd.

renectokin2

ที่มาของภาพ  http://www.nec-tokin.com/english/

NEC TOKIN ถูกพูดถึงกันมากในตอนนี้สำหรับการซ่อมโน๊ตบุ๊คของโตชิบา (Toshiba)ในหลายๆ รุ่น ที่เป็นอาการประเภทจัดว่าเป็น bug ของเครื่อง

NEC TOKIN คืออะไร

ตอบกันตรงๆ เลยนะ NEC  TOKIN ก็คือบริษัทผู้ผลิต อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายๆชนิด และรวมถึงเจ้า Capacitor ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้ด้วยนะครับ

ดูได้ที่เว๊ปของเขาเลยครับที่http://www.nec-tokin.co.th หรือ http://www.nec-tokin.com/english

Capacitor ที่ผลิตโดย NEC  TOKIN มีชนิดไหนบ้าง ?

คราวนี้เรามาพูดถึง Capacitor ที่เป็นแบบ Proadlizer กันครับ

  • Proadlizer Capacitor (อ่านว่า พรอด ไล เซอร์) ถูกผลิตมาจาก บริษัท NEC TOKIN  เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุ  คายประจุไฟฟ้า (condensor ,capacitor หรือ C หรือ ตัวเก็บประจุ คืออุปกรณ์ตัวเดียวกันนะครับ อย่าสับสน ) เจ้า C นี้จะทำหน้าเพื่อให้กระแสไฟมีความเรียบ ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆที่อาจจะแฝงไปกับกระแสไฟ และผ่านเข้าสู่การทำงานของวงจรต่างๆ  ซึ่งถ้ากระแสไฟไม่เรียบ อาจทำให้การทำงานของวงจรต่างๆ เกิดอาการ ปัญหา ต่างๆ โดยเฉพาะด้านระบบไฟ

คุณสมบัติตามที่ NEC TOKIN เขากล่าวไว้ มีดังนี้ครับ

  1. เป็นการใช้ตัวเก็บประจุหลายๆตัวบรรจุอยู่ภายใน Packkete เดียวกันเลย ทำเป็นเหมือน Chip ตัวหนึ่งนั่นเอง สะดวกต่อการติดตั้ง ซ่อม แก้ไขปัญหา
    • มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการ ในการทำงานที่ความเร็วสูงๆของ CPU
    • คุณสมบัติในการการป้องกันการรบกวน เพื่อให้ CPU ทำการประมวลผลได้อย่างปราศจากสิ่งรบกวน
    • คุณสมบัติในการติดตั้ง แก้ไข ที่สะดวกกว่าการที่จะต้องบัดกรี capacitor ลงไปทีละตัว (รวม 30 กว่าตัวครับ) แต่ถ้าเป็น   Prodlizer capacitor  ของ NEC  TOKIN  จะช่วยให้การทำงานเหล่านั้นง่ายมากขึ้น

จริงๆแล้ว หากไม่ใช้ C ชนิดนี้จาก NEC  Tokin เราจะต้องใช้ C ตัวเล็กๆ วางใต้ฐาน CPU รวมแล้วประมาณ 30 กว่าตัวครับ

ก่อนจะมาเป็น Proadlizer Capacitor

  • เขาบอกว่า เดิมทีนั้น CPU จะต้องมีชุดกรองกระแส (Filter) ให้เรียบ โดยมีค่าความจุของ C ที่จะนำมาขนานกัน โดยมีความจุตัวละประมาณ 10 uF เมื่อนำมาขนานกัน จะทำให้ C มีความจุเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 1000 uF ได้เลยครับ (ตามคุณสมบัติและการคำนวณค่า  C เมื่อมีการต่อแบบขนาน)
  • ดังนั้น เวลาที่มันเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟที่ไปหล่อเลี้ยง CPU   ในเรื่องของการกรองกระแส หรือการฟิลเตอร์ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยง ซ๊พียู มีความเรียบที่สุดนั้น   การแก้ไขปัญหาจึงต้องมองที่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นั้น ซึ่งก็คือ C ประมาณ 30 กว่าตัว ใต้ฐาน CPU หรือบางยี่ห้อ บางรุ่น ก็อยู่ทั้งบนฐาน และใต้ฐานซีพียู ก็มีครับ

IMG_20130905_222931

รูปด้านบนเป็นการนำ C หลายๆตัวมาขนานกันเพื่อให้ได้ความจุเพิ่มขึ้น

443

รูปด้านบนเป็นการนำ C แบบ Prodlizer ของ NEC  Tokin เข้ามาแทนเพียงตัวเดียว

  • จำไว้ว่า การต่อ C ใช้งานนั้น ถ้าต่อแบบขนาน คือ นำขั้วบวกของแต่ละตัวต่อถึงกัน  ขั้วลบของแต่ละตัวต่อถึงกัน  จะทำให้ได้ความจุของ C เพิ่มขึ้น
  • C ที่มีความจุต่ำ  จุกระแสได้น้อยกว่า แต่จะทำงานได้เร็วมากกว่า เพราะการประจุ และการคายประจุ ภายในตัว  C จะเกิดขึ้นได้เร็ว   วงจรก็จะนำไปใช้ได้เร็วกว่าด้วย  เราเรียกมันเป็นประเภท Fast Speed
  • C ที่มีความจุสูง จุกระแสได้มากกว่า แต่จะทำงานได้ช้ากว่า  เพราะกว่าจะประจุเต็ม ก็ใช้เวลาไปมากแล้ว

ค่าเวลาที่เราพูดถึง  มันใช้กันเป็น nano sec. (หนึ่งในล้านของวินาที) นะครับ  ไม่ใช่เป็น second (วินาที) เดียวนะครับ

ภาพถ่ายจริงจากการเสียบอะแดปเตอร์ใช้งานสำหรับโน๊ตบุ๊คโตชิบาที่ทำให้เกิดภาพลาย

คราวนี้ ถ้ามันเสีย หรือค่าลด หรือเสื่อม จะเกิดปัญหาใดขึ้นได้บ้าง

  • เมื่อ C Proadlizer ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟที่จะเป็นเลี้ยง CPU ให้เรียบ นิ่ง  นั้น  เมื่อมันมีการใช้ไปนานๆ ก็จะเกิดปัญหาในเรื่องของการเสื่อมค่า  ความจุอาจลดค่า (ถ้ามองแบบ C อิเล็คโตไลท์ ที่มีการบวมเกิดขึ้น) การประจุ และคายประจุ ตามคุณสมบัติของ C ก็จะทำได้ไม่ดี (ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม) ความสามารถที่เคยทำได้ถึง 100 % อาจลดลงเหลือสัก 85 % จึงทำให้เกิดความผิดพลาดในการเก็บประจุ คายประจุ  ทำให้กระแสไฟที่ไปเลี้ยง CPU ไม่เรียบ หรือ นิ่งพอ  เมื่อ CPU ทำงานในช่วงที่ต้องใช้กระแสสูงๆ(กระแสสูง กำลังไฟก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย)  ทำให้ C ต้องทำหน้าที่หนักตาม  และเมื่อมันทำได้ไม่เต็มที  จึงเกิดอาการต่างๆ ในเรื่องของระบบไฟ ที่โน๊ตบุ๊ค หลายๆ ยี่ห้อ (โดยเฉพาะ โตชิบา เขาเจอๆกัน)

มีอาการอะไร ที่เขาเจอกันในโน๊ตบุ๊ค และเป็นผลจาก C  ชนิด Ploadlizer ของ  NEC Tokin

อาการที่เกิดขึ้น อาทิ เช่น

  • ใช้แบตเตอรี่เท่านั้นในการเปิดเครื่อง  จากนั้น หากมีการเสียบ Adaptor เข้าไป จะทำให้โน๊ตบุ๊คดับไปเลยก็มี
  • ใช้แบตเตอรี่ในการเปิดเครื่องใช้งานปรกติ  แต่เมื่อเสียบ Adaptor เข้าไป จอภาพจะลายทันที
  • เข้าสู่โปรแกรมวินโดว์ไม่ได้  มีการค้างที่หน้าจอก่อนเข้าวินโดว์

Thank you..

http://www.nec-tokin.com/english
ขอบคุณบทความจาก  http://somdai.com

เรียนอิเล็คทรอนิคส์ : การเกิดของกระแสไฟ,กระแสะไฟคืออะไร

$
0
0

บทเรียนที่1. การเกิดกระแสไฟฟ้า

  • ความรู้พื้่นฐานการนำท่านไปสู่การเป็นช่างนั้น  จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงทฤษฎีการเกิดกระแสไฟฟ้ากันก่อนครับ  เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจ”ตกม้าตาย” หมายถึงว่า ช่างคนนั้นๆดูเก่งเหลือเกิน  แต่ในเชิงทฤษฎีนั้น เขาไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ตรงนั้นได้  เพียงแต่เขายังไม่รู้ถึงสิ่งที่เรากำลังพูดว่า พื้นฐาน หรือภาษาอังกฤษเรียก “basic”

การเกิดกระแสไฟฟ้า

  • จากความรู้ที่เราและท่านได้เรียนรู้หรือได้ทราบกันมา  เราทราบกันดีว่า  ในอดีตนั้น ซึ่งอยู่ประมาณปี ค.ศ.1600 (พ.ศ.2143) ด.ร.วิลเลี่ยม กิลเบิร์ดได้นำแท่งอำพัน มาถูกับขนสัตว์  ทำให้แท่งอำพันมีความสามารถในการดูดวัตถุเล็ก เช่นเศษกระดาษ เศษผม ได้   ท่านวิลเลี่ยม จึงได้ให้ชื่ออำนาจที่แฝงในแท่งอำพันนั้นว่า “อิเล็คตรอน” Electron หรืออำนาจของประจุไฟฟ้านั่นเอง

เมื่อภายในอะตอมเกิดการเสียสมดุลย์ จะทำให้เกิดการไหลของกระแสอิเล็คตรอน

  • อิเล็คตรอน (ประจุไฟฟ้าลบ) โปรตรอน(ประจุไฟฟ้าบวก)  และนิวตรอน (เป็นกลาง)จะรวมอยู่ในอะตอมของสะสารทุกชนิด ซึ่งรวมกันเป็นนิวเคลียส (nucleus)  จำนวนของอิเล็คตรอนและจำนวนโปรตรอนใน 1อะตอมจะมีปริมาณที่ไม่เท่ากัน   การอยู่กันของอิเล็คตรอนและโปรตรอนจะอยู่กันในลักษณะการดึงดูดซึ่งกันและกัน (เรียกว่ามีสมดุลย์ซึ่งกันและกัน)
  • ที่นี้  ถ้ามีการกระทำจากแรงภายนอก  ซึ่งก็เป็นเหมือนกรณีที่ ด.ร.วิลเลี่ยม แกเอาแท่งอำพันไปถูกับขนสัตว์  (ประมาณนั้น)  การทำแบบนี้จะทำให้อิเล็คตรอนที่อยู่ชั้นนอกที่สุดหลุดวงโคจร  ซึ่งถูกเรียกเป็น “Free Electron” หรือก็คือ อิเล็คตรอนอิสระนั่นเอง  เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว  ในอะตอมก็จะเกิดการเสียสมดุลย์เกิดขึ้น เพราะว่าจำนวนอิเล็คตรอนกับโปรตรอนจะไม่เท่ากัน  โปรตรอนก็จะทำการดึงดูดอิเล็คตรอนที่อยู่ข้างๆมาแทนที  เพื่อรักษาสมดุลย์ของตนเองไว้  ซึ่งลักษณะที่เกิดเช่นนี้  เราจะถือว่ามีการเคลื่อนตัวของอิเล็คตรอน ซึ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า การเกิดกระแสอิเล็คตรอนนั่นเอง

คำศัพท์ เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า

  • แรงไฟ (มีหน่วยเป็น โวลท์  หรือ V.) เราอาจจรู้จักในคำว่า แรงเคลื่อน แรงดันไฟ ความต่างศักย์ เหล่านี้ ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน  ก็คือ แรงที่จะนำพาให้กระแสไปไปเลี้ยงวงจรนั่นเอง
  • กระแสไฟ (มีหน่วยเป็น แอมแปร์ หรือ Amp) เป็นสิ่งที่ทำให้วงจรต่างๆ ทำงานได้ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรต้องการกระแสไฟ  แต่กระแสไฟจะต้องถูกแรงเคลื่อนไฟนำพาไปในตัวนำไฟฟ้านั่นเองครับ
  • กำลังไฟ (มีหน่วยเป็น วัตต์ หรือ Watt) เป็นสิ่งที่บอกถึงความสามารถในการทำงานของวงจร หรืออุปกรณ์นั้นๆ นั่นหมายถึงว่า เมื่อวงจรทำงาน จะดึงกระแสไฟมาใช้ เมื่อมีการดึงกระแสไฟมาทำงาน ยิ่งวงจรทำงานหนักขึ้นก็จะดึงกระแสเข้ามาเสริมมากขึ้นตาม  เมื่อกระแสถูกดึงมาใช้มาก  ก็จะเกิดความสิ้นเปลืองของกระแสมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เราจะถือว่าเป็นกำลังไฟที่ถูกใช้ไปใน 1 ชั่วโมงนะครับ
  • ตัวนำทางไฟฟ้า หมายถึงวัสดุที่มีความต้านทานต่ำมากๆ จึงทำให้กระแสไฟสามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านวัสดุนั้นไปได้ง่าย ตัวนำชนิดนี้เช่น  เหล็ก ทองแดง หรือโลหะทุกทชนิด เป็นต้น
  • ฉนวนทางไฟฟ้า หมายถึงวัสดุที่มีความต้านทานสูงมากๆ จึงทำให้กระแสไฟไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านวัสดุนั้นไปได้ง่ายๆ นั่นเอง วัสดุชนิดนี้เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง ไม้แห้ง ฯลฯ ที่ไม่อยู่ในความชื้นครับ

 

คำถามท้่ายบท

  • เข้าใจว่ายังไงครับ…ระหว่าง อะตอม กับ นิวเคลียส ?
  • ตอบกันได้ไม๊ครับว่า…กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร   ?
  • ทราบกันหรือยังครับว่า  อิเล็คตรอนเป็นประจุบวก หรือลบ ?
  • ตกลงว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรอิเล็คทรอนิคส์เป็นกระแสอิเล็คตรอน หรือกระแสโปรตรอน ?

 


เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : ขดลวดทองแดงที่อยู่ในภาคไฟของโน๊ตบุ๊ค ผ่าดูภายใน???

$
0
0
  • เคยสงสัยกันบ้างไม๊ครับ  ทุกท่านที่เอาแต่ซ่อม น้องๆช่างใหม่ทุกท่าน ได้ค่อยมีเวลาที่จะอยากรู้อยากเห็นอะไรแบบผมบ้างหรือเปล่า  แต่ถ้าไม่มีเวลาหละก้อ  แวะมาดูกันตรงนี้ชัดๆ ว่าใน Coil หรือเจ้า L ที่ใช้อยู่ในระบบภาคไฟของโน๊ตบุ๊คนั้น โครงสร้างภายในจะเป็นเช่นไร
  • Coil ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค จะเป็นแบบแกนอากาศ ครับ  คือพันรอบตัวเองแบบในรูปด้านล่างนี้  ทำหน้าที่ร่วมกับ Mosfet เป็นแบบวงจรสวิชชิ่งความถี่สูงcoil-all-300x230
  • ผู้เขียนได้ถ่ายจากบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค และได้แกะออกให้ดูโครงสร้างภายใน  เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เรียนรู้นะครับ

Coil

  • ส่วนกรณีของคอลย์ประเภทที่มีการพันรอบแกน ส่วนใหญ่จะใช้ในวงจรภาคไฟ  ที่ถูกนำไปทำหน้าที่ในการฟิลเตอร์(Filter)ความถี่สูงมากกว่าครับ เราจะเรียกคอลย์ประเภทนี้ว่า “โช๊ค”
  • จากรูปด้านล่างนี้ รูปแรก,รูปที่สองและรูปที่สี่ จะเป็นคอลย์ที่พันแบบไม่มีแกนใช้ในเมนบอร์ดพีซี ส่วนรูปที่สามเป็นคอลย์ที่นำไปใช้ในวงจรสวิชชิ่งของโน๊ตบุ๊ค
  • การที่จะบอกว่านำคอลย์ไปใช้ทำหน้าที่อะไรนั้น  คงต้องดูลักษณะของการต่อวงจร หรือนำคอลย์นั้นไปต่อใช้งานครับ  ซึ่งหากได้นำคอลย์ไปต่อให้ไฟไหลผ่านโดยไม่มีการทำงานร่วมกับทรานซิสเตอร์ หรือมอสเฟต  ส่วนใหญ่จะเป็นการทำฟิลเตอร์ความถี่สูง เพื่อไม่ให้มีสัญญาณความถี่สูงไปรบกวนการทำงานในกระแสไฟนะครับ
  • แต่ถ้ามีการนำคอลย์ไปต่อให้กระแสไฟไหลผ่าน และมีการทำงานร่วมกับ ทรานซิสเตอร์และหรือมอสเฟตแล้วหละก้อ  นั่นหมายถึงเป็นการนำคอลย์ไปทำหน้าที่เป็นวงจรในสวิชชิ่งของระบบไฟ เพื่อจ่ายให้แก่วงจรนั่นเองครับ

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : การวางไอซีพลั้น (PWM)

$
0
0
  • ความสำเร็จของการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  จะต้องมีทักษะที่ดี และมีความรอบครอบ ความละเอียดต่องาน ไม่งั้นแล้ว จะทำให้บอร์ดของลูกค้าเกิดความเสียหายอย่างมาก  จนอาจนำไปสู่การไม่สามารถจะซ่อมให้กลับมาได้อีก (ทั้งๆ ที่ควรจะจบได้อย่างสวยงาม)
  • เพื่อนๆสมาชิก www.repair-notebook.com ที่ให้ความสนใจในบทความทุกท่าน  ในวันนี้  จะขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับการวางไอซีพลั้น ไอซีภาคไฟที่มีขาหลายๆ

 

RP-0451

RP-0448

  • จากรูปด้านบนนี้  จะเป็นส่วนของไอซีพลั้น ไอซีภาคไฟ ที่ถูกวางไว้ด้วยลมร้อนไปแล้ว    หลายๆ คนอาจจะไม่สนใจรายละเอียดของขาต่างๆ หลังวางด้วยลมร้อน  ก็จะทำการทำความสะอาดด้วยทินเนอร์หรือโซเว้นท์  จากนั้นก็จะต่อไฟเข้าวงจร แล้วก็จะลุ้นผล
  • สำหรับช่างใหม่ ทักษะน้อย  จะเจอดีหละ..อาจควันขึ้น ไอซีไหม้เลยก็เป็นได้ครับ  ทักษะและประสพกราณ์  สำคัญครับ   (แต่ถ้าอ่านจากบทความนี้ก็เท่ากับได้รับประสพการณ์ไปเต็มๆเลยหละ)

RP-0447

 

  • ส่วนเทคนิคในการดูแลเรื่องขาของไอซีพลั้นที่เราวางลงไปแล้วนั้น  ก็คือ ให้เราฟลั๊กทาที่ขารอบๆตัวไอซี จากนั้นให้ใช้หัวแร้งปลายแหลมเล็ก ค่อยๆ ลากผ่านขาทีละขาทั้งหมด ทีละฝั่ง    แล้วตรวจด้วยแว่นขยาย  เพื่อดูว่า ขามีการเชื่อมติดกับปริ้นทุกขาแล้ว  แค่นี้ ก็จะทำให้ไอซีที่เราวางไปมีความสมบูรณ์ของขา  และถ้าทำตามนี้แล้ว  โดยภาครวมจะไม่ค่อยเกิดการไหม้ที่ตัวไอซีอีก

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : การจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

$
0
0

Somdai.com+Repair-notebook.com เป็นเว๊ปเดียวกันนะครับ

  •  บทเรียนนี้ผู้เขียนเพียงต้องการสื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงลักษณะการจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆที่มีอยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ไม่ว่าจะเป็นไฟเลี้ยงแสตนบาย 3.3 /5  ไฟเลี้ยงแรม 1.8/2.5/1.5 ไฟเลี้ยง CPU 1.5 V. ก็ตาม  จะเห็นว่ามีองค์ประกอบด้านการวางอปกรณ์เหมือนๆกันแทบทั้งสิ้น  มันเป็นอย่างไรกัน  เรามาลองคำอธิบายดังต่อไปนี้ครับ
  • จากรูปถ่ายจริง บนเมนบอร์ดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งผมมองดูแล้วว่า ครอบคลุมแล้ว และผมก็ได้จัดกลุ่มของการจัดวงจรไว้แล้วด้วยกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง เราจะเห็นว่ามันมีทั้งหมดสองชุดด้วยกัน  ทีนี้มันจะมีไฟเลี้ยงออกไปเลี้ยงวงจรกันเท่าไหร่  ถ้าเราไม่มีวงจรดู เราก็ต้องวัดแรงไฟที่ตรงคลอย์ (Coil) หรือตรงขั้วบวกของ Condensor ก็จะได้แรงไฟออกมานะครับ

VoltRAM1

ขออธิบายการทำงานของวงจรจาก Schematic ของรูปด้านบนนี้ครับ

  • จาก รูปผมขออธิบายดังนี้ก็คือ  วงจรภาคไฟที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คนั้น   ซึ่งได้มาจาก การทำงานของ IC Pulse (IC สร้างความถี่พลั้น (Pulse) ที่จะสร้างความออกไปไบอัสที่ขา gate ของ mosfet, Mosfet transistor และ Coil+Condensor ทำหน้าที่เป็นวงจร Filter อีกทั้งมี Zener Diode คอยป้องกันแรงไฟไม่ให้ไหลเกิน เพื่อให้วงจรไม่เสียหาย

ทีนี้เวลามันทำงาน มันมีวิธีการอย่างไร เรามาดูกันนะครับ

  • พลั้นซ์(Pluse)ความถี่ที่เป็น Hi จากIC ขาที่ 26 ผ่านเข้าขา gate ของ Q1 ทำให้ Q1นำกระแสไฟไหลผ่านไปยัง Coil โดยมี D1 ซีเนอร์ไดโอดควบคุมระดับแรงไฟให้คงที่ และผ่านไปยัง C3 (condensor ) เพื่อ ประจุกระแสไฟเก็บไว้ รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นวงจร filter กระแสไฟให้เรียบนิ่ง ไม่มี Noise (สัญญาณรบกวน)
  • จากนั้นเมื่อความถี่เป็น Low จากขา 27 ของ IC  PWM  ก็จะทำให้ mosfet ตัวที่สอง Q2 นำกระแสได้ ก็จะดึงไฟที่ประจุใน C3 ให้ไหลผ่านลงกราวด เพื่อให้ครบวงจร

ใน 1 cycle  ก็คือ การทำงานของความถี่หลายๆครั้งใน 1วินาทีนั่นเองครับ เช่นความถี่ Hi, Lo ทำงานสลับกัน 50 ครั้งใน1วินาที เป็นต้น)

ซึ่งผู้เขียนจะเน้นให้ท่านจับจุดมันให้เจอว่า…จริงๆแล้วภาคไฟไม่มีอะไรที่ยุ่งยากมากนัก(แต่ถ้าเข้าใจได้ดี การซ่อมภาคไฟก็กินเปอร์เซ็นต์การซ่อมไปมากส่วนแล้วบนเมนบอร์ด)

max8743

การจัดวางวงจร

  • IC Pulse (ในตัวอย่างวงจรในรูปด้านบนนี้ คือเบอร์ Max 8743) จะทำหน้าที่สร้าง Pulse หรือก็คือจังหวะการทำงานของสัญญาณ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของ Mosfet ให้ on  off ตามจังหวะที่ได้รับมา  ออกไปเป็นแรงไฟตามที่ต้องการตามสเป็คของ IC Pulse นั้นๆ  แต่การทำงานของวงจรจะสมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ว่า IC Pulse ตัวเดียวแล้วได้แรงไฟที่ต้องการเลยนะครับ  Mosfet อีก 2 ตัว ในวงจร จะทำงานในสภาวะที่แตกต่างกันของ Pulse ที่ออกมาจาก IC ในจังหวะ HI , และ LO
  • mosfet ตัวที่หนึ่ง Q1 (ในวงจรรูปทางด้านบนนี้  มันจะอยู่ทางด้านซ้าย  ตรงที่ขา 26ของ IC ป้อนสัญญาณไปนั่นแหละครับ) Mosfet Q1 จะมีแรงไฟมาเลี้ยงรอไว้แล้วนะครับ  รอไว้ที่ไหน  ตอบ รอไว้ที่ขา Drain ของ Q1 นั่นเอง (ขาDrain ของ Q1 ตัวนี้ในวงจร ก็คือขาที่ต่อมาจากขา4ของ IC ซึ่งก็จะมีไฟเลี้ยงได้ตั้งแต่ 7 – 24โวลท์ (ส่วนใหญ่จะมีประมาณเท่ากับแหล่งจ่าย  แต่จากในวงจรด้านล่างนี้  เขากำหนดให้อยู่ระหว่าง 7-24 โวลท์ นั่นแสดงว่า IC Max 8743 ตัวนี้ รองรับแรงไฟได้ตั้งแต่ 7 – 24 โวลท์  ซึ่งจะทำให้ IC ยังสามารถทำงานได้นะครับ)
  • ที่นี้หากท่านได้เห็น Q1 แล้วสังเกตุให้ดี จะเห็นว่า Q1 จะมีการต่อแบบอนุกรมกับ Q2 โดยขา Source ของ Q1 จะต่อร่วมกับขา Drain ของ Q2 และขา Sorce ของ Q2 จะต่อเข้ากับขา 28 และใช้ R1 ต่อลงกราวด์ของวงจรนะครับ
  • Coil 2.2 uH จะต่ออยู่ระหว่าง Q1 กับ Q2 ซึ่งมี D1 ทำหน้าที่ควบคุมระดับแรงไฟอีกที (เป็นเสมือน Protec นั่นเองครับ)  C3 ความจุ 470 uF จำนวน 3 ตัว(ตามวงจรนะครับ) ทำหน้าที่ Filter กระแสไฟหลังผ่าน Coil เพื่อให้เรียบพร้อมใช้งาน (ซึ่งจะมองกันเป็นวงจร Low pass Filter )

รูปการต่อ L, C เป็นวงจร Low pass Filter

  • วงจร low pass filter มีลักษณะการต่อคือ ใช้ L (คอลย์) อนุกรมกับวงจร และ C (Condensor) ขนานกับวงจร คุณสมบัติของวงจรก็คือ เมื่อเราป้อนความถี่ ต่ำเข้าวงจร L จะมีค่า XL ต่ำ C จะมีค่า XC สูง ทำให้ความถี่ ต่ำผ่าน L ได้สะดวก ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้มาก แต่เมื่อความถี่สูงกว่าจุดที่กำหนด ค่า XL จะมากขึ้น ค่า XC จะลดลง ทำให้ความถี่ ผ่านขดลวดได้ลดลง บางส่วนที่ผ่านไปได้ก็จะถูก C ดึงลงกราวด์ ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้น้อยมาก

สรุปการเรียนในบทนี้

  • องค์ประกอบในชุดภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง
  • ท่านตอบได้หรือยังว่า ระหว่าง mosfet สองตัว Q1,Q2 ตัวไหนทำงานก่อนกัน  มีเหตุผลใดมาอธิบาย
  • PWM มาจากคำเต็มว่าอะไร
  • Condensor ในวงจรนี้ทำหน้าอะไร
  • Zener Diode ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร
  • Mosfet ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร

ทิป

การหาภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ให้สังเกตุ Coil ก่อน  ที่ไหนมีคอลย์ ก็จะต้องมี mosfet อยู่ใกล้ๆ ไม่หนึ่งตัว ก็สองตัว ไม่สองตัว ก็สาม ไม่สาม ก็สี่ มันแล้วแต่การจัดวงจร และโหลดที่ทำงานต้องการกระแสไฟมากน้อยแค่ไหนด้วยนะครับ

ต้องการเรียนเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ www.repair-notebook.com คลิ๊กติดต่อลงทะเบียนได้เลยที่นี่นะครับ

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า เจอสองเด้ง…

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก และท่านผู้สนใจในความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกๆท่าน   วันนี้ www.repair-notebook.com ได้เปิดคลังความรู้ให้ผู้สนใจทุกท่านได้เรียนรู้เป็นแนวทางและนำไปสู่การต่อยอดในการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเป็นอาชีพ กันต่อไปครับ
  • หัวข้อของบทความในครั้งนี้ ได้เขียนไว้ว่า “อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า  เจอสองเด้ง”  มันเป็นยังไง ลองมาอ่านบทความกันดูนะครับ
  • Mainboard Acer 4750G ของลูกค้าที่เป็นร้านซ่อมคอมฯ แต่ได้ส่งงจากหาดใหญ่ให้ทาง www.repair-notebook.com เป็นผู้ซ่อมให้ประจำกันนั้น  มีอาการในการส่งมาครั้งแรกในเดือน 6/2558 ด้วยอาการเปิดไม่ติด

Dcin-4750G

  • 4750-1แนวทางในการตรวจเช็ค ก็มุ่งเน้นไปที่กรณีเปิดไม่ติดนั้น เพราะว่าไฟ 19 โวลท์ จาก อะแดปเตอร์ไม่สามารถผ่านเข้าบอร์ดได้  ก็เลยตรวจเช็คไปเจอตัว Zener Diode ที่หลังคอนเน็คเตอร์ของ DC in เกิดช้อต  ก็ทำให้งานซ่อมนี้จบไปด้วยเวลาเพียง 5 นาที  จากนั้นก็ทำการส่งกลับไปยังหาดใหญ่
  • หลังจากนั้นต่อมา ประมาณ 15 วันเห็นจะได้  เครื่องนี้ก็ถูกส่งมาให้ซ่อมซ้ำอาการเดิมอีก  ทาง www.repair-notebook.com ก็เลยต้องขออะแดปเตอร์ของลูกค้ามาด้วย เพื่อจะได้ตรวจเช็คว่า อะแดปเตอร์มีแรงดันไฟคงที่ หรือสวิงเปลี่ยนแปลงตลอดหรือไม่
  • เมื่อได้รับบอร์ดและอะแดปเตอร์เข้ามาแล้ว ก็ทำการตรวจเช็คอะแดปเตอร์เพื่อดูแรงดันไฟฟ้าของอะแดปเตอร์ตัวของลูกค้าก่อน ผลก็คือ เป็นแรงไฟที่ระดับ 19 โวลท์ โดยประมาณ ไม่สวิง(ใช้ ย่าน AC เช็คความถี่

  • การดำเนินการตรวจซ่อมเครื่อง ซ่อมซ้ำอาการเดิม ได้เริ่มต้นด้วยการจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องตรงช่องทางเข้าปรกติ  และดำเนินการวัดแรงไฟที่จ่ายเข้าสู่วงจร  อั่นแน่…ไม่เป็นการช้อตแบบครั้งแรกที่ซ่อมไปนี่…คราวนี้ เลยต้องไปเช็คไฟ 3.3/5 โวลท์ที่ตำแหน่งชุดไฟนี้

4750-3   4750-5

  • หายครับ  ไฟ 3.3/5 โวลท์ ปรกติต้องมีก่อนเลยในรุ่นนี้  มันหายไปหมด ครับ  วัดที่ขาไฟตามตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ขา 16 ไฟเลี้ยงวงจร , ขา 17 ไฟ 5V.reg, ขา 2 ไฟ REF 2V. ขา 8 ไฟ 3.3 V.reg ,ขา 13 ไฟ En  และก็ได้ข้อสรุปว่า ต้องเปลี่ยน PWM ชุดนี้  หลังเปลี่ยนเสร็จก็ได้ไฟ 3.3 – 5 V. มาเป็นปรกติ  แต่ บอร์ดทำงานเองเลย และกินกระแส 0.3 Amp. ซึ่งควรจะเป็น 0.01 Amp(ขณะที่ยังไม่กดสวิทช์ออน)
  • เลยพิจารณาถึงว่ามีวงจรที่เกิดการช้อตหละ…ผลสุดท้ายก็ไปพบว่า ชุดไฟ Vcore ของ CPU มี IC PWM ภาคไฟ ร้อนมากๆ เลยต้องถอดออกและตรวจเช็ค Fet และ RCL รอบข้างของ PWM นี้ด้วย เพื่อดูว่ามีตัวไหนช้อต หรือขาดเพิ่มเติมไม๊  และผลสุดท้ายก็เปลี่ยนเสร็จ ก็จบงานได้หละครับ

4750-3

ภาพด้านบนนี้เป็นภาพของ IC ภาคไฟของ Vcore (ไฟเลี้ยง CPU) รวมถึง Mosfet และ C ที่ถอดออกมาพื่อตรวจดู ดี เสีย

4750-2

ภาพด้านบนนี้ เป็นตำแหน่งของ IC Vcore ที่ถูกถอดออกเพราะตัว IC มีความร้อนสูง เนื่องจากช้อตภายในตัวของมันเอง

20150610_214428ภาพด้านบนนี้ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่า หลังจากได้เปลี่ยน IC Vcore ภาคไฟ CPU ที่ช้อต แล้ว เครื่องก็สามารถเปิดติด มีภาพได้นั่นเอง

  • โดยบทสรุปของการซ่อม แสดงให้เห็นว่า เราอาจจมองไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจนมากนัก  ของอาการที่จะเกิดขึ้นต่อไป  การซ่อม ในเฉพาะปัจจุบันให้เกิด และทดสอบให้ผ่าน และดูโดยรวมของเครื่อง ก็ถือเป็นความละเอียดรอบคอบของผู้เป็นช่างนั้นๆ แล้ว   ส่วนเมื่อส่งเครื่องกลับสู่ลูกค้าแล้ว จะเกิดอาการในลักษณะเดิม หรืออาการใหม่ เราก็ใช้สิทธิการให้ประกันแก่ลูกค้ามาดำเนินการแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้านั้นๆ เป็นเคสๆ ไป  ครับ  การที่เราจะซ่อมเครื่องด้วยอาการหนึ่งและจะไม่ให้เกิดอีกอาการใดๆ ต่อไปในช่วงรับประกัน หรือนอกประกันไปแล้วก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้อย่างแน่นอนครับ  เพราะด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ เรื่องด้วยกันครับ

**สนใจเรียนซ่อม, หรือส่งงานซ่อม กับทีมงาน www.repair-notebook.com สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH/notifications/ ซ่อมด้วยหลักการและด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพ 

เรียนซ่อมบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : อาการเปิดไม่ติด ปิดไม่ได้ กดสวิชท์เครื่องไม่ทำงานเลย Asus X44H

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและท่านผู้สนใจในบทความทุกท่าน  การเป็นช่างซ่อมที่ดีนอกจากจะต้องมีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและมประสพกราณ์ในงานที่มากแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้จักคำว่า จรรยาบรรณของการเป็นช่างด้วยนะ  เพราะจะทำให้ร้านของท่านเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ใช้บริการ ว่าเป็นร้านที่ดี ดี๊ ดี..ซ่อมเก่ง แถมทำงานเรียบร้อย ไม่สับเปลี่ยนอะไหล่โดยไม่แจ้งลูกค้าให้ทราบถึงเหตุผลของการสับเปลี่ยน  ทั้งๆ ที่ทางร้านนั้นทำเพื่อประโยชน์ของคุณลูกค้าก็ตาม
  • เอ้..วันนี้ทำไม www.repair-notebook.com จึงเกริ่นหัวเป็นเรื่องจรรยาบรรณหละ เห็นเขียนอาการไว้ ว่า“เปิดไม่ติด กดสวิชท์เครื่องไม่ทำงานเลย Asus X43H” มันคนละเรื่องแล้ว..555
  • ไม่ผิดหัวข้อหรอกครับในวันนี้   เพราะสิ่งที่จะนำมาแนะนำในวันนี้จะเป็นเรื่องของคำว่าจรรยาบรรณมาเกี่ยวข้องจริงๆ ครับ
  • ลูกค้าจาก จังหวัดเพชรบุรี ได้ส่งเครื่องให้ทาง repair-notebook.com รับซ่อม เป็นเครื่อง Asus รุ่น X43H แท่นเครื่อง K43L(ไม่มี VGA ,HDMI) ถ้า K43LY (มี VGA,HDMI)  อาการที่ส่งมาให้ซ่อมก็คือ  “เปิดไม่ติด ปิดไม่ได้” 
  • ลักษณะของอาการเป็นยังไงหละ… กล่าวคือ เครื่องนี้  ถ้าจะใช้งานจะต้อง ดึงสายชาร์จแบตตออกก่อน  แล้วจึงเสียบเข้าไปใหม่  เครื่องถึงจะติด มีภาพ ทำงานได้ตามปรกติ , ถ้ามีการใช้แบตอย่างเดียว  ก็จะต้องดึงแบตออก แล้วเสียบเข้าไปใหม่ เครื่องจึงจะทำงานมีภาพ ใช้งานได้ตามปรกติเช่นกัน   ลูกค้าแจ้งว่า อาการนี้เกิดขึ้นหลังจากส่งไปซ่อมที่ร้านซ่อมในกรุงเทพ และก็ได้อาการนี้กลับมา

 

20150723_063741

 

  • ทางร้านเดิมได้ทำการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าที่เปิดไม่ติด  ด้วยการถอด ถ่าน CMOS ออก แล้วก็บอกลูกค้าว่า เวลาจะใช้ก็ให้เสียบสายชาร์จเข้าไปเครื่องจึงจะทำงานได้  ลูกค้าก็ใช้อยู่สักระยะหนึ่ง  จึงตัดสินใจส่งซ่อมที่ Repair-notebook.com  และเราก็แจ้งในสิ่งที่ลูกค้าได้ถูกร้านซ่อมเดิมทำไว้ คือ”การถอดถ่าน CMOS ออก เพื่อให้เครื่องทำงานได้เอง โดยไม่ต้องกด Power Switch  “ตรงนี้แหละที่เราพูดถึงคำว่า จรรยาบรรณ ช่าง”

*******************************************************************

ลูกค้าส่งให้ทาง repair-notebook ซ่อมด้วยอาการว่า ถ้าจะใช้เครื่องจะต้องเสียบสายชาร์จเข้าไป เครื่องถึงจะทำงานได้ (ถ้าสายชาร์จถูกเสียบอยู่ก่อน จะกด Power On Switch) เพื่อเปิดเครื่องไม่ได้   ถ้าจะให้เครื่องทำงานจะต้อง ถอดสายชาร์จออกแล้วเสียบเข้าไป)

  • คราวนี้มาเข้าบทความรู้ที่เราจะแนะนำให้สำหรับรุ่นนี้กัน  Asus K43,K43Y บอร์ดรุ่นนี้  เวลาที่เราทำการถอด CMOS Battery หรือถ่าน CMOS ออกนั้น  หากเราได้เสียบสายชาร์จเข้าเครื่่อง หรือ เสียบก้อนแบตเข้าเครื่อง  เครื่องจะทำงานได้เอง  แต่แน่นอนว่า วัน เวลา จะไม่มีการตรง หรือเป็นปัจจุบันอย่างแน่นอน  นอกเสียจากเราต้องไปตั้งค่าของ วัน เวลา ใหม่ทุกครั้ง   และเครื่องรุ่นนี้  ชุด ไฟ3.3/ 5 โวลท์ ก็จะเกิดขึ้นทันที หลังจากเสียบสายชาร์จเข้าเครื่อง  อีกเรื่องนึง  บอร์ดรุ่นนี้ สามารถทดสอบด้วยจอนอกได้ โดยไม่จำเป็นต้องต่อจอใน(หากทดสอบเรื่องการเกิดภาพในเบื้องต้น)
  • สิ่งที่ตรวจพบจากการแกะเครื่องลูกค้าเจ้านี้มา ก็คือ RTC Batt ก้อนกลมๆ CR2032 หายไป  อ้อ…เข้าใจหละ  ทางร้านเอาออกไป เพื่อให้เครื่องทำงานได้เอง เพราะทางร้านไม่สามารถหาสาเหตุของการที่กดสวิทช์ให้เครื่องทำงานไม่ได้นั่นเอง

แนวทางการซ่อมสำหรับอาการนี้

ให้มุ่งไปที่ตำแหน่งต่างๆ ต่อไปนี้

  • ตัวสวิทช์เปิดปิด  ใช้โอมห์มิเตอร์วัดดู การทำงาน ว่า ดี เสีย
  • สายแพรของสวิทช์ ใช้โอมห์มิเตอร์ วัดดูการขาดต่อของสายแพร(พบมากคือสายที่มีการพับ และหักอยู่ภายใน)
  • ตำแหน่ง connector ที่ไว้สำหรบต่อสายแพรของชุดสวิทช์ ดูถึงตำแหน่งพินทองแดงสกปรกหรือไม รวมถึง จุดบัดกรีที่ปริ้นกับตัว connector ว่าหลุด ร่อน ไปหรือไม่

20150723_064442

***เป็นยังไงกันบ้างหละ…ตรวจสอบแล้วก็ยังสมบูรณ์เป็นปรกติ ของอุปกรณ์นั้นๆอยู่หรือไม่  ถ้าเป็นอยู่  คราวนี้หละที่จะต้องมองไปถึง เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างชุดของคำสั่ง Switch ไปยังตัวควบคุม (I O Controller) ซึ่งพอมองตรงจุดนี้แล้ว สิ่งที่เราควรทำต่อมาคือ  ไปยังตำแหน่ง รอบๆ ตัวของ IO ใช้เวลาสักนิด  ส่งด้วยแว่นขยายกำลังสูง(แว่นส่องพระ ที่กำลังขยายสูง)  มองให้ทุกตำแหน่งรอบๆ ตัว รอบๆ ขา ของ IO  เพื่อความชัดเจนว่าไม่มีการกร่อน ร่อน ขาหัก R แตก R หลุดเลื่อน ฯลฯ ่

RP-0463

สำหรับกรณีของเครื่องตามบทความในวันนี้  repair-notebook.com ได้เจอกับตำแหน่งR ที่มีความสำคัญกับตำแหน่งของชุดสวิทช์และตัว IO นั่นคือ ตำแหน่งตามรูปด้านล่างนี้  ซึ่งโดนน้ำหยดใส่หละ…นานแค่ไหนไม่รู้  แต่บอกได้ว่า  อย่าเพิ่งบัดกรีลงไปหละ   เพราะมันอาจบัดกรีไม่ติดในทันที

เพื่อนๆจะต้องทำความสะอาดลายปริ้น  ในตำแหน่งนี้ แล้ว ขูดลายปริ้นให้เห็นทองแดงก่อน  จากนั้น ค่อย บัดกรีลงไปใหม่ จะทำให้ตำแหน่งบัดกรีกับตัวอุปกรณ์ที่โดนน้ำ เชื่อมต่อกันได้เป็นปรกติเหมือนเดิม

 

***สำหรับกรณีศึกษาในวันนี้ ก็จบด้วยการค้นหาตำแหน่งของการกร่อน ร่อน ของปริ้น และอุปกรณ์ จนเจอ และก็แก้ปัญหาให้หายได้อย่างสวยสด งดงาม  ลูกค้าสามารถที่จะกดเปิดปิดจากสวิทช์ ได้ตามปรกติ เหมือนเดิมทุกประการ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  อย่ามองข้ามจุดเล็กๆ น้อย   ต้องใช้หลัก “ตาดู หูฟัง มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น” มาประกอบด้วยทุกครั้งในการซ่อมนะครับ

ท่านที่มีความสนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ repair-ntoebook.com สามารถติดต่อได้ทางช่องทางต่างๆ ที่เราจัดเตรียมไว้ให้ดังนี้

www.repair-notebook.com

https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

ด้วยคามปราถนาดีจาก

repair-notebook.com

Viewing all 259 articles
Browse latest View live