Quantcast
Channel: บีเอสคอมพิวเตอร์ ซ่อมแมคบุ๊ค ซ่อมโน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร
Viewing all 259 articles
Browse latest View live

เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค : วิธีการปลดล็อครหัสผ่านของรุ่น IBM Think pad

$
0
0

วิธีการปลดล็อครหัสผ่านของรุ่น IBM Think pad

  • เมื่อเวลาที่เราเปิดเครื่องคอมใช้งานแล้วบังเอิญว่า ติดรหัสผ่าน เป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าใช้งานเครื่องได้  สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้และลองดำเนินการดูก่อน  ควรจะเป็นขั้นต่อไป
  • หากรหัสผ่านของคุณ POP (เปิดรหัสผ่าน) ต้องถอดแบตเตอรี่สำรอง CMOS Batter ออก เพื่อจะเป็นตัดการจ่ายกระแสไฟให้แก่วงจรที่ สำหรับวิธีการของการเคลีย์ ในรุ่น Thinkpad  T20, T21, T23 ใน http: //www.ibm.com/

RP-0466

แบบที่1 วิธีการเคลีย์ password Think pad

  1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ถอดก้อนแบตเตอรี่ (Cmos Batter)
  3. ถอดแบตเตอรี่สำรอง(Battery Pack)
  4. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และรอจนกว่าเครื่องจะทำการ POST เมื่อเครื่องเปิดติดมีภาพ แล้ว Password จะหายไปแล้ว
  5. ติดตั้งแบตเตอรี่สำรองและก้อนแบตเตอรี่ กลับเข้าที่เดิม และเปิดเครื่องใช้งานตามปรกติ

แบบที่2 สำหรับการแก้ไข password กรณีเป็น Supervisor Password 

  • ไอบีเอ็มจะไม่ได้ให้บริการใด ๆ ที่จะทำให้การตั้งค่า password แบบ Supervisor ที่จะสามารถเคลีย์ได้ด้วยวิธีการในแบบที่ 1 ดังนั้น ผู้ใช้ควรจะต้องมีความรู้ด้านระบบเครื่องเป็นอย่างดี โดยต้องใช้การอ่านค่าจากหน่วยความจำ Password นั้นออกมา และทำการแก้ไขค่าเหล่านั้นออก จากนั้นให้ทำการบันทึกข้อมูลที่มีการแก้ไขใหม่แล้วลงไปใน หน่วยความจำROMนั้นอีกครั้ง และทำการเปืดเครื่องทำงาน  (หากไม่มีความผิดพลาดใด  Password รูปกุญแจที่เราเห็นนั้นจะหายไป  และสามารถเข้าสู่หน้าจอของ BIOS Setup ได้อีกครั้งเหมือนเดิม
  • ความลับของการล้างรหัส IBM Thinkpad มันอยู่ตรงนี้นี่เอง…

RP-0470

RP-0475

 

RP-0480

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค กับ repair-notebook.com หรือส่งเครื่องซ่อม กรุณาติดต่อได้ที่  https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH 

Old Model IBM ThinkPad System HMMs
Think Pad family Version
TransNote December 2000
i Series 1200, 1300, ThinkPad 130 October 2001
i Series 1400, 1500 (2611) August 1999
i Series 1400, 1500 (2621) February 2000
ThinkPad 240 December 2000
ThinkPad 240X May 2000
ThinkPad 380, 385, 560, 760, 765 September 1997
ThinkPad 380XD/385XD May 1998
ThinkPad 380Z August 1998
ThinkPad 390, 1720 November 1998
ThinkPad 390E March 1999
ThinkPad 390X November 1999
ThinkPad 560X October 1997
ThinkPad 560Z August 1998
ThinkPad 570/E January 2000
ThinkPad 600, 600E June 1999
ThinkPad 600X January 2000
ThinkPad 770 January 1999
ThinkPad family Version
ThinkPad Docking Solutions (2631, 2877, 2878) March 2003
ThinkPad A2*m, A2*p October 2001
ThinkPad A2*e (2655) June 2001
ThinkPad A21e (2628) December 2000
ThinkPad A22* (Wireless models) November 2001
ThinkPad A30, A30p, A31, A31p September 2003
ThinkPad Edge 13, Edge E30 December 2009
ThinkPad Edge 14, Edge 15, Edge E40, Edge E50 March 2010
ThinkPad Edge E220s April 2011
ThinkPad Edge E420 April 2011
ThinkPad Edge E420s March 2011
ThinkPad Edge E520 April 2011
ThinkPad G40, G41 July 2005
ThinkPad L410, L412, L510, L512, SL410, SL510 January 2011
ThinkPad L420, L421, L520 April 2011
ThinkPad R30, R31 September 2002
ThinkPad R32 November 2002
ThinkPad R40, R40e March 2004
ThinkPad R50, R50p, R51 July 2005
ThinkPad R50e, R51e, R52 August 2005
ThinkPad R60 (type 9455, 9456, 9457, 9458, 9459, 9460, 9461, 9462, 9463, and 9464) /
ThinkPad R60e (type 0656, 0657, 0658, and 0659) /
ThinkPad R61 (type 8942, 8943, 8944, 8945, and 8947) /
ThinkPad R61i (type 0656, 0657, 0658, 0659, 9455, 9456, 9457, 9458, 9459, 9460, 9461, 9462, 9463, 9464, 8942, 8943, 8944, 8945, and 8947) 14.1 inch and 15.0 inch standard screens
July 2007
ThinkPad R61 14.1inch widescreen (type 7732, 7733, 7734, 7735, 7738, 7742, 7743, 7744, 7751, and 7755) April 2008
ThinkPad R61 15.4inch widescreen (type 7642, 7643, 7644, 7645, 7646, 7647, 7648, 8914, 8918, 8919, 8920, 8927, 8928, 8929) April 2008
ThinkPad R400, T400 September 2009
ThinkPad R500 September 2009
ThinkPad S30, S31 October 2001
ThinkPad SL300 March 2009
ThinkPad SL400, SL400c, SL500, SL500c October 2008
ThinkPad T20, T21, T22, T23 April 2002
ThinkPad T30 February 2003
ThinkPad T40, T40p, T41, T41p, T42, T42p February 2006
ThinkPad T43 (1871, 1872, 1873, 1874, 1875, 1876) July 2005
ThinkPad T43, T43p (2668, 2669, 2686, 2687) July 2005
ThinkPad T60, T60p January 2007
ThinkPad T60, T60p widescreen (6369, 6370, 6371, 6372, 8741, 8742, 8743, 8744) January 2007
ThinkPad T61, T61p standard screen (type 8889, 8890, 8891, 8892, 8893, 8894, 8895, 8896, 8897, 8898, 8899, 8900, 8938, and 8939) July 2007
ThinkPad T61 14.1inch widescreen (type 6480, 6481, 7658, 7659, 7660, 7661, 7662, 7663, 7664, and 7665) April 2008
ThinkPad T61, T61p 15.4inch widescreen (type 6457, 6458, 6459, 6460, 6461, 6462, 6463, 6464, 6465, 6466, 6467, 6468, 6470, and 6471) January 2008
ThinkPad T400s, T410s, T410si January 2010
ThinkPad T410, T410i January 2010
ThinkPad T420, T420i February 2011
ThinkPad T420s, T420si February 2011
ThinkPad T500 and W500 September 2009
ThinkPad T510, T510i, W510 March 2011
ThinkPad T520, T520i, W520 April 2011
ThinkPad W700, W700ds, W701, W701ds March 2010
ThinkPad X20, X21, X22, X23, X24 March 2002
ThinkPad X30, X31, X32 July 2005
ThinkPad X40 September 2005
ThinkPad X41 September 2005
ThinkPad X41 Tablet January 2006
ThinkPad X60, X60s, X61, X61s August 2007
ThinkPad X60 Tablet and X61 Tablet June 2007
ThinkPad X100e, X120e January 2011
ThinkPad X200, X200s, X200si, X201, X201i, X201s February 2010
ThinkPad X220, X220i April 2011
ThinkPad X200 Tablet, X201 Tablet February 2010
ThinkPad X220 Tablet, X220i Tablet April 2011
ThinkPad X300 January 2008
ThinkPad X301 September 2009
ThinkPad Z60m January 2006
ThinkPad Z60t January 2006
ThinkPad Z61e, Z61m, Z61p January 2007
ThinkPad Z61t January 2007

แหล่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ จาก http://support.lenovo.com/th/th/


เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค : คู่มือการใช้ เครื่องโปรแกรมรอม MiniPro TL866CS

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆและท่านผู้สนใจทุกท่าน  สำหรับวันนี้ทาง Repair-notebook.com ได้จัดทำคู่มือการใช้เครื่องโปรแกรมรอมยอดนิยมในราคาประหยัดชื่อของเครื่องคือ  MiniPor รุ่น TL866  ซึ่งเจ้าเครื่องมินิโปรเครื่องนี้เป็นเครื่องโปรแกรมรอมที่ใช้ Port USB เป็น Interface ในการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา  ทำให้การติดตั้งและการทำงาน ง่าย สะดวกสะบาย  และมีความเร็วในการเขียนข้อมูลในระดับ 4 MB. ที่ไม่ต้องเสียเวลากับการรอเวลาเหมือนกับ PCB50 เมื่อสมัย 5 ปีที่แล้วนะครับ  (เพราะ PCB50 ใช้ Interface เป็นแบบ Parallel

Minipro-Free

minipro

 

การใช้เครื่องมินิโปรที่ Repair-Notebook.com นำมาเสนอนี้  รายละเอียดในเรื่องของการอ่าน ,ลบ ,เขียน ต่างๆ  ทาง Repair-Notebook.com ได้จัดทำเป็นไฟล์เอกสารให้เพื่อนสมาชิกทำการ ดาวน์โหลดไปอ่านกันชัดๆ เลยนะครับ  คลิ๊กดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างTraining MiniproTL866  หรือคลิ๊กที่รุปภาพต่างๆ เพื่อทำการเปิดไฟล์เอกสารการใช้ และให้ทำการ Save เก็บไว้ดูกันได้เลยนะครับ

 

Minipro-Free0

 

 

Minipro-Free3

การอ่านรอม  มีวิธีการอย่างไร  (How to Read ROM)ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ Read คือการอ่านข้อมูลในรอมนั้น ให้มาอยู่ใน buffer ของเครื่องโปรแกรม  และผู้ใช้ถึงจะทำการ Save เก็บข้อมูลในรอมนั้นเอาไว้ใช้ต่อไปได้

Minipro-Free2

การลบรอม  มีวิธีการอย่างไร (How to erase ROM)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ Erase คือการลบข้อมูลในรอมนั้น  ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อมูลในรอมที่ถูกคำสั่ง Erase หายทั้งหมด  หากผู้ใช้ไม่มีข้อมูลรอมที่จะเขียน  ก็จะทำให้เกิดปัญหาของการทำงานของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์นั้นๆ ได้เลยนะครับ

 

Minipro-Free4

 

การตรวจเช็คความว่างของเนื้องที่ในรอม  มีวิธีการอย่างไร(How to check blank address)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ กดคำสั่ง ฺblank test เพื่อทำการเช็คว่าเนื้อที่ในรอมที่จะทำการเขียนข้อมูลลงไปนั้น   ว่างเปล่าหรือไม่  (ขั้นตอนนี้ อาจทำการตรวจเช็คหลังจากใช้คำสั่ง Erase เพื่อยืนยันว่า รอมนั้นได้ถูกลบไปแล้วจริงๆ )

Minipro-Free5

 

การโปรแกรมรอม  มีวิธีการอย่างไร(How to program ROM)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการกดคำสั่ง Program ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนของการทำงานเป็นดังนี้คือ  Erase(ลบ) Blank Test(เช็คความว่างของรอม)Program (เขียนข้อมูลลงรอม)และสุดท้าย Verify (การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใน Buffer กับข้อมูลในตัวรอมที่ได้เขียนเข้าไป  เพื่อเป็นการยืนยันว่า รอมนั้นได้มีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่นำมาเขียนแล้ว

 

**ท้ายนี้ก็ขอฝากเพื่อนๆและผู้สนใจทุกท่าน หากต้องการตัวเครื่องโปรแกรมมินิโปรรุ่นนี้ ก็สามารถติดต่อเข้ามาทาง facebook ของเรา หรือทำการสั่งซื้อในระบบ Shopping Online ได้ที่ www.notebook-shops.com

ตรวจซ่อมอาการเสีย : HDD Not Detect (ไบออสมองไม่เห็นฮาร์ดดิสก์)ไฟ5V_HDD, 3.3V_HDD ไม่มี

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและผู้สนใจในบทความด้านการเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คทุกท่าน สำหรับวันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับเรื่องของการที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ถูกตรวจสอบโดยไบออส ซึ่งหมายความถึ่งว่า ตัวฮาร์ดดิสก์เอง หรือตัวเมนบอร์ดเองเป็นตัวปัญหาในลักษณะอาการตรงนี้

ในการตรวจซ่อมเรามีวิธีดำเนินการดังนี้

  • เปลี่ยนตัวฮาร์ดดิสก์ ใหม่ เพื่อทดสอบการทำงานแบบพื้นฐานที่สุด เลือกความจุของ harddisk ที่มีขนาดใกล้เคียงไม่สูงเกินจากเดิมมากนัก (เนื่องจากเมนบอร์ดบางเครื่องไม่สามารถตรวจสอบ หรือ detect Harddisk ที่มีขนาดความจุสูงๆได้
  • เข้าสู่เมนูของไบออส เพื่อทำการปรับเปลี่ยนค่าในหัวข้อที่เกี่ยวกับตัวฮาร์ดดิสก์ หรือ อาจทำการเลือกเมนูที่เป็น Load Default ก็ได้

โดยพื้นฐานหากได้ทดลองทำ เพื่อดูทางแก้ปัญหาในเบื้องต้นกันแล้ว  ก็มาดูในส่วนของวงจรของตำแหน่งนี้กันครับ

HDD-Con

ในส่วนของการตรวจซ่อมวงจรในภาคนี้  เราจะเห็นจากวงจรว่า มีจำนวนขา 22ขาด้วยกัน  แต่ถ้าเรามองให้ละเอียด  เราจะเห็นว่า มีขา เพียงไม่กี่ขาเองที่ใช้งาน  นั่นหมายถึงว่า ขาต่างๆที่มากมายนั้น มันเป็นขาที่มีการต่อเชื่อมกันอยู่ เช่น

  • ขา 1,4,7 เป็นขากราวด์ของวงจร(ground)
  • ขา 2,3 เป็นขาสัญญาณ TX +,-
  • ขา 5,6 เป็นขาสัญญาณ RX +,-

HDDCon-CQ40

  • ขา8,9,10 เป็นขาไฟ 3.3V HDD
  • ขาที่ 11,12,13 เป็นขากราด์ของวงจร
  • ขาที่ 14,15,16 เป็นขาไฟ 5 V
  • ขาที่17 , 19 เป็นขากราวด์
  • ขาอื่นๆ นอกจากนี้ เป็นขาที่ยังไม่ได้นำมาใช้งานในวงจรของโน๊ตบุ๊คในตำแหน่ง Hard Disk Connector นี้ครับ

วงจรไฟเลี้ยงของ HDD Connector

ชุดไฟเลี้ยง 5V. พร้อมวงจร Filter

HDD 5V CQ40

ชุดไฟเลี้ยง 3.3 V พร้อมวงจร Filter

HDD 3V CQ40

วงจรชุดไฟเลี้ยงของ HDD สำหรับเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

HDD Pwr Dell

หลักการทำงานของชุดวงจร HDD PWR

ตำแหน่งตรวจเช็ค

  • ได้แก่  HDD_EN คำสั่งที่จะไปทำการไบอัส FetQ34A ที่ขา G
  • ไฟชุด 3.3V_ALW2 ขา D ของ Q34A
  • ไฟชุด 15V_ALW ขา D ของ Q34B
  • ไฟชุด 5V_ALW ขา D ของ Q32 ซึ่งเป็นส่วนสวิทช์ที่จะทำให้ไฟ 5V_HDD ออกไปเลี้ยงวงจร ของ HDD
  • ไฟชุด 3.3V ALW ขา D ของ Q117 ซึ่งเป็นส่วนสวิทช์ที่จะทำให้ไฟ 3.3V_HDD ออกไปเลี้ยงวงจรของHDD

ดั้งนั้น กรณีของไฟในตำแหน่ง 3.3/5V HDD ไม่ออก หรือมีไม่ครบตำแรงไฟระบุ

  • เราควรจะต้องไปทำการตรวจเช็กที่ตำแหน่งต่างๆข้างน้นก่อน  เพื่อดูความพร้อมของ ไฟในทุกตำแหน่งว่ามารอพร้อมแล้ว  และค่อยดำเนินการในขั้นต่อไป
  • อย่าลืมว่า การทำงานของ Fet ต่างๆทุกชนิด  ถ้ามีไฟมารอแล้ว จะต้องมีคำสั่ง  (คำสั่งอาจเป็นไฟ หรือ สัญญาณก็ได้) มันถึงจะทำให้ ขาD-S, หรือ ขา S-D ทำงาน ได้  ซึ่งก็จะทำเกิดการครบวงจรนั่นเอง
  • การครบวงจร…อาจเป็นการที่ D-S ,S-D ต่อถึงกันและกระแสไหลลงกราวด์ไป    หรืออาจทำให้กระแสไหลผ่านไปยังอีกชุดวงจรนึง ก็ได้  ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรครับ

 

ตรวจซ่อมอาการเสีย : Wireless LAN ไม่ทำงานมีรูปกากบาทสีแดง//แต่ลงไดร์เวอร์ผ่านแล้วนะ

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน สำหรับบทความในคราวนี้  เราจะมาเรียนรู้ถึงวิธีการตรวจเช็ค //ซ่อม กับอาการเสียของเจ้า wireless lan ที่เราลงไดร์เวอร์ผ่านแล้ว มีรูปไอคอนเกิดแล้ว ไดร์เวอร์ก็ถูกเห็นใน Device manager แล้ว  แต่เราไม่สามารถกดสวิทช์คำสั่งให้ On/Off ได้
  • กล่าวอีกครั้งว่า..เราลงไดร์เวอร์ให้ไวร์เรสในเครื่องคอมเราได้เรียบร้อยแล้ว และสถานะก็ไม่ได้เป็น disable ด้วย  แต่สถานะเป็นตามรูปด้านล่างนี้ ซึ่งถือว่า wireless ยังไม่ถูกเปิดใช้งาน (power on) ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปอาจต้องทำการเปิดขึ้นใช้เอง  ไม่ว่าจะเป็นการกดปุ่ม FN ที่ keyboard ร่วมกับปุ่ม F? ก็แล้วแต่ (ซึ่งขึ้นอยู่กับโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้น)    บางรุ่น บางยี่ห้อ ก็ใช้คำสั่งทาง Software เป็นตัวเปิด บางยี่ห้อ บางรุ่นก็ใช้ สวิทช์หน้าเครื่องเป็นตัวเปิด ปิด  บางยี่ห้อ บางรุ่น ก็ใช้ การกด แตะ สัมผัส ที่ตำแหน่งบนคีย์บอร์ด เพียงครั้งเดียวก็เป็นการเปิดการปิด ตำแหน่งของ Wireless Power On ตรงนี้ได้

wireless status3

ภาพแสดงสถานะการที่ wireless ยังไม่ถูกเปิดใช้งาน(Power On)

Wlan-Dis4

ภาพตำแหน่งสวิทช์ เปิดปิด wireless lan ของแท่นเครื่อง Lenovo Z470

ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สามารถไปตอบโจกท์ได้ทุกกรณี สำหรับโน๊ตบุ๊คของลูกค้า ของผู้สนใจในบทความในทุกๆเครื่องหรอกนะครับ

  • ส่วนสถานะของสัญญาณไวเรส ในรูปแบบต่างๆ ที่เราจะเห็นกัน ได้แก่ภาพตามรูปด้านล่างอีกสองรูปนี้แหละ  ที่เห็นๆ กันโดยทั่วไป  ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายความหมายใต้ภาพให้ทราบกันแล้วนะครับ

wireless status1

ภาพสถานะ wireless ยังถูกเปิดใช้งานแล้ว(Power On) แต่ยังไม่มีการ connect กับสถานีwireless

wireless status2

ภาพสถานะการที่ wireless ถูกเปิดใช้งาน(Power On) และ connect กับสถานี wireless แล้ว

  • ทีนี้มาถึงการซ่อมตามหัวข้อที่เกริ่นนำไปครับ  ซึ่งได้แก่การที่สถานะของไวเรสเป็นกากบาทสีแดง  และปัญหาไม่ใช่ที่ไดร์เวอร์หรือตัวไวร์เรสตัวนั้นๆ  แต่ปัญหามันไปเป็นที่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คของเรานั่นเอง…

แนวทางการซ่อมในลักษณะของอาการ On/Off Wire less ไม่ได้ ทำให้เกิดเป็น กากบาทสีแดงที่สถานะสัญญาณ

ผู้เขียนใช้แท่นเครื่อง Lenovo Z470 ซึ่งเกิดอาการนี้ขึ้นจริง  และผู้เขียนได้ทำการแก้ปัญหานี้ได้แล้ว จึงยกมาเป็นตัวอย่างในการแนะนำ

Wlan-con

จากภาพด้านบน เป็นภาพของตำแหน่งที่สำคัญของ ขาตำแหน่งที่สำคัญในการตรวจซ่อม wireless ที่จำเป็นต้องทราบ  ดังนี้

ขาที่เป็นเรื่องของไฟเลี้ยง ดังนี้

  • ขา 2 ,24 ,52 ต้องมีไฟ 3.3 V_WLAN
  • ขา 6,26,48 ต้องมีไฟ 1.5 V_WLAN
  • ขา 39,41 ต้องมีไฟ 3.3 V_WLAN

ขาคำสั่งที่ควรตรวจสอบ ดังนี้

  • ขา 20 WLAN_OFF ซึ่งขานี้เป็นคำสั่งในการ ON, Off ตัว Wireless ที่สำคัญเลยหละ…เพราะเจ้าขานี้จะมี Logic เป็นดังนี้
  • ถ้า Logic เป็น HI คือมีไฟเลี้ยงวงจรอยู่ 3.3 V. wireless จะมีสถานะ On  ซึ่งจะทำให้ได้รูปสถานะดังภาพด้านล่าง
  • wireless status1

 

  • แต่ถ้า ได้ Logic เป็น LO คือ ไฟเลี้ยงหายไปหมด กลายเป็น ศุนย์โวลท์ นั่นจะทำให้สถานะเป็น Off ทำให้ได้ภาพตามด้านล่าง

wireless status3

 

ส่วนที่ว่าคำสั่งในการทำให้เกิดการ Disable นั้น  จะได้มาจาก South bridge สำหรับตามรูปด้านล่างนี้จะได้มาจากขา C4 ซึ่งจะมีไฟ 3.3 V. ที่ตำแหน่งขานี้Wlan-Dis1

 

  • ส่วนตำแหน่งคำสั่ง RF On/OFF Switch นั้นจะมีหน้าที่ในการดึง คำสั่ง RF_SW ลงกราวด์(เวลาทำงานในสถานะ On ตำแหน่งสวิทช์จะถูกเลื่อนมาที่ขา กลาง กับ ขา 1) จึงเป็นผลทำให้ไฟ +3V_S5 ถูกดึงลงกราวด์ไป ให้เป็นคำสั่งนี้ทำงานได้  ซึ่งผลของคำสั่งนี้จะทำให้ IO Controller รับทราบถึงการ On / Off ในตำแหน่งของ Wireless นี้ นั่นเอง

Wlan-Dis2

  • รูปด้านล่างนี้  แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของ RF_SW ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับขาที่ 83 ของ IO Controller เบอร์นี้(IT8518)

Wlan-Dis3

เพื่อนๆ ครับ การตรวจซ่อมในรายละเอียดข้างต้น  ถือเป็นแนวทางในการดำเนินการในแบบวิธีที่จะนำไปใช้ประยุกต์ในการซ่อมในเครื่องยี่ห้อ รุ่นอื่นๆ ได้เช่นกันครับ  ดังนั้น  การตรวจซ่อมในลักษณะอาการเสียที่เหมือนๆกัน  เพื่อนก็ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องหาวงจร Schematic ให้เสียเวลาหรอกครับ   แนะนำให้เพื่อนๆ ทำการจดจำวงจรนั้นๆให้ขึ้นใจ  และเพื่อนๆ จะสามารถมีความเข้าใจในการตรวจซ่อม  การวิเคราะห์ลักษณะอาการเสียในรูปแบบต่างได้ด้วยตนเองนั่นเองครับ

การอ่านวงจร(Schematic) เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค(ตอนที่1) เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์/ซ่อม mainboard

$
0
0
  • เพื่อนๆและท่านผู้สนใจในบทความจาก repair-notebook.com ทุกท่านครับ  การจะเป็นช่างซ่อมที่เก่งได้จะต้องประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย  ไม่ใช่ว่าใครต่อใครจะเรียนรู้กัน 3วัน7วัน แล้วก็เป็นแล้วก็เก่ง ไปเปิดร้าน เอาตัวรอด ซ่อมเมนบอร์ดกันแบบฝีมือ (ไม่มีคร๊าบ) ประสบการณ์ ความผิดพลาด การเรียนรู้ ความอยากรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด  ความเป็นมืออาชีพ ความเก๋า ความแก่(วัยวุฒิ) ความแก่ในวิชาชีพนั้นๆ หลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ต้องประกอบเข้าด้วยกัน ถึงจะมีความฉมังในการทำอาชีพช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คได้อย่างเก่งฉกาจครับ
  • สำหรับวันนี้ repair-notebook.com ขอนำเรื่องของวงจร (Schematic) มากล่าวกันในที่นี้เพื่อหลายๆท่านจะได้เกิดความเข้าใจว่า มันทำประโยชน์อย่งไรได้บ้าง

วงจร (schematic)

schematic-1

  • รุปด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ในส่วนต่างๆ ทำให้เราทราบว่า สิ่งใดเชื่อมต่อกับสิ่งใด  อาทิ เช่น ตำแหน่ง Intel Ivy bridge ก็คือ CPU นั่นเอง  จะทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันกับ DDR3 (RAM) และ Nvidia N13M  ดังนั้นในเวลาที่ลักษณะอาการเสียเกิดขึ้นเช่น เปิดติด แต่ไม่มีภาพขึ้น  เราก็อาจจะดูแลในส่วนของ CPU กับ RAM ในส่วนนี้เป็นพื้นฐานกันก่อน

schematic-3

  • รูปด้านบนนี้ แสดงให้เห็นถึงการทำงานของลำดับก่อนหลังของระบบไฟในเมนบอร์ดนั้นๆ  เราจะเรียกว่า Power Sequence หรืออาจเรียกกันติดปากว่า Power Step  ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการวิเคราะห์ว่าไฟ , คำสั่ง, ต่างๆ มาครบแล้วหรือยัง ถ้าตรงปลายทางยังไม่มา  เราก็ไล่ย้อนกลับไปยัง Step ก่อนหน้า และหรือต้องไล่ย้อนไปยังตำแหน่งแรกๆ ก็ว่าได้  แต่ใน Power Step นี้ จะช่วยทำให้ช่างสามารถตอบปัญหาได้ว่า ระบบไฟสมบูรณ์แล้วหรือยังนะครับ

schematic-2

  • รูปด้านบนนี้  ใช้อธิบายเกี่ยวกับ ระบบไฟ ,สถานะไฟใน level ต่างๆ ,บางตารางก็จะพูดถึง ระบบบัส(SM BUs) ที่เป็นตัวติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ  โดยเฉพาะ เรื่อง SM BUS นี้ จะมีตัวควบคุมอยู่สองอุปกรณ์ ได้แก่ IO Controller และ Southbridge   ดังนั้นในตารางของเอกสารหน้านี้ ก็ช่วยให้ช่างสามารถเข้าใจความหมายของคำ และเรื่องของลำดับการทำงานด้วย รวมถึงสัญญาณที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์กับชุดควบคุม

ก็พักไว้แค่นี้ก่อนครับ  เราจะมาต่อกันใน post ต่อๆไป  อย่าลืมติดตามบทความของ repair-notebook.com อย่างต่อเนื่องกันนะครับ

การหัดอ่าน-หัดไล่วงจรเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค(ตอนที่2) การดูลักษณะการจัดวงจรแบบต่างๆ

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทั้งเว๊ปไซด์และทาง Facebook ทุกท่าน  สำหรับวันนี้ เราจะมาพูดกันต่อเกี่ยวกับเรื่องของการอ่านวงจรในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ว่าในตำแหน่งต่างๆ นั้น เราจะพอเข้าใจและทราบวัตถุประสงค์ของผู้สร้างวงจรนั้นๆ ได้อย่างไร   การจะตอบคำถามนี้  ก็ไม่ถึงกับยากหรอกนะ…เพราะว่า หากเราเข้าใจตัวอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็น R C L D Fet ,TR, IC ต่างๆ แล้ว เราก็จะสามารถคาดเดาวิธีการนำอุปกรณ์เหล่านั้น ลงมาวางใช้ในวงจรในตำแหน่งนั้น ว่าเขาวางไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด   เรามาดูกันในคราวนี้กันเลยครับ

การนำซี Condenser มาต่อขนานใช้งานในระบบไฟของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

Condensor-a

  • เรามาดูจากภาพด้านบนกันครับ   สัญญาลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่อยู่ในรูปนี้ จะเป็นตัวคอนเด็นเซอร์(Condensor) หรือเราจะเรียกันสั้นๆติดปากกันว่า”ซี” C  นี่แหละครับ
  • คุณสมบัติของ C นั้นก็จะทำหน้าที่ในการเก็บและคายประจุไฟฟ้า  นั่นหมายถึงว่า “ถ้าจะมองให้ง่ายๆหน่อย”ก็คือ  มันจะทำหน้าที่เสมือนเป็นแบตเตรี่ลูกนึงนั่นเอง  ทีนี้เวลามันทำงานมันจะให้กระแสตกคร่อมตัวมันครับ  จากนั้นมันก็จะทำการเก็บประจุของกระแสที่ตกคร่อมมันไว้ เท่าที่ค่าความจุในตัวของซีนั้นๆจะเก็บได้   หมายความว่า ถ้าซีค่าความจุสูงๆ ก็จะเก็บประจุกระแสไฟได้เป็นปริมาณมากๆ เช่นกัน
  • พอเราทราบคุณสมบัติของซีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  เราก็จะต้องทราบต่อว่า การนำซีไปใช้งานในวงจรเขามีวิธีการอย่างไร หรือเรียกว่าคิดยังไง ถึงต้องเอาซีไปไว้ในตำแหน่งนั้นๆ
    • ตอบง่ายๆ ก็คือ เขาต้องการให้ซีไปทำการเก็บและคายประจุในวงจรในตำแหน่งนั้นๆนั่นเองครับ  เพื่อวัตถุประสงค์ให้วงจรในตำแหน่งนั้นๆ มีกระแสที่นิ่งมากที่สุด  และให้ปราศจากสิ่งแปลกปลอม เช่น ความถี่แฝงต่างๆ  เพื่อไม่ให้เข้าไปในวงจร  และไปทำการรบกวนต่อวงจรอื่นๆ ครับ
  • ขออธิบายจากรูปที่นำมาลงไว้ให้ต่อนะครับว่า…ลักษณะของการจัดวงจรภาคไฟชุดนี้ ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำซีมาต่อแบบขนานกันหลายๆ ตัว(การต่อแบบขนานจะทำให้ค่าความจุของซีสูงขึ้นแต่ในขณะที่ค่าแรงไฟ(โวลท์) ยังคงเท่าเดิม)
  • การต่อขนานกันหลายๆ ตัวค่าความจุเพิ่มแต่โวลท์เท่าเดิม  จะสังเกตุเห็นกันนะครับว่าค่าความจุของ Cที่มีขนาด 22uF (ยี่สิบสอง ไมโครฟารัด) จัดว่าเป็นค่าความจุที่น้อยนะครับ พวกค่าความจุน้อยๆ อาจจะเจอกันเช่น 1 uF,10uF,22uF ครับ..แต่ซีพวกนี้จะมีโวลท์ที่สูง ตัวจริงในวงจรจะตัวเล็กๆ สีน้ำตาลครับ

Condensor-2

จากรูปภาพจริงของ Cที่มีการต่อแบบขนาน และหน้าตาของซีที่หลายๆท่านยังไม่เคยเห็นกันนะครับ   ในลักษณะของภาพจริงจะเห็นว่ามีการเรียงวางเป็นแถวไปเลย นั่นแหละครับในวงจรเขาจะต่อกันเป็นแบบขนานตามที่ได้อธิบายไว้นั่นเอง

สรุปนะครับ ว่าถ้าเราเจอซีในวงจรมีการต่อแบบตามรูปสัญญาลักษณะข้างต้น เราจะสามารถตอบได้ว่าเขาต่อไว้เพื่อให้ได้ความจุดสูงขึ้นโวลท์เท่าเดิม  และเพื่อประโยชน์ให้ได้คุณสมบัติในเรื่องการกรองกระแสไฟให้มีความนิ่ง  ไม่ให้สัญญาณรบกวนไหลผ่านไปในวงจร เป็นเหตุให้เกิดการรบกวนได้นั่นเอง

***จริงๆแล้วรายละเอียดของอุปกรณ์นี้และการต่อยังมีรายละเอียดอีกมากครับ  แต่เนื่องจากบทความที่เขียนเราใช้พื้นที่จำกัด เลยต้องขอจบเพียงแค่นี้ครับ

เยี่ยมชมเราได้ที่ repair-notebook.com และ ทาง facebook นะครับ เราะจะนำบทความดีๆ มีสาระความรู้มานำเสนอกันต่อๆ ไปครับ

Multi Meter Fluke 115 RMS มีจำหน่ายแล้วครับ

$
0
0
  • เพื่อนๆที่สนใจจะมีไว้ใช้ ทาง repair-notebook.com มีจำหน่ายอยู่ ตอนนี้ยังพอมีอยู่นะครับ Fluke 115 สินค้าใหม่เอี่ยมมีประกัน 1 ปี(เมเชอร์) คุณภาพสูง ราคา 7600 บาท (ค่าส่ง 150บาท EMS) ร้านอื่นขาย 8xxx บาท ขึ้นไป  การประมวลผลอ่านค่าต่างๆ เร็วดังใจ สามารถเปรียบเทียบการทำงานกับมิเตอร์ดิจิตอลในยี่ห้ออื่น ที่เพื่อนๆซื้อมาใช้ได้เลย ถ้าไม่เร็วจริงไม่ต้องซื้อไปครับ อาจจะหมดได้ภายใน วันสองวันนี้ หากสนใจคลิ๊กที่รูปเพื่อดูรายละเอียดนะครับ

Boardview Software Files Type /reader Progame

$
0
0
BOARDVIEW SOFTWARE
Filetype Description Files to download
.ASC ASUS BOARD VIEWER TSICT  ver:1.6 ASUS_TSIC.zip
.BRD  TopTest BoardVIew R4   BoardViewR4.zip
 BoardView R5.0(GR) BoardView_5.0_GR_.zip
Test Link BRD Viewer ver:2.2 BRD-T_link01_new_.zip
LANDREX TEST LINK ver:1.0 T_link01.zip
LANDREX TEST LINK ver:2.2 T-link1_v22.zip
Allegro FREE Physical Viewer VER:15.7 Allegro_Free_Physical_Viewer_15.7.zip
Allegro FREE Physical Viewer VER:16.6  allegro_free_viewer_16-6.zip
HE Board View HE_Board_View.zip
Russian BoardViewer. ver:unknown  BoardViewer_brd_rus.zip
IDEAL ELECTRONICS BOARDVIEW SOFT  Board_view.zip
.BDV  HONHAN BDV BoardViewer BDV-BoardView.zip
.BV ATE BV Boardview ver:1.3.0 bview.zip
ATE BV Boardview ver:1.5.0 The BoardView v1.5 does not support “CTRL+O” or “File>Open” options . To open a “Board view” file please use a “Drag & Drop” function .  BView1.5.zip
.BV2 BoardView ver:2.0.1  BoardView2.zip
.CAD Samsung .cad boardviewer CAD.zip
.CST IBM LENOVO  Card analisis support tool ver:3.32 Castw.zip
.DWG Free software. For Windows 7/8 and Windows XP / Vista CADSeeV4-Touch.zip 
CADSeeV4-x86.zip
.F2B Unisoft VIEW MARKUP  .F2B and many more place5-F2B.rar
.FZ  PCB Repair Tool. CTRL+F10 to open from FAB folder. CTRL+F11 to open from custom folder. If error 203 appears please restart aplication PCBRepairTool.zip
.GR GR format viewer BoardView ver.5 BoardView_5.0_GR__1.zip
.IGE .IGE file format viewer. CB/TEST Graphical editor ver:3.3.2. Can open .CAD file too. IGE_CAD_VIEWER.zip
.PCB PADS 9.5.1 PCB viewer for Apple Iphone/Ipad PADS9_5_1.zip 
.TSL FU KANG .TSL file format viewer. Must install before use. FU_KANG_VIEWER.zip
.TVW Tebo IctView Ver:3.0  TeboView_DeHua.zip
Tebo IctView Ver:4.0  Tebo-ICT_view_4.0.zip
DOCUMENTS
RICHTEK MARKING INFORMATION   10/2013 Richtek_31.10.13.pdf
SMD SEMICONDUCTOR CODES  – 2011/2500pages SMD_semiconductor_codes_-_2011.pdf

อาการเสีย : คีย์บอร์ดเบิ้ล กดครั้งเดียวเหมือนกดหลายครั้งตัวอักษรขึ้นซ้อน คีย์บอร์ดไม่เสีย

$
0
0
  • เพื่อนๆสมาชิกทุกท่านครับ  repair-notebook.com รับซ่อมโน๊ตบุ๊คบุ๊ค เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค รวมถึงสอนให้เป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คแบบเชิงลึก คือซ่อมแผงวงจรบอร์ดของโน๊ตบุ๊คนั่นเองครับ   วันนี้ขอแนะนำอาการที่เกิดขึ้นบนหน้าจอคอมของเรา ในขณะที่ผู้ใช้อาจกำลังพิมพ์ตัวอักษรและก็เกิดตัวอักษรซ้อนกันหลายๆ ตัว  ซึ่งแนวทางการวิเคราะห์อาการเสียก็คงแยกเป็นสักสองกรณีดังนี้

แนวทางการวิเคราะห์

  • ตัวแป้นคีย์บอร์ด ผู้ใช้และรวมถึงผู้ซ่อมจะต้องทดลองเปลี่ยนตัวแป้นคีย์บอร์ดดูก่อน เพื่อความชัดเจนว่าเกี่ยวกับคียบอร์ดโดยตรงหรือไม่  ซึ่งโดยปรกติ  ก็สามารถจบงานสรุปว่าเป็นที่คีย์บอร์ดได้ ถ้าผลการสรุปเปลี่ยนนั้น อาการหายเป็นปรกติ

Keyboard-Error-L745

  • IO Controller(EC) ส่วนของตัวIC ควบคุมที่เรียกกันว่า IO Controller นั้น ก็ถือเป็นตำแหน่งตรวจซ่อมที่สำคัญของอาการในลักษณะที่เกี่ยวกับคีย์บอร์ดเหมือนกัน  เพราะขาขอไอโอที่อยู่ในกลุ่มของ KB จะโยงเชื่อมต่อกันถึงกับตำแหน่งคอนเน็คเตอร์ของคีย์บอร์ดภายในเครื่องโดยตรง ตามรูปของวงจรด้านล่างที่แสดงให้เห็นว่า ขาต่างๆของ IO ในส่วนการควบคุมคีย์บอร์ดนั้นมี ขาจำนวนมากกว่า 20 กว่าขา (ตั้งแต่ pin33-54) ที่ไปเชื่อมต่อกับตัวแปั้นคีย์บอร์ดภายในของโน๊ตบุ๊ค
  • Keyboard-Error-L745-2จึงฝากไว้เป็นแนวทางในการตรวจซ่อมของงานซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คไว้กับผุ้สนใจและช่างใหม่ช่างเก่าทุกท่านด้วยนะครับ คงจะเป็นประโยชน์ต่องานซ่อมของทุกๆท่าน

ความรู้เกี่ยวกับ IC TPS51123 PWM 3.3/5V สำหรับภาคไฟชุดแรกของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

$
0
0
  • ถ้าจะพูดถึงชุดภาคไฟที่ทำงานเป็นภาคแรกๆในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  คงไม่พ้นชุดวงจรภาคไฟ 3.3/5 โวลท์ ที่เป็นชุดไฟโวลท์ต่ำและทำงานก่อนเป็นลำดับแรกของวงจรภาคไฟชุดต่ำทั้งหมดในเมนบอร์ด  ในส่วนของตัว PWM หรือ VRM ที่เลือกมาใช้งานก็สุดแล้วผู้ผลิตเมนบอร์ดในรุ่นนั้นๆ เขาจะหยิบมาใช้กันครับ   แต่จะตัวไหน ยี่ห้อไหน เบอร์อะไร  ก็มีเรื่องเหมือนกันมาตลอดคือ ต้องมีชุดไฟ 3.3/5 มาก่อนหละ
  • สำหรับวันนี้ จะมาพูดถึง TPS51123 ซึ่งเป็น PWM ชนิด 24 ขา และให้ไฟออกที่ 3.3 / 5 โวลท์ เป็น IC Regulator ที่มีสองชุดภาคไฟ ในตัวเดียวกัน (Dual Voltage)

TPS51123 Plan

คุณสมบัติของ IC TPS51123

  • Input ไฟเลี้ยงวงจร ได้ตั้งแต่  5.5 – 28 โวลท์ (ขา 16)
  • มีแรงไฟออกได้ตั้งแต่ 2-5.5 โวลท์ (์จากชุด Switch N fet x2 + Coil + C)
  • มี Regulator ในตัว IC ที่แรงไฟ 3.3 / 5 โวลท์  100 mA. (ขา 8 , 17)
  • มี VFB (Feed back) ขา 3,5 เพื่อควบคุมแรงไฟทางออกให้คงทีตลอดเวลา
  • ดังนั้น เวลาที่เราตรวจซ่อมเครื่องคอมโน๊ตบุ๊ค  และพบว่า เมนบอร์ดนั้นใช้ IC เบอร์ TPS51123 หละก้อ  อย่าลืมข้อมูลสำคัญพื้นฐานของ IC เบอร์นี้ไว้ด้วยนะครับ เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้สามารถทำให้ชุดไฟ 3.3/5 โวลท์ชุดนี้ทำงานได้สมดังใจที่ต้องการ และอะไรๆ ในระบบไฟในบอร์ดของเราที่ซ่อม ก็จะราบรื่นต่อๆไปหละครับ

 

ความรู้เกี่ยวกับ IC RT8223A/B PWM 3.3 – 5 V System power สำหรับเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

$
0
0
  • ตระกูล IC Regulator ในกลุ่ม 3.3 / 5โวลท์ อีกเบอร์นึงที่จะแนะนำให้รู้จักนะครับ  วันนี้เราจะเรียนรู้กับเบอร์ RT8223 ของค่าย Ricktech  ซึ่งก็เป็นไอซีที่ทำงานในชุด 3.3/5โวลท์  ที่เป็นชุดไฟโวลท์ต่ำและทำงานก่อนเป็นลำดับแรกของวงจรภาคไฟชุดต่ำทั้งหมดในเมนบอร์ด  ในส่วนของตัว PWM หรือ VRM ที่เลือกมาใช้งานก็สุดแล้วผู้ผลิตเมนบอร์ดในรุ่นนั้นๆ เขาจะหยิบมาใช้กันครับ   แต่จะตัวไหน ยี่ห้อไหน เบอร์อะไร  ก็มีเรื่องเหมือนกันมาตลอดคือ ต้องมีชุดไฟ 3.3/5 มาก่อนหละ
  • สำหรับวันนี้ จะมาพูดถึง RT8223A/B ซึ่งเป็น PWM ชนิด 24 ขา และให้ไฟออกที่ 3.3 / 5 โวลท์ เป็น IC Regulator ที่มีสองชุดภาคไฟ ในตัวเดียวกัน (Dual Voltage)

RT8223AB

คุณสมบัติของ IC RT8223

  • Input ไฟเลี้ยงวงจร ได้ตั้งแต่  5.5 – 28 โวลท์ (ขา 16)
  • มีแรงไฟออกได้ตั้งแต่ 2-5.5 โวลท์ (์จากชุด Switch N fet x2 + Coil + C)
  • มี Regulator ในตัว IC ที่แรงไฟ 3.3 / 5 โวลท์  100 mA. (ขา 8 , 17)
  • มี VFB (Feed back) ขา 3,5 เพื่อควบคุมแรงไฟทางออกให้คงทีตลอดเวลา
  • ดังนั้น เวลาที่เราตรวจซ่อมเครื่องคอมโน๊ตบุ๊ค  และพบว่า เมนบอร์ดนั้นใช้ IC เบอร์ TPS51123 หละก้อ  อย่าลืมข้อมูลสำคัญพื้นฐานของ IC เบอร์นี้ไว้ด้วยนะครับ เพื่อที่เพื่อนๆ จะได้สามารถทำให้ชุดไฟ 3.3/5 โวลท์ชุดนี้ทำงานได้สมดังใจที่ต้องการ และอะไรๆ ในระบบไฟในบอร์ดของเราที่ซ่อม ก็จะราบรื่นต่อๆไปหละครับ

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : IC TPS51225 ไอซีPWM 3.3v/5v. Dual Step down controller

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : RT8206A/B/Lไอซีภาคไฟ ชุด 3.3.-5 V. กลุ่มไอซี32ขาที่ต้องทราบหลักการทำงาน

$
0
0
  • เพื่อนๆสมาชิกและผู้สนใจในการเรียนรู้ด้านการเป็นช่างซอมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกท่าน สำหรับวันนี้ขอนำความรู้ที่เกี่ยวไอซีภาคไฟชุด 3.3-5 โวลท์มานำเสนอต่อเนื่องกันไป  เนื่องจาก ต้องการจะถ่ายทอดความรู้ระดับเริ่มต้นของการจะเข้าสู่การเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกัน  ผู้เรียนก็ควรจะต้องทราบว่า ไอซีแต่ละเบอร์(มีมากมายหลายเบอร์) มันมีหน้าที อย่างไร  มันทำงานได้ยังไง  เราจะซ่อมให้มันใช้งานได้อย่างไร ????

RT8206AB

  • อันดับแรก  เรามารู้จักไอซีเบอร์นี้กันเบื้องต้นกันก่อนหละ… RT8206AB รวมถึง RT8206L เป็นไอซีกลุ่มชุดไฟ 3.3-5โวลท์ที่ถูกนำไปใช้ในการวงจรภาคไฟพื้นฐานแรก (standby) ของบอร์ดหลายๆยี่ห้อ    ผังการวางขาของไอซีเป็นตามรูปด้านล่าง

RT8206AB-2

จากรูปด้านบน ขาที่สำคัญควรทราบมีดังนี้

  • ขา6. VIN เป็นขาไฟเลี่้ยงวงจร รับได้ตั้งแต่ 6-25โวลท์ (นั่นหมายความว่า  ผู้ออกแบบจะสามารถจ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า เข้าสู่ขา 6 ได้ไม่ต่ำหรือสูงไปจากค่าที่เขากำหนด  (เพราะอาจเป็นผลทำให้ไอซีไม่ทำงาน หรืออาจทำให้วงจรภายในตัวไอซีได้รับความเสียหาย)
  • ขา4.(ENLDO) เป็นขาที่จะทำหน้าที่ในการเปิดการทำงานของชุดไฟ Regulator ย่อยภายในตัวของไอซีเองซึ่งได้แก่ชุดไฟ ขา1 (REF) 2V. //ขา7 (LDO) 5V.
  • ขา14(EN1)ขา27(EN2) สองขานี้จะทำหน้าที่ในการเปิดการทำงานของชุดไฟที่ผ่านขดลวด (1IC,2Fet,1L,1C) ซึ่งจะทำให้ได้แรงไฟ 3.3v,5v. กระแสสูง เพื่อนำไปใช้งานในวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดต่อไป

**เราจะเห็นได้ว่า  การทำงานพื้นฐานของไอซีชุดนี้ คือ  การที่จะต้องได้รับแรงไฟเลี้ยงเข้าสู่ไอซีก่อนนั่นคือ 6-25โวลท์  จากนั้น จะต้องมีแรงไฟออกจากตัวไอซีเองที่สำคัญ 3 จุด ได้แก่ขา 1 REF=2V//ขา7 LDO=5v//ขา3 VCC=5v. ไฟต่างๆเหล่านี้จะถือเป็นไฟสแตนบาย เนื่องจากระแสไฟจะต่ำมากๆ เช่น 70-100 mA มีไว้เพื่อเลี้ยงวงจรพื้นฐานก่อน(standby) พอมีคำสั่งออนเครื่อง(เปิดเครื่อง,กดสวิทช์)  ก็จะทำให้ชุดวงจรเหล่านั้นมีคำสั่งมาเปิดการทำงานของตัวไอซีนี้ เพื่อให้ชุดไฟที่มีกระแสสูงออกผ่านชุดคอลย์ เพื่อใช้ทำงานในวงจรต่อไปนั่นเอง**

สนใจเรียนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ระบบไฟ ,ระบบภาพ การใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ทำงานในการซ่อม ติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : ซ่อมชุดไฟ 3.3/5โวลท์ System Standby สไตล์ repair-notebook

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน  วันนี้ขออัพเดรทบทความ ความรู้ด้านการซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คสักบทความนึงประจำวันครับ
  • ในใจของผู้เขียนเอง ก็เป็นทั้งผู้สอนและผู้ซ่อม  หลายๆครั้งที่เราได้สอนไปเราก็พยายามเน้นเนื้อหาด้านการซ่อมเป็นหลักๆ ให้ผู้เรียนได้จดจำให้ได้ในจุดหลักๆที่สำคัญของอาการเสีย  ในแต่ละครั้งที่สอนผู้เรียนก็ดูเหมือนจะเข้าใจดีนะครับ   แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้เรียนเอาไปปฏิบัติไม่ได้แบบราบรื่น  เมื่อผู้เรียนสอบถามกลับมาถึงลักษณะของอาการโดยเฉพาะเรื่องของระบบไฟ 3.3/5โวลท์ ตามที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ในวันนี้    ผู้เรียนหลายๆคน ก็ยังสับสนกับวิธีการทำงานของระบบไฟในชุดนี้อยู่ตลอด  ดังนั้น  จึงต้องขอย้ำให้ผู้เรียนทุกท่านที่อยู่ในสังกัดของ www.repair-notebook.com โดย อ.ต้อย เป็นผู้ให้ความรู้ทุกท่าน พึงจดจำ และพึงระลึกถึงในจุดสำคัญของระบบไฟชุดนี้ตามที่ได้สอนไว้ เอกสารทางเราก็แจกให้เป้นไฟล์ข้อมูล ก็ไม่ค่อยไปทบทวนกันเนอะ… พอเวลาเจอจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ไม่ผ่าน  …(อาจาร์ยของบ่นนี๊ดนึงนะครับ อย่าเพิ่งเครียดนะ)

RT8205

กลุ่มของไอซี 24ขาเบอร์ RT8205

RT8206

กลุ่มของไอซี 32ขาเบอร์ RT8206

  • ทีนี้  เรามาว่ากันในเรื่องของชุดไฟชุดนี้กันต่อ  เพื่อนๆสมาชิกสามารถหาอ่านบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับชุดไฟ3.3/5โวลท์และไอซีที่เกี่ยวข้องในการทำงานได้ในwebsite นี้นะครับ
  • ระบบไฟชุด 3.3/5โวลท์จะเป็นชุดไฟชุดแรกที่ในระบบบอร์ดของโน๊ตบุ๊คนำไปใช้ประโยชน์ในระบบการสแตนบาย รอรับคำสั่ง การทำงานหลังกดสวิทช์เปิดปิดเครื่องครับ   ชุดไฟชุดนี้จะมีไอซีควบคุมระบบการทำงาน ถูกเรียกเป็น PWM ซึ่งที่เราเห็นๆและได้ซ่อมกันมากๆ ก็จะไม่ค่อยพ้นไอซีในกลุ่ม 24ขา กับ กลุ่ม 32ขา  ที่ถ้าเรียนกับทาง repair-notebook ผมจะเน้นเสมอว่า ให้จำไว้ให้แม่นในสองกลุ่มนี้  ส่วนตัวอื่นๆ หากได้เจอหรือแตกต่างจากนี้ไป ก็ให้ค่อยๆ อัพเดรท สอบถามผู้สอนเข้ามาได้  แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว เราจะเจอเจ้าไอซีภาคไฟ 3.3/5 โวลท์ ที่เป็น 24ขากับ 32ขาสองโครงสร้างนี้มากที่สุดครับ
  • ทีนี้เจ้าไอซี 24ขา และ 32 ขาของระบบไฟชุดนี้เป็นเบอร์อะไรบ้าง  ก็จะขอแนะนำให้รับทราบไว้ในเบื้องต้นก่อนเลยครับ  กลุ่มไอซี24ขาที่นิยมใช้ในภาคไฟชุดนี้ได้แก่รูปแบบของ IC 24ขาเบอร์ RT8205(และอีกหลายเบอร์ที่มีขาเหมือนกันแทนกันได้ด้วยคับ)  ส่วนอีกเบอร์นึงก็ได้แก่รูปแบบของ IC 32ขา เบอร์ RT8206(และอีกหลายเบอร์ที่มีขาเหมือนกันแทนกันได้ด้วยคับ)  สองเบอร์นี้ทางเราจะถือว่าเป็นต้นแบบของการเรียนรู้จดจำ เพื่อนำไปต่อยอดในการตรวจซ่อมในชุดไฟ 3.3/5 อย่างคล่องตัว และสามารถทำให้ชุดไฟนี้สามารถทำงานได้

สอนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : ไอซี PWM เบอร์ NB670 3.3V 9Amp Peak

$
0
0
  • เพื่อนสมาชิกทุกท่าน  วันนี้ทีมงาน repair-notebook.com แหล่งความรู้ด้านการเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ระดับขั้นสูง  ขอนำความรู้ที่เกี่ยวกับตัวไอซีระบบภาคไฟที่มีบทบาทความสำคัญในวงจรระดับต้นๆของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คอีก 1 เบอร์มาแนะนำ
  • IC PWM NB670 มีคุณสมบัติตามที่บริษัทผู้ผลิตระบุไว้ดังนี้ The NB670 is a fully integrated high frequency
    synchronous rectified step-down switch mode  converter with 3.3V fixed output voltage. It offers very compact solution to achieve 6A  continuous output current and 9A peak output current over a wide input supply range with  excellent load and line regulation. The NB670 operates at high efficiency over a wide output  current load range. Constant-On-Time (COT) control mode provides fast transient response
    and eases loop stabilization.

NB670-3V3 Diagram

โครงสร้างภายในตัวไอซี ที่สำคัญ นั้นเราจะต้องรู้จักขาที่จำเป็นๆ เบื้องต้นก่อน ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งเป็นกลุ่มสีให้แล้วดังนี้

กลุ่มสีแดง

  • ขา V.in ซึ่งได้แก่ขาที่จะรับไฟเลี้ยงวงจร (สำหรับเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คจะใช้ไฟประมาณ 19โวลท์
  • ขา ENLDO ซึ่งเป็นขา Enable สำหรับชุดไฟ LDO(Regurate)
  • ขา LDO จะมีแรงไฟภายในตัวของ IC เอง 3.3V. กระแสประมาณ 70-100 mAmp เพื่อนำไปเลี้ยงวงจร stand by (ส่วนใหญ่ก็จะเป็น IO controller)

กลุ่มสีเขียว

  • ขา En ขานี้จะทำหน้าที่เปิดการทำงานของ ชุด SW ซึ่งได้แก่ขา 8,9,15,16(อยู่ใต้ตัวไอซี) ที่จะไปผ่านขดลวด (คลอย์) แลFillter ด้วย C อิเล็คโตไลท์ 330uF ลงกราวด์

NB670-SW

กลุ่มสีส้ม 

  • ขา VCC จะเป็นแรงไฟ Regulate 5 V. ภายในตัวไอซีเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สำหรับจัดการใดๆ ก็ได้ เช่น ตามภาพใน Datasheet จะถูกนำไปใช้เพิ่มแรงเคลื่อนให้สูงกว่าเดิม (Voltage Multiply)

ไอซีเบอร์นี้จะเป็นไอซี PWM ที่ให้แรงไฟ output ที่ 3.3v9Amp. และถูกนำมาใช้ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ในปี 2015ขึ้นมา  ในการซ่อม ช่างจะเจอๆกับไอซีเบอร์นี้กันบ้างแล้ว และก็งง กับการทำงานของมัน เนื่องจาก มันไม่มี N Fet  สองตัว ต่ออยู่ด้านนอก เหมือนกับวงจรเดิมๆในบอร์ดรุ่นเก่าๆ

รูปแบบการจัดวงจรขั้นพื้นฐานที่แนะนำ

NB670-Typical

คุณสมบัติของไอซี

  • • Wide 5V to 24V Operating Input Range
    • 3.3V Fixed Output Voltage
    • Built-in 3.3V, 100mA LDO with Switches
    • 6A Continuous Output Current
    • 9A Peak Output Current
    • 300kHZ CLK for External Charge Pump
    • Low RDS(ON) Internal Power MOSFETs
    • Proprietary Switching Loss Reduction
    Technique
    • Internal Soft Start
    • Output Discharge
    • 500kHZ Switching Frequency
    • OCP, OVP, UVP Protection and Thermal
    Shutdown

ท้ายนี้ก็ขอฝากไว้กับเพื่อนๆ และท่านผุ้สนใจในความรู้ด้านการซ่อมว่า  การซ่อมเป็นอย่างเดียว โดยไม่มีหลักการ หลักทฤษฎีใดๆ ในประสบการณ์นั้นเลย ก็ใช่ว่าจะถือว่าท่านมีความเข้าใจถ่องแท้ในงานซ่อมส่วนนั้นๆ

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คโดยเฉพาะ ติดต่อได้ที่ repair-notebook.com


สอนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : IC PWM TPS 51225 3.3-5V. สำหรับบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : แท่นSamsung Scala3_14A วงจรชาร์จ(Charger)

$
0
0
  • เพื่อนๆที่รักทุกท่าน  repair-notebook.com วันนี้ขอนำความรู้เกี่ยวกับวงจรทางการชาร์จของSamsung Board Model Scala3_14 ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงหรือเทียบเคียงกับ Samsung ในแท่นอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้  ที่มีโครงสร้างการวาง การจัดวงจรแบบเดียวกันนะครับ
  • เพื่อนๆจะสังเกตุเห็นว่า ขัวคอนเน็ตเตอร์ของแบตเตอรี่จะมีหลายๆพิน หลายขั้วด้วยกัน  จริงๆ แล้วไม่ได้มีอะไรที่จะน่ามองเป็นเรื่องลำบากใจอะไรมากนัก  ในเครื่องโน๊ตบุ๊คโดยทั่วๆไป เขาก็จะมีการจัดวางพินในคอนเน็ตเตอร์ของแบตคล้ายๆ กันแทบทั้งนั้น  ซึ่งเพื่อนๆสามารถทำความเข้าใจจากบทความที่ทาง repair-notebook เขียนให้อ่านตรงนี้ ก็จะสามารถนำไปต่อยอดในการมองในแท่นอื่น ยี่ห้ออื่นๆ ได้เหมือนกัน

 

  • จากรูปที่1 (ภาพถ่าย)ด้านล่างนี้  แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่ ขั้วชาร์จแบตของ Samsung มี7 พิน   ซึ่งมีหลักการง่ายๆที่เพื่อนๆจะสามารแยกแยะได้ดังนี้ครับ
    • พินทางขวาสุดนับมาทางซ้าย พิน1กับพิน2 เป็นขั้วลบของแบต(กราวด์วงจร) จะสังเกตตุว่าขาพินมันยาวกว่าพินอื่นๆ นะครับ สองขานั้นจะเป็นขาเดียวกัน
    • พินที่3 จากขวามือถัดมา เป็น Bat Detect หมายถึงแจังให้วงจรควบคุมทราบว่ามีแบตเตอรี่เสียบเข้าสู่ตัวเครื่องแล้ว
    • พินที4และ5 จากขวามือถัดมานะครับ  จะเป็น พินที่ทำหน้าที่เป็นระบบบัส คอยส่งคำสั่งสัญญาณไปยังชุดควบคุม เพื่อทำการสื่อสารระหว่างชุดควบคุม(IO) กับ ตัวก้อนแบต(ภายในก้อนแบตมีROM Memory คอยเก็บข้อมูลของตัวแบตเตอรี่ก้อนนั้นๆ เช่น ชั่วโมงการชาร์จ ,ระดับกระแส ,ระดับโวลท์ อุณหภูมิ, ฯลฯ)

chargersamsung1รูปที่1

chargersamsung0

รูปที่2

จากรูปที่2 (วงจร) ที่จะแสดงให้เห็นว่า พิน1และพิน2 เป็นขาเดียวกัน และต่อลงกราวด์ตามวงจร

ต่อมาจากรูปพินที่3 จะถูกต่อไปยังวงจรควบคุม(IO) ถูกเรียกเป็น ฺBat Detect

ต่อมาจากรูปพินที่4-5 จะเป็นบัสที่เรียกว่า SMBus  คอยทำหน้าที่ส่งคำสั่ง สื่อสารกับ IO Controller เพื่อแจ้งข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับก้อนแบตนั้นๆ

 

BAV99 เป็น Dual Diode ที่มีการต่อแบบอนุกรม Series

FEATURES
• Fast switching speed.
• Surface mount package Ideally Suited for Automatic insertion
• Electrically Identical to Standard JEDEC
• High Conductance
MECHANICAL DATA
Case: SOT-23, Plastic
Terminals: Solderable per MIL-STD-202, Method 208
Approx. Weight: 0.008 gram
Marking : JF, JC, JA, JG

bav99

 

ครับเพื่อนๆ สำหรับความรู้เกี่ยวกับขั้วแบตของ Samsung แท่นนี้ ทาง repair-notebook ขอกล่าวไว้เพียงเท่านี้นะครับ  ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจกับทุกๆบทความของทาง repair-notebook.com ด้วยดีเสมอมา

เยี่ยมชมเราได้ที่ repair-notebook Facebook

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : ตำแหน่งแรงไฟต่างๆบนบอร์ดโน๊ตบุ๊คที่ควรทราบ

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน วันนี้ขออัพเดรทความรู้ในเรื่องของตำแหน่งแรงไฟต่างๆในบอร์ดของ Samsung สักรุ่นะครับ  แท่นนี้เพื่อนๆ จะเห็นว่าตำแหน่งของแรงไฟต่างๆ จะมีไปป้อนยังตำแหน่งของวงจรที่ถูกระบุไว้  ทำให้เราสามารถที่จะทราบได้ว่า แรงไฟที่วัดได้ เป็นของตำแหน่งใดๆ บ้าง  หรือว่า แรงไฟที่หายไปนั้น อาจเกิดจากวงจรในส่วนที่รับแรงไฟนั้นไปเกิดการช้อต ดึงไฟลงกราวด์ทั้งหมด  อย่างนี้ เราก็จะเข้าค้นหาตำแหน่งของตัวเสีย หรือส่วนที่เสียได้ง่ายนะครับ   ดังนั้น   จึงขอฝากภาพนี้ไว้ให้เป็นแนวทางกับเพื่อนๆ เพื่อจะได้สานต่อ ต่อยอดการเรียนรู้ไปอีกระดับนึง

powerplan-samsung

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ repair-notebook.com ติดต่อได้ที่ 0990472961

หรือเข้าเยี่ยมชม facebookของเราได้ที่นี่ครับ

เมื่อโน๊ตบุ๊คโดยฉี่แมว ผลจะเป็นอย่างไร?

$
0
0
  • เพื่อนๆ ครับ วันนี้ ได้เพิ่มบทความเกี่ยวกับอันตรายจากสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวที่มันจะสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ เสียหายได้โดยที่เพื่อนๆ อาจไม่รู้ตัวเลยนะครับ นั่นก็คือ อันตรายจากฉี่แมว
  • โดยอาการทั่วไปหลังจากที่แมวงฉี่ไปแล้ว คุณอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า โน๊ตบุ๊คของคุณโดนฉี่   อาจจะมารู้ตัวก็ต่อวันนึง  เปิดเครื่องไม่ติด หรือเปิดติดดับ หรือติดไม่มีภาพ ก็แล้วแต่ว่า อนุภาพของฉี่จะไปโดนในส่วนวงจรแถวไหนนะครับ

boardshot

  • รูปนี้ได้จากเครื่องลูกค้าที่โดนฉี่แมว  จะเห็นถึงตำแหน่งอุปกรณ์มีการสึกกร่อน ซึ่งมีผลต่อวงจรที่จะทำงานไม่ได้สมบูรณ์หรืออาจไม่ทำงานเลยก็ได้ครับ

ความเสียหายที่ได้รับจากฉี่แมว

  1. คีย์บอร์ดของเครื่องจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป เพราะฉี่แมวลงตรงตำแหน่งของคีย์บอร์ด และไหลลงสู่แผงวงจร(เมนบอร์ด)
  2. แน่นอนว่า อาการที่เกิดขึ้นคือ เปิดไม่ติด หรืออาจเปิดติดไม่มีภาพ หรือเปิดติดแล้วดับ ฯลฯ ผู้ใช้ต้องทำการส่งซ่อมอย่างแน่นอนครับ

 

Article 0

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆ สมาชิก และผู้สนใจในบทความ  repair-notebook.com ทุกท่าน  วันนี้ขอนำความรู้มาฝากกันนะครับ กับเพื่อนๆช่างและผู้ใช้ทั่วไป ท่านใดต้องการที่จะตรวจเช็ค Hardware lenovo หละก้อ แนะนำ Diagnostics ที่มีให้ Download ที่ lenovo ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ เอาไปลองใช้ดูครับ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ Hard ware ของคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ lenovo นี้ครับ
  • โดยลักษณะการทำงานของโปรแกรม utility ตัวนี้ จะช่วยการวิเคราะห์ hardware เช่น HDD, RAM , VGA , Sound Network USB ฯลฯ และผลของการตรวจสอบจะช่วยสรุปว่า Hardward ของ คอม Lenovo เครื่องนั้นอยู่ในระดับที่เกิดปัญหาหรือไม่ครับ ลองนำไปใช้ดู  สามารถ Download ตัวไฟล์ ISO ได้โดยตรงจาก Lenovo.com ตามลิงค์นี้เลยครับ  เมื่อได้ไฟล์แล้ว ก็นำไปเขียนในแผ่น DVD หรือ ใน Flash Drive เพื่อใช้ทำงานในการตรวจสอบต่อไปได้เลยครับ

วิธีการสร้าง Flash Drive เพื่อใช้งาน Diagnostics

 

Viewing all 259 articles
Browse latest View live