Quantcast
Channel: บีเอสคอมพิวเตอร์ ซ่อมแมคบุ๊ค ซ่อมโน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร
Viewing all 259 articles
Browse latest View live

เรียนอิเล็คทรอนิคส์ : การเกิดของกระแสไฟ,กระแสะไฟคืออะไร

$
0
0

บทเรียนที่1. การเกิดกระแสไฟฟ้า

  • ความรู้พื้่นฐานการนำท่านไปสู่การเป็นช่างนั้น  จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงทฤษฎีการเกิดกระแสไฟฟ้ากันก่อนครับ  เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจ”ตกม้าตาย” หมายถึงว่า ช่างคนนั้นๆดูเก่งเหลือเกิน  แต่ในเชิงทฤษฎีนั้น เขาไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ตรงนั้นได้  เพียงแต่เขายังไม่รู้ถึงสิ่งที่เรากำลังพูดว่า พื้นฐาน หรือภาษาอังกฤษเรียก “basic”

การเกิดกระแสไฟฟ้า

  • จากความรู้ที่เราและท่านได้เรียนรู้หรือได้ทราบกันมา  เราทราบกันดีว่า  ในอดีตนั้น ซึ่งอยู่ประมาณปี ค.ศ.1600 (พ.ศ.2143) ด.ร.วิลเลี่ยม กิลเบิร์ดได้นำแท่งอำพัน มาถูกับขนสัตว์  ทำให้แท่งอำพันมีความสามารถในการดูดวัตถุเล็ก เช่นเศษกระดาษ เศษผม ได้   ท่านวิลเลี่ยม จึงได้ให้ชื่ออำนาจที่แฝงในแท่งอำพันนั้นว่า “อิเล็คตรอน” Electron หรืออำนาจของประจุไฟฟ้านั่นเอง

เมื่อภายในอะตอมเกิดการเสียสมดุลย์ จะทำให้เกิดการไหลของกระแสอิเล็คตรอน

  • อิเล็คตรอน (ประจุไฟฟ้าลบ) โปรตรอน(ประจุไฟฟ้าบวก)  และนิวตรอน (เป็นกลาง)จะรวมอยู่ในอะตอมของสะสารทุกชนิด ซึ่งรวมกันเป็นนิวเคลียส (nucleus)  จำนวนของอิเล็คตรอนและจำนวนโปรตรอนใน 1อะตอมจะมีปริมาณที่ไม่เท่ากัน   การอยู่กันของอิเล็คตรอนและโปรตรอนจะอยู่กันในลักษณะการดึงดูดซึ่งกันและกัน (เรียกว่ามีสมดุลย์ซึ่งกันและกัน)
  • ที่นี้  ถ้ามีการกระทำจากแรงภายนอก  ซึ่งก็เป็นเหมือนกรณีที่ ด.ร.วิลเลี่ยม แกเอาแท่งอำพันไปถูกับขนสัตว์  (ประมาณนั้น)  การทำแบบนี้จะทำให้อิเล็คตรอนที่อยู่ชั้นนอกที่สุดหลุดวงโคจร  ซึ่งถูกเรียกเป็น “Free Electron” หรือก็คือ อิเล็คตรอนอิสระนั่นเอง  เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว  ในอะตอมก็จะเกิดการเสียสมดุลย์เกิดขึ้น เพราะว่าจำนวนอิเล็คตรอนกับโปรตรอนจะไม่เท่ากัน  โปรตรอนก็จะทำการดึงดูดอิเล็คตรอนที่อยู่ข้างๆมาแทนที  เพื่อรักษาสมดุลย์ของตนเองไว้  ซึ่งลักษณะที่เกิดเช่นนี้  เราจะถือว่ามีการเคลื่อนตัวของอิเล็คตรอน ซึ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า การเกิดกระแสอิเล็คตรอนนั่นเอง

คำศัพท์ เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า

  • แรงไฟ (มีหน่วยเป็น โวลท์  หรือ V.) เราอาจจรู้จักในคำว่า แรงเคลื่อน แรงดันไฟ ความต่างศักย์ เหล่านี้ ถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน  ก็คือ แรงที่จะนำพาให้กระแสไปไปเลี้ยงวงจรนั่นเอง
  • กระแสไฟ (มีหน่วยเป็น แอมแปร์ หรือ Amp) เป็นสิ่งที่ทำให้วงจรต่างๆ ทำงานได้ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรต้องการกระแสไฟ  แต่กระแสไฟจะต้องถูกแรงเคลื่อนไฟนำพาไปในตัวนำไฟฟ้านั่นเองครับ
  • กำลังไฟ (มีหน่วยเป็น วัตต์ หรือ Watt) เป็นสิ่งที่บอกถึงความสามารถในการทำงานของวงจร หรืออุปกรณ์นั้นๆ นั่นหมายถึงว่า เมื่อวงจรทำงาน จะดึงกระแสไฟมาใช้ เมื่อมีการดึงกระแสไฟมาทำงาน ยิ่งวงจรทำงานหนักขึ้นก็จะดึงกระแสเข้ามาเสริมมากขึ้นตาม  เมื่อกระแสถูกดึงมาใช้มาก  ก็จะเกิดความสิ้นเปลืองของกระแสมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เราจะถือว่าเป็นกำลังไฟที่ถูกใช้ไปใน 1 ชั่วโมงนะครับ
  • ตัวนำทางไฟฟ้า หมายถึงวัสดุที่มีความต้านทานต่ำมากๆ จึงทำให้กระแสไฟสามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านวัสดุนั้นไปได้ง่าย ตัวนำชนิดนี้เช่น  เหล็ก ทองแดง หรือโลหะทุกทชนิด เป็นต้น
  • ฉนวนทางไฟฟ้า หมายถึงวัสดุที่มีความต้านทานสูงมากๆ จึงทำให้กระแสไฟไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ผ่านวัสดุนั้นไปได้ง่ายๆ นั่นเอง วัสดุชนิดนี้เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง ไม้แห้ง ฯลฯ ที่ไม่อยู่ในความชื้นครับ

 

คำถามท้่ายบท

  • เข้าใจว่ายังไงครับ…ระหว่าง อะตอม กับ นิวเคลียส ?
  • ตอบกันได้ไม๊ครับว่า…กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร   ?
  • ทราบกันหรือยังครับว่า  อิเล็คตรอนเป็นประจุบวก หรือลบ ?
  • ตกลงว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรอิเล็คทรอนิคส์เป็นกระแสอิเล็คตรอน หรือกระแสโปรตรอน ?

 


เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : ขดลวดทองแดงที่อยู่ในภาคไฟของโน๊ตบุ๊ค ผ่าดูภายใน???

$
0
0
  • เคยสงสัยกันบ้างไม๊ครับ  ทุกท่านที่เอาแต่ซ่อม น้องๆช่างใหม่ทุกท่าน ได้ค่อยมีเวลาที่จะอยากรู้อยากเห็นอะไรแบบผมบ้างหรือเปล่า  แต่ถ้าไม่มีเวลาหละก้อ  แวะมาดูกันตรงนี้ชัดๆ ว่าใน Coil หรือเจ้า L ที่ใช้อยู่ในระบบภาคไฟของโน๊ตบุ๊คนั้น โครงสร้างภายในจะเป็นเช่นไร
  • Coil ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค จะเป็นแบบแกนอากาศ ครับ  คือพันรอบตัวเองแบบในรูปด้านล่างนี้  ทำหน้าที่ร่วมกับ Mosfet เป็นแบบวงจรสวิชชิ่งความถี่สูง
  • ผู้เขียนได้ถ่ายจากบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค และได้แกะออกให้ดูโครงสร้างภายใน  เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เรียนรู้นะครับ

  • ส่วนกรณีของคอลย์ประเภทที่มีการพันรอบแกน ส่วนใหญ่จะใช้ในวงจรภาคไฟ  ที่ถูกนำไปทำหน้าที่ในการฟิลเตอร์(Filter)ความถี่สูงมากกว่าครับ เราจะเรียกคอลย์ประเภทนี้ว่า “โช๊ค”
  • จากรูปด้านล่างนี้ รูปแรก,รูปที่สองและรูปที่สี่ จะเป็นคอลย์ที่พันแบบไม่มีแกนใช้ในเมนบอร์ดพีซี ส่วนรูปที่สามเป็นคอลย์ที่นำไปใช้ในวงจรสวิชชิ่งของโน๊ตบุ๊ค
  • การที่จะบอกว่านำคอลย์ไปใช้ทำหน้าที่อะไรนั้น  คงต้องดูลักษณะของการต่อวงจร หรือนำคอลย์นั้นไปต่อใช้งานครับ  ซึ่งหากได้นำคอลย์ไปต่อให้ไฟไหลผ่านโดยไม่มีการทำงานร่วมกับทรานซิสเตอร์ หรือมอสเฟต  ส่วนใหญ่จะเป็นการทำฟิลเตอร์ความถี่สูง เพื่อไม่ให้มีสัญญาณความถี่สูงไปรบกวนการทำงานในกระแสไฟนะครับ
  • แต่ถ้ามีการนำคอลย์ไปต่อให้กระแสไฟไหลผ่าน และมีการทำงานร่วมกับ ทรานซิสเตอร์และหรือมอสเฟตแล้วหละก้อ  นั่นหมายถึงเป็นการนำคอลย์ไปทำหน้าที่เป็นวงจรในสวิชชิ่งของระบบไฟ เพื่อจ่ายให้แก่วงจรนั่นเองครับ

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : การวางไอซีพลั้น (PWM)

$
0
0
  • ความสำเร็จของการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  จะต้องมีทักษะที่ดี และมีความรอบครอบ ความละเอียดต่องาน ไม่งั้นแล้ว จะทำให้บอร์ดของลูกค้าเกิดความเสียหายอย่างมาก  จนอาจนำไปสู่การไม่สามารถจะซ่อมให้กลับมาได้อีก (ทั้งๆ ที่ควรจะจบได้อย่างสวยงาม)
  • เพื่อนๆสมาชิก www.repair-notebook.com ที่ให้ความสนใจในบทความทุกท่าน  ในวันนี้  จะขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับการวางไอซีพลั้น ไอซีภาคไฟที่มีขาหลายๆ

 

RP-0451

RP-0448

  • จากรูปด้านบนนี้  จะเป็นส่วนของไอซีพลั้น ไอซีภาคไฟ ที่ถูกวางไว้ด้วยลมร้อนไปแล้ว    หลายๆ คนอาจจะไม่สนใจรายละเอียดของขาต่างๆ หลังวางด้วยลมร้อน  ก็จะทำการทำความสะอาดด้วยทินเนอร์หรือโซเว้นท์  จากนั้นก็จะต่อไฟเข้าวงจร แล้วก็จะลุ้นผล
  • สำหรับช่างใหม่ ทักษะน้อย  จะเจอดีหละ..อาจควันขึ้น ไอซีไหม้เลยก็เป็นได้ครับ  ทักษะและประสพกราณ์  สำคัญครับ   (แต่ถ้าอ่านจากบทความนี้ก็เท่ากับได้รับประสพการณ์ไปเต็มๆเลยหละ)

RP-0447

 

  • ส่วนเทคนิคในการดูแลเรื่องขาของไอซีพลั้นที่เราวางลงไปแล้วนั้น  ก็คือ ให้เราฟลั๊กทาที่ขารอบๆตัวไอซี จากนั้นให้ใช้หัวแร้งปลายแหลมเล็ก ค่อยๆ ลากผ่านขาทีละขาทั้งหมด ทีละฝั่ง    แล้วตรวจด้วยแว่นขยาย  เพื่อดูว่า ขามีการเชื่อมติดกับปริ้นทุกขาแล้ว  แค่นี้ ก็จะทำให้ไอซีที่เราวางไปมีความสมบูรณ์ของขา  และถ้าทำตามนี้แล้ว  โดยภาครวมจะไม่ค่อยเกิดการไหม้ที่ตัวไอซีอีก

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : การจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

$
0
0

Somdai.com+Repair-notebook.com เป็นเว๊ปเดียวกันนะครับ

  •  บทเรียนนี้ผู้เขียนเพียงต้องการสื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงลักษณะการจัดวงจรภาคไฟเลี้ยงชุดต่างๆที่มีอยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ไม่ว่าจะเป็นไฟเลี้ยงแสตนบาย 3.3 /5  ไฟเลี้ยงแรม 1.8/2.5/1.5 ไฟเลี้ยง CPU 1.5 V. ก็ตาม  จะเห็นว่ามีองค์ประกอบด้านการวางอปกรณ์เหมือนๆกันแทบทั้งสิ้น  มันเป็นอย่างไรกัน  เรามาลองคำอธิบายดังต่อไปนี้ครับ
  • จากรูปถ่ายจริง บนเมนบอร์ดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งผมมองดูแล้วว่า ครอบคลุมแล้ว และผมก็ได้จัดกลุ่มของการจัดวงจรไว้แล้วด้วยกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง เราจะเห็นว่ามันมีทั้งหมดสองชุดด้วยกัน  ทีนี้มันจะมีไฟเลี้ยงออกไปเลี้ยงวงจรกันเท่าไหร่  ถ้าเราไม่มีวงจรดู เราก็ต้องวัดแรงไฟที่ตรงคลอย์ (Coil) หรือตรงขั้วบวกของ Condensor ก็จะได้แรงไฟออกมานะครับ

VoltRAM1

ขออธิบายการทำงานของวงจรจาก Schematic ของรูปด้านบนนี้ครับ

  • จาก รูปผมขออธิบายดังนี้ก็คือ  วงจรภาคไฟที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คนั้น   ซึ่งได้มาจาก การทำงานของ IC Pulse (IC สร้างความถี่พลั้น (Pulse) ที่จะสร้างความออกไปไบอัสที่ขา gate ของ mosfet, Mosfet transistor และ Coil+Condensor ทำหน้าที่เป็นวงจร Filter อีกทั้งมี Zener Diode คอยป้องกันแรงไฟไม่ให้ไหลเกิน เพื่อให้วงจรไม่เสียหาย

ทีนี้เวลามันทำงาน มันมีวิธีการอย่างไร เรามาดูกันนะครับ

  • พลั้นซ์(Pluse)ความถี่ที่เป็น Hi จากIC ขาที่ 26 ผ่านเข้าขา gate ของ Q1 ทำให้ Q1นำกระแสไฟไหลผ่านไปยัง Coil โดยมี D1 ซีเนอร์ไดโอดควบคุมระดับแรงไฟให้คงที่ และผ่านไปยัง C3 (condensor ) เพื่อ ประจุกระแสไฟเก็บไว้ รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นวงจร filter กระแสไฟให้เรียบนิ่ง ไม่มี Noise (สัญญาณรบกวน)
  • จากนั้นเมื่อความถี่เป็น Low จากขา 27 ของ IC  PWM  ก็จะทำให้ mosfet ตัวที่สอง Q2 นำกระแสได้ ก็จะดึงไฟที่ประจุใน C3 ให้ไหลผ่านลงกราวด เพื่อให้ครบวงจร

ใน 1 cycle  ก็คือ การทำงานของความถี่หลายๆครั้งใน 1วินาทีนั่นเองครับ เช่นความถี่ Hi, Lo ทำงานสลับกัน 50 ครั้งใน1วินาที เป็นต้น)

ซึ่งผู้เขียนจะเน้นให้ท่านจับจุดมันให้เจอว่า…จริงๆแล้วภาคไฟไม่มีอะไรที่ยุ่งยากมากนัก(แต่ถ้าเข้าใจได้ดี การซ่อมภาคไฟก็กินเปอร์เซ็นต์การซ่อมไปมากส่วนแล้วบนเมนบอร์ด)

max8743

การจัดวางวงจร

  • IC Pulse (ในตัวอย่างวงจรในรูปด้านบนนี้ คือเบอร์ Max 8743) จะทำหน้าที่สร้าง Pulse หรือก็คือจังหวะการทำงานของสัญญาณ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของ Mosfet ให้ on  off ตามจังหวะที่ได้รับมา  ออกไปเป็นแรงไฟตามที่ต้องการตามสเป็คของ IC Pulse นั้นๆ  แต่การทำงานของวงจรจะสมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ว่า IC Pulse ตัวเดียวแล้วได้แรงไฟที่ต้องการเลยนะครับ  Mosfet อีก 2 ตัว ในวงจร จะทำงานในสภาวะที่แตกต่างกันของ Pulse ที่ออกมาจาก IC ในจังหวะ HI , และ LO
  • mosfet ตัวที่หนึ่ง Q1 (ในวงจรรูปทางด้านบนนี้  มันจะอยู่ทางด้านซ้าย  ตรงที่ขา 26ของ IC ป้อนสัญญาณไปนั่นแหละครับ) Mosfet Q1 จะมีแรงไฟมาเลี้ยงรอไว้แล้วนะครับ  รอไว้ที่ไหน  ตอบ รอไว้ที่ขา Drain ของ Q1 นั่นเอง (ขาDrain ของ Q1 ตัวนี้ในวงจร ก็คือขาที่ต่อมาจากขา4ของ IC ซึ่งก็จะมีไฟเลี้ยงได้ตั้งแต่ 7 – 24โวลท์ (ส่วนใหญ่จะมีประมาณเท่ากับแหล่งจ่าย  แต่จากในวงจรด้านล่างนี้  เขากำหนดให้อยู่ระหว่าง 7-24 โวลท์ นั่นแสดงว่า IC Max 8743 ตัวนี้ รองรับแรงไฟได้ตั้งแต่ 7 – 24 โวลท์  ซึ่งจะทำให้ IC ยังสามารถทำงานได้นะครับ)
  • ที่นี้หากท่านได้เห็น Q1 แล้วสังเกตุให้ดี จะเห็นว่า Q1 จะมีการต่อแบบอนุกรมกับ Q2 โดยขา Source ของ Q1 จะต่อร่วมกับขา Drain ของ Q2 และขา Sorce ของ Q2 จะต่อเข้ากับขา 28 และใช้ R1 ต่อลงกราวด์ของวงจรนะครับ
  • Coil 2.2 uH จะต่ออยู่ระหว่าง Q1 กับ Q2 ซึ่งมี D1 ทำหน้าที่ควบคุมระดับแรงไฟอีกที (เป็นเสมือน Protec นั่นเองครับ)  C3 ความจุ 470 uF จำนวน 3 ตัว(ตามวงจรนะครับ) ทำหน้าที่ Filter กระแสไฟหลังผ่าน Coil เพื่อให้เรียบพร้อมใช้งาน (ซึ่งจะมองกันเป็นวงจร Low pass Filter )

รูปการต่อ L, C เป็นวงจร Low pass Filter

  • วงจร low pass filter มีลักษณะการต่อคือ ใช้ L (คอลย์) อนุกรมกับวงจร และ C (Condensor) ขนานกับวงจร คุณสมบัติของวงจรก็คือ เมื่อเราป้อนความถี่ ต่ำเข้าวงจร L จะมีค่า XL ต่ำ C จะมีค่า XC สูง ทำให้ความถี่ ต่ำผ่าน L ได้สะดวก ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้มาก แต่เมื่อความถี่สูงกว่าจุดที่กำหนด ค่า XL จะมากขึ้น ค่า XC จะลดลง ทำให้ความถี่ ผ่านขดลวดได้ลดลง บางส่วนที่ผ่านไปได้ก็จะถูก C ดึงลงกราวด์ ระดับสัญญาณ Output จึงผ่านได้น้อยมาก

สรุปการเรียนในบทนี้

  • องค์ประกอบในชุดภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง
  • ท่านตอบได้หรือยังว่า ระหว่าง mosfet สองตัว Q1,Q2 ตัวไหนทำงานก่อนกัน  มีเหตุผลใดมาอธิบาย
  • PWM มาจากคำเต็มว่าอะไร
  • Condensor ในวงจรนี้ทำหน้าอะไร
  • Zener Diode ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร
  • Mosfet ในวงจรนี้ทำหน้าที่อะไร

ทิป

การหาภาคไฟในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ให้สังเกตุ Coil ก่อน  ที่ไหนมีคอลย์ ก็จะต้องมี mosfet อยู่ใกล้ๆ ไม่หนึ่งตัว ก็สองตัว ไม่สองตัว ก็สาม ไม่สาม ก็สี่ มันแล้วแต่การจัดวงจร และโหลดที่ทำงานต้องการกระแสไฟมากน้อยแค่ไหนด้วยนะครับ

ต้องการเรียนเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ www.repair-notebook.com คลิ๊กติดต่อลงทะเบียนได้เลยที่นี่นะครับ

 

 

เรียนซ่อมวงจรเมนบอร์ด : อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า เจอสองเด้ง…

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก และท่านผู้สนใจในความรู้ด้านการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คทุกๆท่าน   วันนี้ www.repair-notebook.com ได้เปิดคลังความรู้ให้ผู้สนใจทุกท่านได้เรียนรู้เป็นแนวทางและนำไปสู่การต่อยอดในการเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเป็นอาชีพ กันต่อไปครับ
  • หัวข้อของบทความในครั้งนี้ ได้เขียนไว้ว่า “อาการเปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า  เจอสองเด้ง”  มันเป็นยังไง ลองมาอ่านบทความกันดูนะครับ
  • Mainboard Acer 4750G ของลูกค้าที่เป็นร้านซ่อมคอมฯ แต่ได้ส่งงจากหาดใหญ่ให้ทาง www.repair-notebook.com เป็นผู้ซ่อมให้ประจำกันนั้น  มีอาการในการส่งมาครั้งแรกในเดือน 6/2558 ด้วยอาการเปิดไม่ติด

Dcin-4750G

  • 4750-1แนวทางในการตรวจเช็ค ก็มุ่งเน้นไปที่กรณีเปิดไม่ติดนั้น เพราะว่าไฟ 19 โวลท์ จาก อะแดปเตอร์ไม่สามารถผ่านเข้าบอร์ดได้  ก็เลยตรวจเช็คไปเจอตัว Zener Diode ที่หลังคอนเน็คเตอร์ของ DC in เกิดช้อต  ก็ทำให้งานซ่อมนี้จบไปด้วยเวลาเพียง 5 นาที  จากนั้นก็ทำการส่งกลับไปยังหาดใหญ่
  • หลังจากนั้นต่อมา ประมาณ 15 วันเห็นจะได้  เครื่องนี้ก็ถูกส่งมาให้ซ่อมซ้ำอาการเดิมอีก  ทาง www.repair-notebook.com ก็เลยต้องขออะแดปเตอร์ของลูกค้ามาด้วย เพื่อจะได้ตรวจเช็คว่า อะแดปเตอร์มีแรงดันไฟคงที่ หรือสวิงเปลี่ยนแปลงตลอดหรือไม่
  • เมื่อได้รับบอร์ดและอะแดปเตอร์เข้ามาแล้ว ก็ทำการตรวจเช็คอะแดปเตอร์เพื่อดูแรงดันไฟฟ้าของอะแดปเตอร์ตัวของลูกค้าก่อน ผลก็คือ เป็นแรงไฟที่ระดับ 19 โวลท์ โดยประมาณ ไม่สวิง(ใช้ ย่าน AC เช็คความถี่

  • การดำเนินการตรวจซ่อมเครื่อง ซ่อมซ้ำอาการเดิม ได้เริ่มต้นด้วยการจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องตรงช่องทางเข้าปรกติ  และดำเนินการวัดแรงไฟที่จ่ายเข้าสู่วงจร  อั่นแน่…ไม่เป็นการช้อตแบบครั้งแรกที่ซ่อมไปนี่…คราวนี้ เลยต้องไปเช็คไฟ 3.3/5 โวลท์ที่ตำแหน่งชุดไฟนี้

4750-3   4750-5

  • หายครับ  ไฟ 3.3/5 โวลท์ ปรกติต้องมีก่อนเลยในรุ่นนี้  มันหายไปหมด ครับ  วัดที่ขาไฟตามตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ขา 16 ไฟเลี้ยงวงจร , ขา 17 ไฟ 5V.reg, ขา 2 ไฟ REF 2V. ขา 8 ไฟ 3.3 V.reg ,ขา 13 ไฟ En  และก็ได้ข้อสรุปว่า ต้องเปลี่ยน PWM ชุดนี้  หลังเปลี่ยนเสร็จก็ได้ไฟ 3.3 – 5 V. มาเป็นปรกติ  แต่ บอร์ดทำงานเองเลย และกินกระแส 0.3 Amp. ซึ่งควรจะเป็น 0.01 Amp(ขณะที่ยังไม่กดสวิทช์ออน)
  • เลยพิจารณาถึงว่ามีวงจรที่เกิดการช้อตหละ…ผลสุดท้ายก็ไปพบว่า ชุดไฟ Vcore ของ CPU มี IC PWM ภาคไฟ ร้อนมากๆ เลยต้องถอดออกและตรวจเช็ค Fet และ RCL รอบข้างของ PWM นี้ด้วย เพื่อดูว่ามีตัวไหนช้อต หรือขาดเพิ่มเติมไม๊  และผลสุดท้ายก็เปลี่ยนเสร็จ ก็จบงานได้หละครับ

4750-3

ภาพด้านบนนี้เป็นภาพของ IC ภาคไฟของ Vcore (ไฟเลี้ยง CPU) รวมถึง Mosfet และ C ที่ถอดออกมาพื่อตรวจดู ดี เสีย

4750-2

ภาพด้านบนนี้ เป็นตำแหน่งของ IC Vcore ที่ถูกถอดออกเพราะตัว IC มีความร้อนสูง เนื่องจากช้อตภายในตัวของมันเอง

20150610_214428ภาพด้านบนนี้ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่า หลังจากได้เปลี่ยน IC Vcore ภาคไฟ CPU ที่ช้อต แล้ว เครื่องก็สามารถเปิดติด มีภาพได้นั่นเอง

  • โดยบทสรุปของการซ่อม แสดงให้เห็นว่า เราอาจจมองไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจนมากนัก  ของอาการที่จะเกิดขึ้นต่อไป  การซ่อม ในเฉพาะปัจจุบันให้เกิด และทดสอบให้ผ่าน และดูโดยรวมของเครื่อง ก็ถือเป็นความละเอียดรอบคอบของผู้เป็นช่างนั้นๆ แล้ว   ส่วนเมื่อส่งเครื่องกลับสู่ลูกค้าแล้ว จะเกิดอาการในลักษณะเดิม หรืออาการใหม่ เราก็ใช้สิทธิการให้ประกันแก่ลูกค้ามาดำเนินการแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้านั้นๆ เป็นเคสๆ ไป  ครับ  การที่เราจะซ่อมเครื่องด้วยอาการหนึ่งและจะไม่ให้เกิดอีกอาการใดๆ ต่อไปในช่วงรับประกัน หรือนอกประกันไปแล้วก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้อย่างแน่นอนครับ  เพราะด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ เรื่องด้วยกันครับ

**สนใจเรียนซ่อม, หรือส่งงานซ่อม กับทีมงาน www.repair-notebook.com สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH/notifications/ ซ่อมด้วยหลักการและด้วยเครื่องมือที่มีคุณภาพ 

เรียนซ่อมบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : อาการเปิดไม่ติด ปิดไม่ได้ กดสวิชท์เครื่องไม่ทำงานเลย Asus X44H

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกและท่านผู้สนใจในบทความทุกท่าน  การเป็นช่างซ่อมที่ดีนอกจากจะต้องมีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและมประสพกราณ์ในงานที่มากแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้จักคำว่า จรรยาบรรณของการเป็นช่างด้วยนะ  เพราะจะทำให้ร้านของท่านเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ใช้บริการ ว่าเป็นร้านที่ดี ดี๊ ดี..ซ่อมเก่ง แถมทำงานเรียบร้อย ไม่สับเปลี่ยนอะไหล่โดยไม่แจ้งลูกค้าให้ทราบถึงเหตุผลของการสับเปลี่ยน  ทั้งๆ ที่ทางร้านนั้นทำเพื่อประโยชน์ของคุณลูกค้าก็ตาม
  • เอ้..วันนี้ทำไม www.repair-notebook.com จึงเกริ่นหัวเป็นเรื่องจรรยาบรรณหละ เห็นเขียนอาการไว้ ว่า“เปิดไม่ติด กดสวิชท์เครื่องไม่ทำงานเลย Asus X43H” มันคนละเรื่องแล้ว..555
  • ไม่ผิดหัวข้อหรอกครับในวันนี้   เพราะสิ่งที่จะนำมาแนะนำในวันนี้จะเป็นเรื่องของคำว่าจรรยาบรรณมาเกี่ยวข้องจริงๆ ครับ
  • ลูกค้าจาก จังหวัดเพชรบุรี ได้ส่งเครื่องให้ทาง repair-notebook.com รับซ่อม เป็นเครื่อง Asus รุ่น X43H แท่นเครื่อง K43L(ไม่มี VGA ,HDMI) ถ้า K43LY (มี VGA,HDMI)  อาการที่ส่งมาให้ซ่อมก็คือ  “เปิดไม่ติด ปิดไม่ได้” 
  • ลักษณะของอาการเป็นยังไงหละ… กล่าวคือ เครื่องนี้  ถ้าจะใช้งานจะต้อง ดึงสายชาร์จแบตตออกก่อน  แล้วจึงเสียบเข้าไปใหม่  เครื่องถึงจะติด มีภาพ ทำงานได้ตามปรกติ , ถ้ามีการใช้แบตอย่างเดียว  ก็จะต้องดึงแบตออก แล้วเสียบเข้าไปใหม่ เครื่องจึงจะทำงานมีภาพ ใช้งานได้ตามปรกติเช่นกัน   ลูกค้าแจ้งว่า อาการนี้เกิดขึ้นหลังจากส่งไปซ่อมที่ร้านซ่อมในกรุงเทพ และก็ได้อาการนี้กลับมา

 

20150723_063741

 

  • ทางร้านเดิมได้ทำการแก้ปัญหาให้กับลูกค้าที่เปิดไม่ติด  ด้วยการถอด ถ่าน CMOS ออก แล้วก็บอกลูกค้าว่า เวลาจะใช้ก็ให้เสียบสายชาร์จเข้าไปเครื่องจึงจะทำงานได้  ลูกค้าก็ใช้อยู่สักระยะหนึ่ง  จึงตัดสินใจส่งซ่อมที่ Repair-notebook.com  และเราก็แจ้งในสิ่งที่ลูกค้าได้ถูกร้านซ่อมเดิมทำไว้ คือ”การถอดถ่าน CMOS ออก เพื่อให้เครื่องทำงานได้เอง โดยไม่ต้องกด Power Switch  “ตรงนี้แหละที่เราพูดถึงคำว่า จรรยาบรรณ ช่าง”

*******************************************************************

ลูกค้าส่งให้ทาง repair-notebook ซ่อมด้วยอาการว่า ถ้าจะใช้เครื่องจะต้องเสียบสายชาร์จเข้าไป เครื่องถึงจะทำงานได้ (ถ้าสายชาร์จถูกเสียบอยู่ก่อน จะกด Power On Switch) เพื่อเปิดเครื่องไม่ได้   ถ้าจะให้เครื่องทำงานจะต้อง ถอดสายชาร์จออกแล้วเสียบเข้าไป)

  • คราวนี้มาเข้าบทความรู้ที่เราจะแนะนำให้สำหรับรุ่นนี้กัน  Asus K43,K43Y บอร์ดรุ่นนี้  เวลาที่เราทำการถอด CMOS Battery หรือถ่าน CMOS ออกนั้น  หากเราได้เสียบสายชาร์จเข้าเครื่่อง หรือ เสียบก้อนแบตเข้าเครื่อง  เครื่องจะทำงานได้เอง  แต่แน่นอนว่า วัน เวลา จะไม่มีการตรง หรือเป็นปัจจุบันอย่างแน่นอน  นอกเสียจากเราต้องไปตั้งค่าของ วัน เวลา ใหม่ทุกครั้ง   และเครื่องรุ่นนี้  ชุด ไฟ3.3/ 5 โวลท์ ก็จะเกิดขึ้นทันที หลังจากเสียบสายชาร์จเข้าเครื่อง  อีกเรื่องนึง  บอร์ดรุ่นนี้ สามารถทดสอบด้วยจอนอกได้ โดยไม่จำเป็นต้องต่อจอใน(หากทดสอบเรื่องการเกิดภาพในเบื้องต้น)
  • สิ่งที่ตรวจพบจากการแกะเครื่องลูกค้าเจ้านี้มา ก็คือ RTC Batt ก้อนกลมๆ CR2032 หายไป  อ้อ…เข้าใจหละ  ทางร้านเอาออกไป เพื่อให้เครื่องทำงานได้เอง เพราะทางร้านไม่สามารถหาสาเหตุของการที่กดสวิทช์ให้เครื่องทำงานไม่ได้นั่นเอง

แนวทางการซ่อมสำหรับอาการนี้

ให้มุ่งไปที่ตำแหน่งต่างๆ ต่อไปนี้

  • ตัวสวิทช์เปิดปิด  ใช้โอมห์มิเตอร์วัดดู การทำงาน ว่า ดี เสีย
  • สายแพรของสวิทช์ ใช้โอมห์มิเตอร์ วัดดูการขาดต่อของสายแพร(พบมากคือสายที่มีการพับ และหักอยู่ภายใน)
  • ตำแหน่ง connector ที่ไว้สำหรบต่อสายแพรของชุดสวิทช์ ดูถึงตำแหน่งพินทองแดงสกปรกหรือไม รวมถึง จุดบัดกรีที่ปริ้นกับตัว connector ว่าหลุด ร่อน ไปหรือไม่

20150723_064442

***เป็นยังไงกันบ้างหละ…ตรวจสอบแล้วก็ยังสมบูรณ์เป็นปรกติ ของอุปกรณ์นั้นๆอยู่หรือไม่  ถ้าเป็นอยู่  คราวนี้หละที่จะต้องมองไปถึง เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างชุดของคำสั่ง Switch ไปยังตัวควบคุม (I O Controller) ซึ่งพอมองตรงจุดนี้แล้ว สิ่งที่เราควรทำต่อมาคือ  ไปยังตำแหน่ง รอบๆ ตัวของ IO ใช้เวลาสักนิด  ส่งด้วยแว่นขยายกำลังสูง(แว่นส่องพระ ที่กำลังขยายสูง)  มองให้ทุกตำแหน่งรอบๆ ตัว รอบๆ ขา ของ IO  เพื่อความชัดเจนว่าไม่มีการกร่อน ร่อน ขาหัก R แตก R หลุดเลื่อน ฯลฯ ่

RP-0463

สำหรับกรณีของเครื่องตามบทความในวันนี้  repair-notebook.com ได้เจอกับตำแหน่งR ที่มีความสำคัญกับตำแหน่งของชุดสวิทช์และตัว IO นั่นคือ ตำแหน่งตามรูปด้านล่างนี้  ซึ่งโดนน้ำหยดใส่หละ…นานแค่ไหนไม่รู้  แต่บอกได้ว่า  อย่าเพิ่งบัดกรีลงไปหละ   เพราะมันอาจบัดกรีไม่ติดในทันที

เพื่อนๆจะต้องทำความสะอาดลายปริ้น  ในตำแหน่งนี้ แล้ว ขูดลายปริ้นให้เห็นทองแดงก่อน  จากนั้น ค่อย บัดกรีลงไปใหม่ จะทำให้ตำแหน่งบัดกรีกับตัวอุปกรณ์ที่โดนน้ำ เชื่อมต่อกันได้เป็นปรกติเหมือนเดิม

 

***สำหรับกรณีศึกษาในวันนี้ ก็จบด้วยการค้นหาตำแหน่งของการกร่อน ร่อน ของปริ้น และอุปกรณ์ จนเจอ และก็แก้ปัญหาให้หายได้อย่างสวยสด งดงาม  ลูกค้าสามารถที่จะกดเปิดปิดจากสวิทช์ ได้ตามปรกติ เหมือนเดิมทุกประการ

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  อย่ามองข้ามจุดเล็กๆ น้อย   ต้องใช้หลัก “ตาดู หูฟัง มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น” มาประกอบด้วยทุกครั้งในการซ่อมนะครับ

ท่านที่มีความสนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คกับ repair-ntoebook.com สามารถติดต่อได้ทางช่องทางต่างๆ ที่เราจัดเตรียมไว้ให้ดังนี้

www.repair-notebook.com

https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH

ด้วยคามปราถนาดีจาก

repair-notebook.com

เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค : วิธีการปลดล็อครหัสผ่านของรุ่น IBM Think pad

$
0
0

วิธีการปลดล็อครหัสผ่านของรุ่น IBM Think pad

  • เมื่อเวลาที่เราเปิดเครื่องคอมใช้งานแล้วบังเอิญว่า ติดรหัสผ่าน เป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าใช้งานเครื่องได้  สิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้และลองดำเนินการดูก่อน  ควรจะเป็นขั้นต่อไป
  • หากรหัสผ่านของคุณ POP (เปิดรหัสผ่าน) ต้องถอดแบตเตอรี่สำรอง CMOS Batter ออก เพื่อจะเป็นตัดการจ่ายกระแสไฟให้แก่วงจรที่ สำหรับวิธีการของการเคลีย์ ในรุ่น Thinkpad  T20, T21, T23 ใน http: //www.ibm.com/

RP-0466

แบบที่1 วิธีการเคลีย์ password Think pad

  1. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. ถอดก้อนแบตเตอรี่ (Cmos Batter)
  3. ถอดแบตเตอรี่สำรอง(Battery Pack)
  4. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และรอจนกว่าเครื่องจะทำการ POST เมื่อเครื่องเปิดติดมีภาพ แล้ว Password จะหายไปแล้ว
  5. ติดตั้งแบตเตอรี่สำรองและก้อนแบตเตอรี่ กลับเข้าที่เดิม และเปิดเครื่องใช้งานตามปรกติ

แบบที่2 สำหรับการแก้ไข password กรณีเป็น Supervisor Password 

  • ไอบีเอ็มจะไม่ได้ให้บริการใด ๆ ที่จะทำให้การตั้งค่า password แบบ Supervisor ที่จะสามารถเคลีย์ได้ด้วยวิธีการในแบบที่ 1 ดังนั้น ผู้ใช้ควรจะต้องมีความรู้ด้านระบบเครื่องเป็นอย่างดี โดยต้องใช้การอ่านค่าจากหน่วยความจำ Password นั้นออกมา และทำการแก้ไขค่าเหล่านั้นออก จากนั้นให้ทำการบันทึกข้อมูลที่มีการแก้ไขใหม่แล้วลงไปใน หน่วยความจำROMนั้นอีกครั้ง และทำการเปืดเครื่องทำงาน  (หากไม่มีความผิดพลาดใด  Password รูปกุญแจที่เราเห็นนั้นจะหายไป  และสามารถเข้าสู่หน้าจอของ BIOS Setup ได้อีกครั้งเหมือนเดิม
  • ความลับของการล้างรหัส IBM Thinkpad มันอยู่ตรงนี้นี่เอง…

RP-0470

RP-0475

 

RP-0480

สนใจเรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค กับ repair-notebook.com หรือส่งเครื่องซ่อม กรุณาติดต่อได้ที่  https://www.facebook.com/RepairNotebook.TH 

เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค : คู่มือการใช้ เครื่องโปรแกรมรอม MiniPro TL866CS

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆและท่านผู้สนใจทุกท่าน  สำหรับวันนี้ทาง Repair-notebook.com ได้จัดทำคู่มือการใช้เครื่องโปรแกรมรอมยอดนิยมในราคาประหยัดชื่อของเครื่องคือ  MiniPoro รุ่น TL866  ซึ่งเจ้าเครื่องมินิโปรเครื่องนี้เป็นเครื่องโปรแกรมรอมที่ใช้ Port USB เป็น Interface ในการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา  ทำให้การติดตั้งและการทำงาน ง่าย สะดวกสะบาย  และมีความเร็วในการเขียนข้อมูลในระดับ 4 MB. ที่ไม่ต้องเสียเวลากับการรอเวลาเหมือนกับ PCB50 เมื่อสมัย 5 ปีที่แล้วนะครับ  (เพราะ PCB50 ใช้ Interface เป็นแบบ Parallel

Minipro-Free

 

minipro

การใช้เครื่องมินิโปรที่ Repair-Notebook.com นำมาเสนอนี้  รายละเอียดในเรื่องของการอ่าน ,ลบ ,เขียน ต่างๆ  ทาง Repair-Notebook.com ได้จัดทำเป็นไฟล์เอกสารให้เพื่อนสมาชิกทำการ ดาวน์โหลดไปอ่านกันชัดๆ เลยนะครับ  คลิ๊กดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างTraining MiniproTL866  หรือคลิ๊กที่รุปภาพต่างๆ เพื่อทำการเปิดไฟล์เอกสารการใช้ และให้ทำการ Save เก็บไว้ดูกันได้เลยนะครับ

 

Minipro-Free0

 

 

Minipro-Free3

การอ่านรอม  มีวิธีการอย่างไร  (How to Read ROM)ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ Read คือการอ่านข้อมูลในรอมนั้น ให้มาอยู่ใน buffer ของเครื่องโปรแกรม  และผู้ใช้ถึงจะทำการ Save เก็บข้อมูลในรอมนั้นเอาไว้ใช้ต่อไปได้

Minipro-Free2

การลบรอม  มีวิธีการอย่างไร (How to erase ROM)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ Erase คือการลบข้อมูลในรอมนั้น  ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อมูลในรอมที่ถูกคำสั่ง Erase หายทั้งหมด  หากผู้ใช้ไม่มีข้อมูลรอมที่จะเขียน  ก็จะทำให้เกิดปัญหาของการทำงานของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์นั้นๆ ได้เลยนะครับ

 

Minipro-Free4

 

การตรวจเช็คความว่างของเนื้องที่ในรอม  มีวิธีการอย่างไร(How to check blank address)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการ กดคำสั่ง ฺblank test เพื่อทำการเช็คว่าเนื้อที่ในรอมที่จะทำการเขียนข้อมูลลงไปนั้น   ว่างเปล่าหรือไม่  (ขั้นตอนนี้ อาจทำการตรวจเช็คหลังจากใช้คำสั่ง Erase เพื่อยืนยันว่า รอมนั้นได้ถูกลบไปแล้วจริงๆ )

Minipro-Free5

 

การโปรแกรมรอม  มีวิธีการอย่างไร(How to program ROM)  ในคู่มือได้อธบายขั้นตอนไว้ว่า ให้ทำการใส่รอมในอะแดปเตอร์สำหรับรอมตัวถังนั้นๆ  จากนั้น ทำการ Detect ROM เพื่อให้อ่าน ID ของ ROM ให้ถูกต้อง  จากนั้นจึงทำการกดคำสั่ง Program ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนของการทำงานเป็นดังนี้คือ  Erase(ลบ) Blank Test(เช็คความว่างของรอม)Program (เขียนข้อมูลลงรอม)และสุดท้าย Verify (การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใน Buffer กับข้อมูลในตัวรอมที่ได้เขียนเข้าไป  เพื่อเป็นการยืนยันว่า รอมนั้นได้มีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่นำมาเขียนแล้ว

 

**ท้ายนี้ก็ขอฝากเพื่อนๆและผู้สนใจทุกท่าน หากต้องการตัวเครื่องโปรแกรมมินิโปรรุ่นนี้ ก็สามารถติดต่อเข้ามาทาง facebook ของเรา หรือทำการสั่งซื้อในระบบ Shopping Online ได้ที่ www.notebook-shops.com


เครื่องมือซ่อม : BGA Rework เครื่องมือสำหรับจัดการชิพ ที่ช่างซ่อมต้องมีประจำร้าน

$
0
0
  • เครื่องมือสำหรับช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็ว่าได้นั่นก็คือ BGA Rework ซึ่งจะทำหน้าที่ในการให้ความร้อนกับชิ้นอุปกรณ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการจะอบความร้อน ในการจะยกชิพอุปกรณ์ประเภท BGA นั้นออก หรืออาจจะทำการวางชิพ BGA ลงไปใหม่  ซึ่งจะทำให้การวางชิพเหล่านั้นเกิดความสะดวก และปลอดภัย(ถ้าควบคุมความร้อนเป็นนะครับ)
  • ลักษณะของเครื่องที่ใช้ๆ กันก็มีมากมาย แต่ะที่นิยมๆ กันก็เห็นจะเป็นรุ่นที่จะต้องมี แผ่นความร้อน IR , หัวลมร้อนล่างบน (Nozzle) ที่จะทำหน้าที่ในการให้ความร้อนกับจุดที่เราจะถอด ยก เปลี่ยน ชิพ นั้นๆ   ถ้าใช้ความร้อนไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้บอร์ดโน๊ตบุ๊คเกิดการพอง โกร่ง หรือไหม้   แต่ถ้าหากให้ความร้อนในอุณหภูมิที่ต่ำ  ก็จะทำให้การถอด ยก ชิพ ทำได้ยาก  และถ้าหากผู้ทำไม่มีทักษะที่ดีพอ ก็อาจจะทำให้ลายปริ้นใต้ตัวชิพขาดหายไปซึ่งจะทำให้การซ่อมเป็นไปได้ยกมากขึ้น  ดังนั้น ถึงเครื่องมือจะดี  แต่ถ้าผู้ใช้ขาดความชำนาญ ขาดทักษะ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า ที่จะเกิดประโยชน์ต่องานซ่อม

 

 

RP-0505 RP-0503

RP-0501 RP-0500 RP-0499 RP-0498

  • ในคุณสมบัติของเครื่องก็จะมีคล้ายๆ กัน เครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก  ต่างกันที่ขนาด ฟังก์ชั่น  กำลังไฟ  เครื่องที่มีกำลังไฟมากๆ ก็จะทำให้การถอดยกชิพออกได้แบบง่ายขึ้น เพราะความร้อนจะจัดหน่อย  แต่ถ้าเครื่องขนาดเล็ก ก็ใช่ว่าจะยก ถอด ชิพ ไม่ได้เลยทีเดียว  เพราะดังที่กล่าวไว้ว่า  จะต้องมีทักษะและประสบการณ์ที่ดีมากๆ ในระดับนึงเลยหละครับRP-0496 RP-0494 RP-0493 RP-0492 RP-0491 RP-0490 RP-0489 RP-0488 RP-0487

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : Lenovo Ideapad Yoga11 เปิดไม่ติด ออนไม่ได้

$
0
0
  • สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com เว๊ปไซด์เพื่อการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คระบบอาชีพ  ทุกท่านครับ  วันนี้  ได้มีเรื่องราวของการตรวจซ่อมและวิเคราะห์ลักษณะของอาการเปิดไม่ติด หรืออาจเรียกในลักษณะของอาการอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ไฟเข้าแต่เปิดไม่ได้ ประมาณเนี้ยะครับ

RP-0668

 

  • ในเวลาที่ช่างได้รับเครื่องเข้ามาซ่อม ไม่ว่าจะด้วยอาการใดๆ ก็แล้วแต่นะครับ  ผู้ทำการซ่อมจะใช้ทักษะและประสบการณ์ในการตรวจสอบและค้นหาจุดเสียให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ แล้วแต่เทคนิคของแต่ละท่าน  แต่สิ่งหนึ่งที่เวลาเครื่องเสียขึ้นมา  ในลักษณะอย่างเช่นอาการเปิดไม่ติด  ออนไม่ได้  เมื่อได้รับเครื่องมาแล้วก็ลองทดสอบเสียบสายชาร์จดู และถ้าได้ผลตามที่ลูกค้าแจ้ง  ช่างก็จะทำการหาตัวเสีย  ในลักษณะของอาการเสียหนึ่งที่เจอบ่อยๆ ก็ได้แก่ ตัวอุปกรณ์ช้อตไหม้  ซึ่งส่วนใหญ่อีกนั่นแหละ  มันจะเสียในตำแหน่งๆนั้นๆ เพียงตัวเดียวก็เป็นไปได้เช่นกัน  นั่นหมายความว่า ผู้ซ่อมอาจทำการยกตัวเสียนั้นออก และทำการวัดเปรียบเทียบในขณะที่ยังไม่วางตัวใหม่เข้าไป  เพื่อวัดดูค่าโอมห์ของตำแหน่งขาสำคัญๆ ของอะไหล่ชิ้นนั้น  เพื่อดูว่ามันช้อตอยู่หรือเปล่า(ไม่มีตัวที่ช้อต เมื่อยกออก ให้ทำการวัดค่าโอมห์ ถ้าวัดดูแล้วไม่เจอตำแหน่งโอมห์ต่ำ  นั่นแสดงว่าคุณมีโอกาสที่จะวางตัวใหม่ลงไปอย่างไม่ต้องกลัวช้อต

RP-0672

ภาพของ IO Controller ITE IT8561E ของบอร์ด Lenovo Idea pad Yoga 11 ที่ช้อตไหม้ 

RP-0658

  • ในหลายๆ ครั้งของอาการเสียในลักษณะนี้  จะเป็นผลทำให้การออนไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะ IO Controller ช้อตขนาดนี้ ยังไงๆ เราก็ต้องทำการเปลี่ยนก่อนหละ…ถึงจะทำให้ไฟชุด หลัก 3.3/5 v. เกิด และทำให้การออน อาจจะสามารถเกิดได้(ที่ผู้เขียนใช้คำว่าอาจเกิดได้นั้น  หมายความว่า บางทีก็จบ บางทีก็ไม่จบ  เพราะมันอาจจะพบกับปัญหาอื่นๆ ที่ต่อเนื่องหลังจากวาง IO ใหม่เข้าไปแล้ว  ซึ่งตรงนั้น  ผู้เป็นช่างซ่อมก็จะต้องหาหนทางในการดำเนินการซ่อมให้จบต่อไป
  • ความพยายามของผู้เป็นช่าง ย่อมมีอยู่มากเพื่อจะทำให้เครื่องของลูกค้าสามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิม  คุณลูกค้าหละครับ…นึกถึงผู้เป็นช่างเขาบ้างเถอะนะ..ว่ากว่าจะได้งานซ่อมสักชิ้น สักงานนึงที่สามารถสำเร็จลุล่วงได้  มันไม่ได้จบอย่างง่ายๆ อย่างที่คุณลูกค้าอาจนึกเองก็ได้นะครับ

ซ่อมบานพับ notebook ด้วยกาว

$
0
0

 

 

 

 

 

 

 

 

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิก repair-notebook.com ทุกๆท่าน   สำหรับวันนี้จะมาแนะนำการซ่อมในส่วนฐานล็อคจอกันนะครับ
  • สืบเนื่องจากเวลาที่ผู้ใช้เปิดปิดจอ ในบางรุ่นบางเครื่อง จะเกิดปัญหาการหัก หรือแตกที่ตำแหน่งยึดสกูรภายในตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้เราเปิดปิด จอไม่ได้คล่องตัวเหมือนเดิม 20130805_092020
  • การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้  เพียงแต่ผู้ใช้นำกาวอีพ๊อกซี่มาผสมในอัตราส่วนที่เท่ากัน และนำไปปิดประกอบงานที่แตก  ถ้าดีที่สุดคือควรมีซากอะไหล่ที่แตกหัก แล้วเราก็โบก อีพ๊อกซี่ ให้ดูทั่วถึง และแน่นหนา
  • กาวอีพ๊อคซี่ เป็นกาวชนิดสองหลอด ที่จะต้องบีบเนื้อกาวทั้งสองหลอดเข้าผสมกันในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน เพื่อที่จะทำให้แรงยึดเกาะ เหนียวแน่น และแข็งแรง  ส่วนใหญ่แล้ว อีพ๊อกซี่ที่ใช้ๆกันจะมีช่วงเวลาแข็งตัวประมาณ ห้านาที  และจะมีความแข็งแรงเต็มที่หลังจาก ห้าชั่วโมงขึ้นไป

spd_20121128183733_b

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : Lenovo Yoga 500 เปิดไม่ติด อาการประจำรุ่น

$
0
0
สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก และท่านผู้สนใจในบทความของ repair-notebook.com ทุกๆท่าน  update บทความในวันนี้ ขอนำเรื่องของลักษณะของอาการ โน๊ตบุ๊ค ซึ่งเป็นอาการประจำรุ่นของเครื่องรุ่นนี้ก็ว่าได้  เนื่องจากที่ซ่อมๆ มา ลูกค้าหลายท่านที่ซื้อ Lenovo Yoga 500 ไปใช้  แรกๆก็ใช้กันได้อย่างดีอยู่แหละนะ..หลายๆ วันเข้า ก็เริ่มเจอกับปัญหาของการใช้เครื่องแล้ว  นั่นคือการกดสวิทช์เปิดเครื่องให้ทำงาน ไม่ได้  กล่าวคือ  กดสวิทช์แล้วเครื่องไม่ทำงานเลย ไม่มีแม้แต่ไฟสถานะใดๆ เกิดขึ้นเหมือนๆกับที่เคยเป็น เคยเห็น  ได้ทำการตรวจสอบอะแดปเตอร์ที่ใช้กับโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้แล้ว (โดยนำไปเสียบกับเครื่องที่อยู่ในรุ่นเดียวกัน) อะแดปเตอร์ก็ทำงานได้เป็นปรกติ ทีนี้ลูกค้า ผู้ใช้ก็ต้องนำส่งเข้าศุนย์ซ่อมสินะ…เครื่องเพิ่งซื้อมาไม่เกิน เดือนเลย  ทำไมเปิดไม่ติดซะงั้น   ก็ทำการส่งซ่อมตามปรกติให้กับศูนย์ตัวแทน  จากนั้น สักสองวันก็มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการโทรมาแจ้งราคาว่า หมื่นหกพันบาท  คือเขาให้เปลี่ยนบอร์ดนั่นเอง เนื่องจากทางผู้ผลิตไม่ยอมให้เคลม เพราะมีอะไหล่แตกหัก หลุด  ลูกค้า ผู้ใช้ก็ต้องโวยเป็นธรรมดาแหละนะ สิ่งที่ทางศูนย์บริการตรวจพบคือ สวิทช์แตกหัก , หรือ หลุดออกจากจุดบัดกรี  แต่เนื่องจากการเคลมอุปกรณ์ตรงนี้ ไม่คลอบคลุมการรับประกัน  จึงต้องเสนอ Mainboard ใหม่นั่นเอง […]

เรียนซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค : เปิดไม่ติด EC_ON ไม่มา สวิทช์มีไฟ 17V.

$
0
0
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก repair-notebook.com รวมถึงผู้ที่สนใจในบทความการซ่อมโน๊ตบุ๊คทุกๆท่าน   สำหรับวันนี้ เรามี update บทความใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมกันอีกแล้วหละครับ  วันนี้เป็นเรื่องของ การซ่อมบนเมนบอร์ดด้วยอาการไฟเข้าแต่กดสวิทช์ไม่ทำงาน  เรียกว่าเงียบเชียบเลย… ในแท่นตระกูล Acer หลายๆแท่น  ตรงตำแหน่งสวิทช์สำหรับกดเปิดเครื่องนั้น ปรกติ จะมีไฟคำสั่งมารออยู่ที่ ประมาณ 3 โวลท์  (แต่ที่บางแท่นเครื่องบางยี่ห้อ อาจมีมากกว่านี้ก็ไม่ถือว่าผิดปรกตินะ  )  ในบทความนี้เราพูดถึงแท่นเครื่องของ Acer รุ่น 4735,4736 ,4935 และอีกหลายๆรุ่นที่มีแนวทางเดียวกัน  นั่นหมายความว่า เวลาเรากดสวิทช์เพื่อให้เครื่องทำงาน แต่มันจะเงียบ  ในฐานะที่เป็นช่าง  เราจะต้องตรวจสอบไฟ ชุด 3.3/5 โวลท์ในวงจรชุดไฟนั้นก่อน  ถ้ามาแล้วก็ค่อยมาดูที่ขา 8 ไบออสว่ามาหรือไม่  ถ้าขา 8 ไบออสมี 3.3 โวลท์  ในเบื้องต้น เราจะมองว่าไบออสทำงานแล้ว(จริงๆในรายละเอียดแล้วมันมีอีกหลายๆ เรื่องในตัวไบออสนี้ที่เราไม่ได้พูดถึง เพราะมันมีรายละเอียดเยอะกว่าที่จะอธิบายได้หมดในที่นี้)   เหตุที่ไฟที่ตำแหน่งขาสวิทช์ในแท่นเครื่องรุ่นนี้ มีสูงถึง 17โวลท์ เป็นเพราะคำสั่ง […]

รูปคลื่นความถี่ของ Cystal 14.3 MHz

$
0
0
  • cystal 14.3 MHz จะสร้างความถี่จ่ายให้แก่ IC Clock gererator เพื่อกระจายความถี่ที่แยกย่อยออกไปเลี้ยงยังตัววงจรในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ cystal ป้อนโดยตรง? ในตัว cystal จะเป็นแค่ตัวสังเคราะห์ความถี่ตามระบุที่ตัวมันออกไปป้อนให้แก่ IC ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้? เช่น clock generator ที่จะใช้ cystal 14.3 MHz. (ดูเรื่อง cystal,clockgenerator ในบทความที่ผมได้เขียนๆไว้เพิ่มเติมนะครับ) IO controller ใช้ cystal 32.768 MHz ,เป็นต้น

  • ดูกันไว้ว่า การตรวจวัดความถี่ของcystal นั้นจะทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ขณะนั้น cystal ได้ทำงานแล้ว? และได้ความถี่ตรงตามที่ระบุ? เอาง่ายๆว่า อุปกรณ์ทุกๆชนิดนั้น ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกาในการทำงานแทบทั้งสิ้น? การนำภาพของการวัดความถี่ของ cystal 14.3 MHz มาแสดงนี้ ไม่ใช่ว่าจะทำให้ให้เพื่อนๆไม่ได้รับความรู้ใดๆ?? แต่ผมอาจถามกลับไปยังเพื่อนๆว่า ทราบได้ว่าไรว่า cystal 14.3 MHz ทำงานแล้ว ?วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทราบได้อย่างชัดเจนเลยก็คือต้องใช้ออสซิลโลสโคปเป็นตัวตัววัดไงครับ?? ดังนั้น? การซ่อมโน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อื่นๆ ที่อาศัยความถี่ในการทำงานนั้น?? เพื่อนๆจะต้องมีออสซิลโลสโคป? หรือ เจ้า สโคป นี้แหละไว้ใช้งานอีกเครื่องหนึ่งไงครับ…

ที่นี้ใครที่เคยพูดไว้ว่ามันไม่มีความจำเป็น? มันไม่สำคัญ ต้องไปวัดทำไม มันไม่ใช่ตำแหน่งวัด ตำแหน่งตรวจเช็ค เอามาเขียนไว้ทำไม? …คุณก็พิจารณาเอาเอง ว่า วันนี้คุณได้นำสิ่งที่ผมพูดไปพูดต่อด้วยหรือเปล่า…ผมฝากไว้เท่านี้ นะครับเพื่อนๆ

การถอด NEC-TOKIN ที่อยู่ใต้ Socket CPU โดยให้ความร้อนจากทางด้านใต้ของบอร์ด

$
0
0
    • คำเตือน..เครื่องมือที่ใช้ถอดตามวีดีโอนี้ เป็นเครื่องรุ่น R5860 หัวลมร้อน ล่าง บน? หากเป็นเครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่หัวลมร้อน ล่างบน อาจเกิดความเสียหายตาม Socket CPU ได้ จึงแจ้งมาเพื่อทราบนะครับ

    • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน? หายกันไปนานครับสำหรับการเพิ่มบทความดีๆมีความรู้เข้าสู่เว๊ป repair-notebook? อาจจะไม่ค่อยจะมีเวลาเตรียมเอกสารในการเขียนมากนัก? เลยทำให้ช่วงหลังๆนี้ บทความรู้ต่างๆไม่ค่อยจะมีเพิ่ม? ซึ่งตรงนี้ในส่วนตัวผมเองก็ทราบดี?? แต่ผมก็คงไม่ทิ้งเว๊ป repair-notebook นี้ไปหรอกครับ? ยังไงแล้ว ก็จะต้องมีบทความอัพเดรทกันใหม่ๆ ให้ตลอดไปเรื่อยๆ นั่นแหละครั

 

  • สำหรับในวันนี้? หากผมไม่พูดก็คงจะไม่ได้แล้วหละครับสำหรับเรื่องของ NEC-TOKIN ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฎอยู่บนตัวอุปกรณ์ที่ถูกเรียกว่า Condensor ชนิด Poardlizer ผลิตโดยบริษัท nec-tokin ครับ ตัวนี้ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟให้แก่ CPU ให้เรียบที่สด? มีองค์ประกอบของ Condensor ชนิดต่างๆ อยู่ภายในตัว? ทั้งประเภท Fast speed? low speed ก็นั่นแหละครับ? เขาออกแบบมาเพื่อให้เป็น Packetes เดียวเพื่อสะดวกต่อการซ่อมแซม (เอ้อ…แล้วทำไมออกแบบมาแล้วต้องให้มานั่งซ่อมกันอีกนะ..) ปรกติที่ใต้ฐานซีพียูนั้น ในเมนบอร์ดหลายๆยี่ห้อที่ไม่ได้ใช้ NEC-TOKIN เราจะเห็น C ตัวเล็กวางเรียงกันอยู่มากว่า 30 ตัว? ซึ่งนั่นแหละครับ? มันต่อขนานกันอยู่? เพื่อให้ได้ความจุสูง (แต่ละตัวของ C ที่อยู่ใต้ฐาน CPU นั้น ความจุต่อตัว ประมาณ 10 uF และก็มี C ตัวความจุสูงอีกประมาณ 3-4 ตัว ที่วางอยู่ อาจจะด้านใน และหรือด้านนอก)
  • การออกแบบนั้นเพื่อให้ C ตัวใหญ่ที่มีความจุสูง แล้วนำมาขนานกันจะได้ความจุสูงขึ้น เช่น C ตัวใหญ่ 1 ตัวความจุ 330 uF ขนานกัน 4 ตัว จะได้ความจุ 1200 uF และ ขนานกับ C ตัวเล็ก ความจุตัวละ 10 uF อีก 30 ตัว จะได้ความจุรวมของ C ตัวเล็กเท่ากับ 300uF ก็จะทำให้มีความจุของ C ใต้ฐาน CPU รวมเท่ากับ ความจุรวมของ C ตัวใหญ่ บวก กับ ความจุรวมของ C ตัวเล็ก ซึ่งจะได้เท่ากับ 1200 + 300 uF = 1500 uF? นั่นเองครับ
  • เมื่อความจุ หรือคุณภาพของ C มีความบกพร่องลง เช่น เสื่อมค่า ความจุ ลด? หรือช้อต? ก็จะมีผลต่อการทำงานในด้านการกรองกระแสไฟที่จะไปเลี้ยง CPU ซึ่งจะมีผลต่างๆ นาๆ ที่เราอาจจะได้เคย ได้ยิน เช่น เข้าวินโดว์แล้ว ค้าง ? เข้าวินโดว์แล้วเครื่องดับ? เข้า วินโดว์แล้ว Restart ตัวเอง หรือที่เจอกันในโน๊ตบุ๊ค ก็จะเป็นเครื่องในยี่ห้อ Toshiba ที่นิยมใช้ NEC-TOKIN กันมากที่สุด? อาการสุดฮิตของเขาก็คือ? ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ ก็ราบรื่นดีตลอด? แต่พอเสียบ Adaptor จ่ายไฟให้โน๊ตบุ๊ค เครื่องอาจจะเกิด จอลาย หรือดับไปเลยก็มีให้เจอกันบ่อยๆนะครับ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับ NEC-TOKIN หาอ่านได้จากที่นี่เพิ่มเติมครับ

รูปนี้ให้ทาฟลั๊กครีม รอบๆตัวของ NEC-TOKIN

รูปนี้เป็นการใช้ไม้แตะๆดูรอบตัวของ NEC-TOKIN ว่าพอจะเขยื่อนตัวได้หรือยัง

รูปนี้แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิของลมร้อนที่ nozzle ด้านล่างตัว NEC-TOKIN ว่าใช้ที่ 287 องศาเซลเซียส(กรอบสีเหลือง)

เมื่ออุณหภูมิได้ที่(ประมาณ 300องศาเซลเซียส) เราก็สามารถยก NEC-TOKIN ขึ้นมาจากบอร์ดได้แล้วครับ

ดูวีดีโอที่ผมทำไว้นะครับ

ส่วนสำหรับการวาง ก็ใช้วิธีเดียวกัน คือใช้ความร้อนจากทางด้านล่างของเครื่องยกชิพเท่านั้นแหละครับ …(SOCKET CPU ทนได้ถึง 300 องศาเซลเซียส อย่างสบายๆเลยหละ)? อ้อ แต่อย่าใช้เครื่องเป่าลมร้อนนะครับ SOCKET CPU ละลายอย่างเดียวเลยหละ


เริ่มต้นเรียนรู้ การซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค กับ Clips การสอนซ่อม

$
0
0
  • สำหรับบทความรู้ในวันนี้ ผมได้ทำคลิปความรู้ทั่วๆไปบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คให้กับเพื่อนๆได้รับชมกัน โดยเฉพาะเพื่อนๆทีเป็น user ผู้ใช้ทั่วไป ได้รับรู้กันโดยในระดับที่ว่า บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจและไขข้อสงสัยในระดับหนึ่งกับการที่เพื่อนๆยังอาจไม่เคยได้เห็นกับ เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค รวมถึง รายละเอียดต่างๆ ที่ควรทราบ
  • จากคลิปที่ผมได้ทำนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานเท่านั้นครับ เพราะฉะนั้น เพื่อนๆ ชาวช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ระดับมืออาชีพ อาจจะไม่โดนใจ..มากนัก แต่เดี๋ยวทางผมจะจัดหนักให้นะครับ ตอนนี้กำลังทำคลิปหลายส่วนออกมาโดยตรง แล้วครับ
  • ส่วนในเรื่องที่เพื่อนๆให้ความสนใจในการสอบถามเรื่องการสอนซ่อมโน๊ตบุ๊ค ที่ทางทีมงาน repair-notebook จัดสอนอยู่นั้น ถ้ายังมีความสนใจอยู่ ก็เมล์ หรือโทรสอบถามกันเข้ามาได้นะครับ สำหรับช่วง ณ เวลานี้ ก็ดูจากคลิปไปพลางๆก่อน และอย่าลืมอ่านบทความต่างๆ ของทาง repair ให้หมดนะครับ จะได้คุยกันรู้เรื่องมากขึ้น ขอบคุณครับ

 

วัด Pluse (พลั้นส์) ที่ขา 2 ของ BIOS เพื่อตรวจสอบการทำงาน

$
0
0
  • เพื่อนๆชาว repair-notebook ทุกท่าน ผมได้นำคลิป ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน มาทำความเข้าใจกันว่า ในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น หากลงลึกถึงการซ่อมเมนบอร์ดกันแล้ว สิ่งที่เราต้องทำการตรวจวัด ที่ไม่ควรพลาดก็คือเรื่องของความถี่ หรือหลายๆท่านอาจเรียกกันว่าพลั้นส์ (Pluse)
  • จากคลิปที่ได้ทำให้ดูนี้ ทำขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆทราบว่า ในการที่เราจะบอกว่าโน๊ตบุ๊ค เครื่องทำงานหรือยัง หรือติดขัดอยู่ตรงขั้นตอนไหนของการทำงาน เราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้โดยดูจากรูปการทำงานที่สโคป ถึงแม้เราอาจจะใช้สโคปกันแบบในระดับไม่เต็มคุณภาพ 100% แต่เราก็ได้ประโยชน์จากการใช้สโคป มากกว่าการใช้ Debug card อีกหลายๆกรณีนะครับ

ให้ควมเข้าใจใน Clip Video

  • จากรูปในคลิป จะเห็นว่า รูปคลื่นความถี่ที่ปรากฎบนสโคป จะมีการฟูประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งในจังหวะนี้ผมได้หันกล้องไปทางจอ LCD เพื่อสื่อให้เพื่อนๆเห็นว่า การทำงานที่ครบประมาณ 5 -6 ครั้ง แล้วแต่ยี่ห้อ นั้นจะสามารถบอกเราได้ว่า ตอนนี้ภาพปรากฎแล้วนะ แต่หากภาพยังไม่ปรากฏอีก เราก็อาจต้องไปตรวจสอบด้านสัญญาณภาพ หรือตรวจสอบทาง Output จอภาพกันต่อไปอีกสเต็ปครับ
    ผมจะเรียกมันว่า “Pluse วิ่งแล้ว” และไม่ควรวิ่งอยู่แค่ 1หรือ 2 แต่ควรจะวิ่งหลายๆ ครั้ง ซึ่งหากเรายังไม่มีการต่อจอภายใน หรือภายนอก การทำการวัดเช่นนี้ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า โน๊ตบุ๊คของเรามันมีชีวิตมีวา แล้วนะ…ไม่ใช่ว่า? พอกด Power Sw ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Pluse ใดๆ เลยอย่างนี้เป็นต้น
  • สำหรับตรงนี้ ก็ให้เพื่อนๆ ดูคลิปนะครับ มีอะไรสงสัย หรืออยากแนะนำติชม ก็เขียนเข้ามาได้ครับ

 

 

เรียนรู้การวัดแรงไฟ Stand by 3.3 และ 5 V. บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Repair-notebook.com เฉพาะคลิ๊ปในการสอนซ่อมทางเมนบอร์ดต่างๆ ที่ผมได้จัดขึ้นโดยตรงนี้ ผมขออนุญาติ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ก่อนนะครับ เดี๋ยวปรับเปลี่ยนรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ชมกันนะครับ
  • ส่วนรายละเอียดการอธิบาย? คงมอบให้แก่ทางคลิป เป็นผู้แจงรายละเอียดทั้งหมดก็แล้วกัน? เพื่อนสมาชิกท่านใด? ที่มีสิทธิ์เข้าชม มีอะไรจะติชม ก็แจ้งเพิ่มเข้ามาได้ครับ

ต้องขออภัย เพื่อนๆสมาชิก หลายๆท่านครับ เฉพาะ Clip การเรียนนี้ ขอสงวนสิทธิ์ เฉพาะผู้ที่สมัครเข้าเรียนซ่อมเชิงลึกทางไกล กับทางทีมงาน Repair-Notebook ผ่านสื่อ Online นะครับ

เมื่อ Mosfet ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คช้อตจะเกิดอะไรขึ้น?

$
0
0
  • เมื่อ Mosfet transistor ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คที่เราซ่อมๆกันอยู่ เกิดการช้อตเกิดขึ้น ?เป็นผลทำให้ระบบไฟในวงจรหยุดการทำงาน ?ถ้ามอสเฟทตัวนั้นเป็นตัวที่รับไฟจากแหล่งจ่ายแล้วเกิดช้อตขึ้นมา มันเป็นผลทำให้ไฟจากแหล่งจ่ายหลัก เช่น 18 V.หายไป นั่นหมายถึงมันจะไม่มีการจ่ายไฟ 18 V.ไปเลี้ยงยังส่วนของวงจรภาคต่างๆ นั่นเอง
  • แต่หากว่า mosfet ตัวนั้นเป็นตัวที่ต่ออยู่กับชุดไฟทางออกโวลท์ต่ำ ?ก็จะเป็นผลทำให้ไฟโวลท์ต่ำชุดต่างๆนั้นไม่มีจ่ายเลี้ยงส่วนวงจรนั้นๆ แต่ไฟ 18V.แหล่งจ่ายยังคงมีเลี้ยงไปยังส่วนวงจรอื่นๆ ได้อยู่นะครับ ?อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่า Mosfet ตัวนั้นๆ ได้ไฟชุดใดจ่ายเข้าในตัวมันอยู่นะครับ
  • คราวนี้เรามาดู clips นี้ เพื่อให้ได้รู้จักว่า เวลาวงจรมีการช้อต และตัวช้อตนั้นเกิดกับมอสเฟทหละก้อ ?หากการช้อตเกิดขึ้นและเราปล่อยไว้นานๆ ก็อาจได้ผลดังรูปใน clips นั่นเองครับ
  • แต่เพื่อนๆ เชื่อไม๋ครับ ?ถ้าโชคดี ?เมื่อเราถอด Fet ตัวที่ช้อตออก และใส่ตัวใหม่เข้าไป ?วงจรในส่วนต่างๆ ทำงานได้ตามปรกติทันทีเลยก็มีนะครับ (กรณีนี้เจอมากด้วย)


 

ROM BIOS ของ Notebook เราอาจจะหาได้จากที่ไหนบ้าง ?

$
0
0
  • สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว repair-notebook.com วันนี้ผมเข้ามาอัพเดรทข้อมูลสัก 1 บทความ ซึ่งเป็นเรื่องของ ROM BIOS ที่เราใช้ๆ กัน ทั้งที่อยู่ในเครื่อง PC , Notebook และอื่นๆครับ

ขึ้นหัวข้อว่า ROM BIOS เราจะหาได้จากที่ไหนบ้างนั้น…

  • ผมได้ทำบทความนี้เพื่อให้เพื่อนๆ ช่าง ได้ไอเดีย ไหวพริบ และหรืออาจจะเป็นการแนะนำ เพื่อในโอกาสที่เพื่อนๆได้เจออุปกรณ์ต่างๆ นั้น แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน และจะทิ้งไป? ซึ่งหากว่าเราจะทิ้งมันไปนั้นให้พิจารณาดูว่า อุปกรณ์นั้น มีชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ตัวไหนบ้างที่เราอาจจะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต? หรือคิดว่ามันน่าจะเป็นตัวตายตัวแทนกันได้นะครับ
  • ROM BIOS มีพัฒนากันมาหลายชนิด จนในปัจจุบันตกอยู่ ROM ชนิด SPI Flash ที่มีตัวถัง แบบ DIP-8 และ SO-IC8 ซึ่งเราสามารถที่ลองหารอมเหล่านี้ได้จากอุปกรณ์ต่างๆ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

ROM ที่อยู่ในแผงเมนบอร์ดของ DVD RW

  • ROM ที่อยู่ในเครื่องอ่าน Optical Drive ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น CD,DVD,DVD-RW ?อุปกรณ์เหล่ามีมีรอมควบคุมอยู่ทั้งสิ้น ?ลองแกะออกมาดูเล่นๆสิครับ (ถือว่าถอดออกมาทำความสะอาดก็ได้) รอมจะมีอยู่ที่เมนบอร์ดของอุปกรณ์เหล่านั้น ดังรูป

 

ROM ที่อยู่ในแผง VGA Card

  • ROM ที่อยู่ใน VGA Card หรือเราเรียกว่า กราดจอ ?อุปกรณ์นี้ก็มี ROM ที่ควบคุมอยู่เช่นกัน ดังรูป

ROM ที่อยู่ใน LAN Card

  • ROM ที่อยู่ใน Network Card ใครอาจยังไม่เคยเห็น ก็ต้องดูรูปตรงนี้ครับ

ROM ที่อยู่ใน Wireless Card

  • ROM ที่อยู่ใน wireless อยู่ในวงกลมที่ทำให้ดูนะครับ

 

Viewing all 259 articles
Browse latest View live